พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาเช่าหลังผู้ให้เช่าถึงแก่ความตาย: ศาลฎีกาชี้ขาดการสิ้นสุดสัญญาเช่าและสิทธิขับไล่
สัญญาเช่ามีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้ให้เช่าต้องให้ผู้เช่าเช่าอยู่ต่อไป โดยผู้ให้เช่าจะต่ออายุสัญญาเช่าให้ทุก ๆ 3 ปี ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นคำมั่นของ ป. ผู้ให้เช่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบก่อนจะสนองรับว่า ป. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 360 ต้องนำบทบัญัญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับ คำมั่นจึงไม่เสื่อมเสียไป มีผลผูกพันโจทก์ผู้รับโอนซึ่งเป็นทายาทให้ต้องปฏิบัติตาม โดยให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเดิม โจทก์ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ส่วนการต่ออายุสัญญาเช่าในระยะ 3 ปีถัดมานับแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป ต้องแยกพิจารณาต่างหากอีกกรณีหนึ่ง หาใช่มีผลผูกพันตลอดไปไม่
แม้ข้อความในสัญญาเช่าจะมีคำมั่นที่ ป. ผู้ให้เช่าให้ไว้ แต่คำมั่นดังกล่าวจะมีผลผูกพันในการต่ออายุสัญญาเช่าครั้งต่อไปและตกทอดแก่โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อคำมั่นนั้นมีผลบังคับก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าครั้งท้ายสุดด้วยการที่จำเลยได้แสดงเจตนาสนองรับคำมั่นโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายแล้วตึกแถวพิพาทตกเป็นของโจทก์ผู้เป็นทายาท จำเลยทราบว่า ป. ถึงแก่ความตายแล้งจึงมีหนังสือขอต่ออายุสัญญาเช่าไปยังโจทก์เมื่อวันที่ 10 พฤศจายน 2538 กรณีเช่นนี้จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับหากว่าก่อนจะสนองรับนั้นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตาย คำมั่นดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับและไม่เป้นมรดกตกทอดอันจะผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นทายาท หนังสือต่ออายุสัญญาเช่าจึงไร้ผลและไม่ก่อให้เกิดสัญญาเช่าขึ้นใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ต่ออายุสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือไปยังจำเลย แจ้งว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทอีกต่อไปและบอกเลิกสัญญาเช่า สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจึงต้องสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 อันเป็นวันครบกำหนดการต่ออายุสัญญาเช่า โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้ข้อความในสัญญาเช่าจะมีคำมั่นที่ ป. ผู้ให้เช่าให้ไว้ แต่คำมั่นดังกล่าวจะมีผลผูกพันในการต่ออายุสัญญาเช่าครั้งต่อไปและตกทอดแก่โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อคำมั่นนั้นมีผลบังคับก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าครั้งท้ายสุดด้วยการที่จำเลยได้แสดงเจตนาสนองรับคำมั่นโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายแล้วตึกแถวพิพาทตกเป็นของโจทก์ผู้เป็นทายาท จำเลยทราบว่า ป. ถึงแก่ความตายแล้งจึงมีหนังสือขอต่ออายุสัญญาเช่าไปยังโจทก์เมื่อวันที่ 10 พฤศจายน 2538 กรณีเช่นนี้จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับหากว่าก่อนจะสนองรับนั้นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตาย คำมั่นดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับและไม่เป้นมรดกตกทอดอันจะผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นทายาท หนังสือต่ออายุสัญญาเช่าจึงไร้ผลและไม่ก่อให้เกิดสัญญาเช่าขึ้นใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ต่ออายุสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือไปยังจำเลย แจ้งว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทอีกต่อไปและบอกเลิกสัญญาเช่า สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจึงต้องสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 อันเป็นวันครบกำหนดการต่ออายุสัญญาเช่า โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การซื้อขายไม่เป็นเจตนาลวง สิทธิขับไล่เมื่อไม่ผ่อนชำระ
เดิมจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทที่จดทะเบียนจำนองแก่ธนาคาร ก. และจำเลยเป็นหนี้เงินกู้ยืมโจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาธนาคาร ก. ทวงให้จำเลยชำระหนี้จำนอง จำเลยจึงตกลงทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ แล้วโจทก์นำไปจำนองธนาคาร ท. โดยมีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อชำระครบถ้วนแล้วโจทก์จะโอนที่ดินและบ้านพิพาทคืนจำเลย ดังนั้น สัญญาขายบ้านและที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาที่แท้จริง แต่มีเงื่อนไขในการโอนกลับคืนอันถือเป็นข้อตกลงที่บังคับได้ การซื้อขายบ้านและที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่การแสดงเจตนาลวง แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ผ่อนชำระหนี้แทนโจทก์ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทอีกต่อไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความซื้อขายที่ดิน: สิทธิขับไล่เมื่อผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีสาระสำคัญอยู่ 4 ประการคือ (1) จำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ (2) โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคา 2,600,000 บาท โดยแบ่งการชำระราคาเป็น 2 งวด (3) โจทก์ตกลงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินค่าซื้อขายจากจำเลยครบถ้วนและ (4) ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อใดข้อหนึ่ง ยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งบังคับคดีได้ทันที อันเป็นที่เห็นได้ว่าสัญญามิได้ระบุไว้เลยว่าหากจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินตามสัญญาแล้ว ให้การซื้อขายที่ดินเป็นอันเลิกกันและให้โจทก์บังคับขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกจากที่ดินได้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 ทวิ ฉะนั้น ในเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความคำพิพากษาและคำบังคับของศาลชั้นต้นไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้โดยชัดแจ้ง ก็ต้องถือว่าจำเลยยังมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ตามมาตรา 296 ทวิ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจที่จะขอหมายบังคับคดีต่อศาลให้ขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7331/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ก่อนสัญญาเช่าทำให้สัญญาเช่าไม่ผูกพันผู้ซื้อ และมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
เมื่อ ส. จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. จะมีผลบังคับ สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป และบอกกล่าวแล้ว จำเลยจึงต้องออกไปจากตึกแถวพิพาท เมื่อจำเลยเพิกเฉย โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากที่ดินและบ้านพิพาท การซื้อขายโดยสุจริต และสิทธิในการขับไล่
เมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 กับจำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทกันแล้ว แม้จำเลยผู้ขายฝากยังคงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทต่อไป โดยไม่ได้มอบการครอบครองแก่โจทก์ร่วมที่ 2 ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์ร่วมที่ 2 กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพราง ดังนั้น การที่จำเลยไม่ไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด และโจทก์ร่วมที่ 2 ผู้รับซื้อฝากขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 โดยสุจริต กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทย่อมเป็นของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์จึงมีสิทธิขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ การส่งมอบการครอบครองเป็นหลักฐานสิทธิ และสิทธิในการฟ้องขับไล่
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบการครอบครองของที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองแล้ว ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินย่อมโอนการครอบครองกันได้เพียงการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่จำต้องไปทำหนังสือหรือจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
แม้หนังสือซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่จำเลยบุกรุกเข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อจำเลยบุกรุกเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ละครั้งไม่เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมไม่ขาดสิทธิที่จะฟ้องขับไล่เรียกการครอบครองที่ดินพิพาทคืนจากจำเลย
แม้หนังสือซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่จำเลยบุกรุกเข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อจำเลยบุกรุกเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ละครั้งไม่เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมไม่ขาดสิทธิที่จะฟ้องขับไล่เรียกการครอบครองที่ดินพิพาทคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมขายฝากมีผลผูกพันตามสัญญา แม้จำเลยอ้างเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง โจทก์มีสิทธิขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
โจทก์และจำเลยต่างมอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ไปทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ส. ได้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้วสัญญาขายฝากที่ทำขึ้นย่อมเป็นนิติกรรมที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันตามสัญญา มิใช่มีเจตนาอำพรางแต่อย่างใด จำเลยจะอ้างว่ามีเจตนาอำพรางสัญญาจำนองหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนหลังเดิมถูกรื้อสร้างใหม่ สัญญาขายฝากไม่ครอบคลุมเรือนหลังใหม่ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่
จำเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126 แก่โจทก์ ต่อมาระหว่างอายุสัญญาจำเลยรื้อเรือน แล้วสร้างเป็นเรือนหลังใหม่ในที่เดิม โดยใช้ไม้ของเรือนหลังเดิมบางส่วนและใช้บ้านเลขที่ 126 ตามเดิม ดังนี้ ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝากและเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพไปแล้ว เรือนหลังใหม่คือเรือนพิพาทย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของสัญญาขายฝาก โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาท คงมีอำนาจที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยในกรณีที่จำเลยรื้อเรือนหลังเดิม อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝากเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารื้อถอนไม่ทำให้สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ ผู้ให้เช่ามีสิทธิขับไล่
กรมทางหลวงแผ่นดินใช้ค่ารื้อถอนเล้าไก่แก่จำเลย ซึ่งเช่าห้องแถวของโจทก์อยู่ จำเลยยกเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ๆ ตกลงให้จำเลยอยู่ต่อไป 1 ปี ข้อตกลงนี้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ. เงินนี้เท่ากับเงินกินเปล่า ไม่ทำให้สัญญาเช่ากลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ โจทก์ขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโมฆะจากความสำคัญผิดในสาระสำคัญ ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิขับไล่
โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505ซึ่งโจทก์ก็รู้ดีแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะให้ ผู้อื่นเช่าตึกพิพาทนี้ได้ดังนั้น การที่โจทก์กับจำเลยทำหนังสือสัญญาหมาย จ.2 เมื่อ พ.ศ. 2513 ความว่า จำเลยยอมออกไปจากตึกพิพาททั้งที่โจทก์รู้ดีว่าตึกพิพาทไม่ใช่ของตนและปกปิดความจริงไว้ เช่นนี้เป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าการทำสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะจำเลยสำคัญผิดในสิ่งสารสำคัญว่าตึกพิพาทที่จำเลยเช่าอยู่นั้นยังเป็นของโจทก์อยู่ หากจำเลยรู้ความจริงนี้แล้ว จำเลยย่อมจะไม่ทำสัญญากับโจทก์สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท