พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบในคดีอาญา: เจ้าของแท้จริงที่ไม่รู้เห็นเป็นใจ
ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สิน หากปรากฏว่า ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินแก่เจ้าของ ดังนั้น การใช้สิทธิตาม ป.อ. มาตรา 36 จึงเป็นการที่บุคคลภายนอกใช้สิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบโดยมิต้องคำนึงถึงว่า สิทธิของบุคคลภายนอกจะสืบเนื่องมาจากการกระทำอันเป็นการละเมิดหรือการผิดสัญญา ทั้งการที่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิทางแพ่งกับจำเลยที่ 1 และร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนก็เป็นเพียงการไม่ถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ร้องจะใช้หรือไม่ก็ได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินที่ให้เช่าซ้อหรือของกลางคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สินริบในคดียาเสพติดสงวนเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มีสิทธิ
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบ ดังนั้น เมื่อรถยนต์กระบะซึ่งถูกเจ้าพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งริบเป็นทรัพย์สินของบิดามารดาของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านซึ่งมิใช่เจ้าของทรัพย์สินจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8169/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตกเป็นของแผ่นดินหลังศาลริบ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ภายหลัง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืน
สัญญาเช่าซื้อจะครบกำหนดระยะเวลาเช่าซื้อในวันที่ 27 สิงหาคม 2543 แต่ปรากฎในใบคู่มือจดทะเบียนระบุว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 จะต้องฟังว่า บริษัท ท. โอนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้องในวันดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์กระบะของกลางเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2544 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุดกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางที่ศาลสั่งริบย่อมตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องรับโอนรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่เป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลาง ผู้ร้องจึงย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของเรือประมงรู้เห็นเป็นใจกับการลักลอบขนน้ำมัน จึงไม่มีสิทธิขอคืนเรือของกลาง
ผู้ร้องเป็นเจ้าของเรือประมงของกลางที่ถูกศาลสั่งริบในความผิดฐานลักลอบซื้อขายน้ำมันหลีกเลี่ยงภาษีได้ความว่า ก่อนนำเรือพิพาทออกให้เช่าผู้ร้องจัดทำถังน้ำมันจำนวนมากถึง 20 ถัง บรรทุกอยู่บริเวณหน้าเครื่องบรรจุน้ำมันได้ถึง 40,000 ลิตร ซึ่งโดยปกติเรือประมงทั่วไปจะมีถังน้ำมันที่ห้องเครื่องห้องละ 1 ถัง มีปริมาตรไม่เกิน 10,000 ลิตร นอกจากนี้เรือดังกล่าวยังมีเครื่องสูบถ่ายน้ำมันที่สามารถถ่ายน้ำมันออกไปสู่เรือลำอื่นได้ แสดงจุดประสงค์หรือเจตนาของผู้ร้องว่าจะใช้เรือดังกล่าวสำหรับบรรทุกน้ำมันเพื่อถ่ายให้เรือลำอื่นด้วย พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนเรือของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12213/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด: ความแตกต่างระหว่างมาตรา 29 และ 30, สิทธิในการขอคืนทรัพย์สิน
ในการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 29 ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 ซึ่งกระบวนการการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินทั้งสองกรณีกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกันโดยแยกต่างหากจากกัน ทั้งขั้นตอนการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินหรือร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 29 และ 30 ก็มีความแตกต่างกันคือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 29 จะต้องมีการปิดประกาศไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และที่สถานีตำรวจท้องที่ที่มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างน้อยเจ็ดวันและให้ประกาศอย่างน้อยสองวันติดต่อกันในหนังสือพิมพ์ที่มีแพร่หลายในท้องถิ่น ส่วนการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 30 นั้น ไม่ต้องมีการปิดประกาศในที่ใด ๆ แต่ต้องมีการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกัน นอกจากนี้การขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 29 นั้น ผู้เป็นเจ้าของสามารถร้องขอคืนได้ก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า
"(1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ
(2) ตนเป็นผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ และได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ"
ส่วนการร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 30 ผู้เป็นเจ้าของจะต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และศาลจะสั่งริบได้เมื่อปรากฏว่าเจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะบรรทุกขนส่งและซื้อขายยาเสพติดให้โทษจึงขอให้ริบรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถยนต์ จำนวน 2 ชุด ของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดีนี้จึงเป็นการร้องขอตามมาตรา 30 ดังนั้น กระบวนการที่ศาลจะต้องไต่สวนและมีคำสั่ง จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 30 หาใช่มาตรา 29
พยานหลักฐานของผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถจำนวน 2 ชุด ของกลาง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอคืนของกลาง และไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดอีกต่อไปหรือไม่
"(1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ
(2) ตนเป็นผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ และได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ"
ส่วนการร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 30 ผู้เป็นเจ้าของจะต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และศาลจะสั่งริบได้เมื่อปรากฏว่าเจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะบรรทุกขนส่งและซื้อขายยาเสพติดให้โทษจึงขอให้ริบรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถยนต์ จำนวน 2 ชุด ของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดีนี้จึงเป็นการร้องขอตามมาตรา 30 ดังนั้น กระบวนการที่ศาลจะต้องไต่สวนและมีคำสั่ง จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 30 หาใช่มาตรา 29
พยานหลักฐานของผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถจำนวน 2 ชุด ของกลาง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอคืนของกลาง และไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดอีกต่อไปหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ก่อนคดีถึงที่สุดและสิทธิการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 188 จะบัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป" ก็ตาม แต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางนั้น ก็ยังไม่ทำให้รถยนต์ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.อ. มาตรา 35 ทันที เพราะคดียังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างที่อาจอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ดังนั้นในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด เจ้าของรถยนต์ย่อมโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้ผู้ร้องได้โดยชอบ และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนไว้ ผู้ร้องซึ่งซื้อรถยนต์มาจากเจ้าของก่อนคดีถึงที่สุดจึงเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางหลังจากคดีถึงที่สุดแล้วได้ ภายในกำหนด 1 ปี แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดจึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36 ประกอบกับ พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 25 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 36 ไว้ คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถจักรยานยนต์มีสิทธิขอคืนรถได้ แม้จำเลย (บุตร) นำไปใช้กระทำผิด หากไม่มีเจตนาอนุญาตให้ใช้โดยเสรี
แม้ผู้ร้องจะเป็นบิดาของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์และอาศัยอยู่บ้านหลังเดียวกันขณะผู้ร้องไม่อยู่บ้านจะเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ในตู้โดยไม่มีที่ล็อกแต่ได้ความว่าผู้ร้องเคยอนุญาตให้จำเลยใช้รถแต่ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และยังเคยตักเตือนจำเลยว่าอย่าขับรถเร็วและอย่าประมาท ประกอบกับจำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปใช้กระทำความผิดขณะที่ผู้ร้องไปเฝ้ามารดาที่ป่วยที่โรงพยาบาล พฤติการณ์จึงไม่มีข้อส่อแสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยนำรถของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการโดยไม่คำนึงว่าจำเลยจะนำรถไปใช้ในกิจการใดอันจะถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดในลักษณะที่เป็นการเสี่ยงภัยต่อร่างกายและชีวิตของจำเลย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนภาษีซื้อของผู้ประกอบการขายมันสำปะหลังที่ไม่จดทะเบียนขายภายในประเทศ
การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดที่มิใช่การส่งออก เป็นกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มาตรา 81/3 (1) ให้ผู้ประกอบการดังกล่าวขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่เดือนภาษีได้ ตามมาตรา 82/3 ดังนั้น หากผู้ประกอบการ มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักรย่อมไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการดังกล่าวตามมาตรา 82/3
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะประเภทการค้าส่งออก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดเท่านั้น มิได้จดทะเบียนขายภายในประเทศ และจำเลยไม่เคยส่งออกผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังอัดเม็ดด้วยตนเองเลย เพียงแต่ขายให้แก่ผู้ส่งออกอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นการขายที่มิได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81 (1) (ก) จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยการสำแดงภาษีซื้อที่เป็นเท็จเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์หลงเชื่อคืนภาษีคืนให้แก่จำเลย โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยไม่ยอมคืน เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักร แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและขอคืนภาษีซื้อเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์คืนภาษีซื้อให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน จึงต้องคืนเงินภาษีดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าภาษีซื้อที่จำเลยนำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 คำฟ้องของโจทก์จึงมีมูลหนี้ที่แน่ชัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะประเภทการค้าส่งออก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดเท่านั้น มิได้จดทะเบียนขายภายในประเทศ และจำเลยไม่เคยส่งออกผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังอัดเม็ดด้วยตนเองเลย เพียงแต่ขายให้แก่ผู้ส่งออกอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นการขายที่มิได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81 (1) (ก) จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยการสำแดงภาษีซื้อที่เป็นเท็จเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์หลงเชื่อคืนภาษีคืนให้แก่จำเลย โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยไม่ยอมคืน เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักร แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและขอคืนภาษีซื้อเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์คืนภาษีซื้อให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน จึงต้องคืนเงินภาษีดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าภาษีซื้อที่จำเลยนำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 คำฟ้องของโจทก์จึงมีมูลหนี้ที่แน่ชัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถเช่าซื้อยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อแม้มีการนำไปใช้กระทำผิด ผู้ร้องมีสิทธิขอคืนได้
บริษัทผู้ร้องให้ ณ. เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลาง ณ. ชำระเรื่อยมา จำเลยก็นำรถของกลางไปกระทำผิด ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในรถของกลางยังเป็นของผู้ร้องอยู่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอคืนรถของกลางได้ เมื่อจำเลยกระทำผิดโดยลำพัง ซึ่ง ณ. และผู้อื่นมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องด้วย การที่ผู้ร้องขอคืนรถของกลางเพื่อให้ ณ. ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป จึงมิได้เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้กระทำผิดอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด ต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถไม่รู้เห็นการใช้รถขนน้ำมันผิดกฎหมาย มีสิทธิขอคืนรถได้ แม้จะมอบให้ห้างฯ จัดการ
ผู้ร้องนำรถยนต์บรรทุกของกลางไปเข้าร่วมกิจการรับจ้างขนส่งน้ำมันกับห้างหุ้นส่วนจำกัดส.และมอบให้ห้างฯ ดังกล่าวครอบครองดูแลและจัดการเกี่ยวกับคู่ค้าหรือผู้ขับแทนผู้ร้องห้างหุ้นส่วนจำกัดส.นำรถยนต์ของกลางไปให้ ว. เช่า และ ว. นำเข้าไปร่วมกิจการกับบริษัท ช. โดยผู้ร้องมิได้รู้เห็นด้วย คงได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากห้างฯเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยรถยนต์ของกลางมีการพ่นสีแสดงข้อความและเครื่องหมายของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กับมีชื่อบริษัท ช. เป็นผู้ประกอบการขนส่ง ซึ่งเป็นการสนับสนุนแสดงให้เห็นว่ารถยนต์ของกลางถูกนำไปใช้รับขนส่งน้ำมันเตาให้การปิโตรเลียมฯอย่างเปิดเผย มิใช่มีลักษณะจะนำไปขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผิดกฎหมายทั้งคำว่า "รู้เห็นเป็นใจ" หมายความว่ารู้เหตุการณ์และร่วมใจด้วยส่วนคำว่า "ร่วมใจ" หมายความว่านึกคิดอย่างเดียวกัน การรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจึงหมายความว่ารู้แล้วว่าจะมีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิดและมีความนึกคิดกระทำความผิดด้วยปรากฏว่าขณะเกิดเหตุผู้ร้องมีอายุเพียง 20 ปีเศษ เท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าผู้ร้องจะคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าจะมีการนำรถยนต์ของกลางของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ชอบที่จะขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางได้