พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่นาหลังการโอนโดยไม่ชอบตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ราคาซื้อขายเป็นธรรม และกรอบระยะเวลาชำระราคา
โจทก์เป็นผู้เช่านา เมื่อผู้ให้เช่าโอนขายที่นาที่เช่าให้แก่จำเลยทั้งสองโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิซื้อที่นาคืนจากจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว การที่โจทก์และสามีโจทก์มีอายุมากแล้วกับได้ให้บุตรเขยทำนาแทนหรือใกล้จะเลิกทำนา ไม่เป็นข้อที่จะทำให้จำเลยทั้งสองยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธการขายที่นาคืนแก่โจทก์ ทั้งไม่พอฟังว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดเวลาให้โจทก์ต้องชำระราคาภายใน 6 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิฉะนั้นให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจขอซื้อที่นาคืนนั้น ก็เพื่อให้การบังคับตามคำพิพากษามีผลสมบูรณ์ กรณีเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้มีคำขอ ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้อง
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดเวลาให้โจทก์ต้องชำระราคาภายใน 6 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิฉะนั้นให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจขอซื้อที่นาคืนนั้น ก็เพื่อให้การบังคับตามคำพิพากษามีผลสมบูรณ์ กรณีเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้มีคำขอ ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อนาคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ และประเด็นอำนาจฟ้อง/การโต้แย้งราคา
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 คชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การที่ ช.ให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์รวมในนาพิพาทโดยมีค่าตอบแทนเป็นการชำระหนี้เงินยืมอย่างอื่นแทนเงิน ไม่เป็นการซื้อขายนาพิพาท โจทก์ได้ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2535 ซึ่งตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 57 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด โจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2535 แต่วันที่ 20 มิถุนายน 2535 เป็นวันเสาร์ ศาลหยุดทำการ ดังนั้นโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2535 ซึ่งเป็นวันจันทร์ศาลเปิดทำการวันแรกได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/8 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน30 วัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ฟ้องจะระบุข้อความซึ่งหมายความว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง เมื่ออ่านรวมกันแล้วย่อมเข้าใจได้ดีแล้วว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วย หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อความในช่องคู่ความ เฉพาะโจทก์ที่ 2 เป็นว่า "พ.โดย ผ.ผู้รับมอบอำนาจที่ 2" และศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง แก้ฟ้องในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเคลือบคลุม โดยตัดข้อความว่า "แสดงเจตนาลวงโดยสมยอม ซึ่งความจริงเป็นเรื่องซื้อขายกัน" ออก แล้วเพิ่มข้อความ "ทำนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพราะเจตนาจริง ๆ เป็นเรื่องซื้อขาย หาใช่เป็นเรื่องให้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่" แทน และตัดข้อความ "ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎหมาย" ออก แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับสำเนาคำร้องก่อนตามมาตรา 181 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อีกทั้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็วินิจฉัยจากข้อความที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไข จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ การแก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว
คำฟ้องและข้อที่แก้ไขคำฟ้องเมื่อเข้าใจได้ว่า ฟ้องข้อ 4 โจทก์ทั้งสองอ้างว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายส่วนฟ้องข้อ 5 เป็นเรื่องที่ ช.กับจำเลยที่ 2 แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าไม่มีการเช่านา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองเช่าอยู่ ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย คำฟ้องจึงมิได้มีข้อความขัดกัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว มิได้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คชก.ประจำจังหวัดนนทบุรี จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ใช่นิติบุคคลแต่โจทก์ทั้งสองก็ได้แก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ประกอบด้วย ท.ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีเป็นประธานกรรมการ ส.อัยการจังหวัดนนทบุรี พ.เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ป.แทนเกษตรจังหวัดนนทบุรี ส.ประมงจังหวัดนนทบุรี พ.ปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี ผู้แทนผู้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สว. สจ. บก.และ สม.กับผู้แทนผู้ให้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สส. พจ. สน. และ ผอ. โดยมีสต.จ่าจังหวัดนนทบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ แม้จะมิได้ระบุรายชื่อคณะกรรมการแต่ละคนในช่องคู่ความตามฟ้องโจทก์ทั้งสอง ก็พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่ไม่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โจทก์ทั้งสองจึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดนนทบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดนนทบุรีได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
พยานโจทก์เบิกความว่า เอกสารหมาย จ.6 เป็นการซื้อขายนาพิพาทโดยเป็นวิธีการจดทะเบียนขายที่ดินบางส่วน ที่ตอนท้ายของข้อ 3 ในเอกสารดังกล่าวระบุว่าผู้ขายได้ที่ดินมาอย่างไรและผู้ซื้อจะนำนาพิพาทไปทำอะไรนั้น ก็ได้ความมาจากการสอบถามผู้รับมอบอำนาจของ ช.และจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าก่อนที่จะให้บุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อในเอกสาร ได้สอบถามถึงการชำระเงินตามที่ระบุในเอกสารแล้ว ทั้งสองคนตอบว่าชำระกันเรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงความหมายของเอกสารหมาย จ.6 ไม่ใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบได้
สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วันตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524เป็นสิทธิในการฟ้องคดีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องใช้สิทธิดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งจะมีอายุความไม่ ดังนั้น สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องว่า ช.ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 โอนขายนาพิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อเท่านั้น ไม่ได้รวมถึง ช.ซึ่งเป็นผู้ขายด้วย อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ดังนั้น นิติกรรมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 จึงยังมีผลสมบูรณ์ โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับ ช.ตามฟ้องได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ช.
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในข้อ 2 ว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการขายนาพิพาท แต่เป็นเสมือนการให้โดยเสน่หาตอบแทนความดีของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อ ช.ตลอดมา และให้การในข้อ 3 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลละหารที่ให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ในราคา 1,100,000 บาท ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากโจทก์ทั้งสองจะบังคับซื้อคืนจะต้องซื้อตามราคาตลาดในขณะนั้นคือไร่ละ 1,500,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การในข้อ 2จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสองว่า ช.มิได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ส่วนคำให้การในข้อ 3 เป็นเรื่องราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อนั้น ก็เป็นการปฏิเสธราคานาพิพาทที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยบังคับให้จำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทคืนให้โจทก์ทั้งสองว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกต้อง เพราะตามกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นคือ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่ คชก.ตำบลเชื่อว่า ช.ขายให้จำเลยที่ 2 ดังนั้น ราคานาพิพาทกับเรื่องที่ ช.ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันเพราะเป็นการปฏิเสธตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงยกขึ้นต่อสู้ได้โดยไม่จำต้องรับว่า ช.ได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อน คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาขัดแย้งกันไม่
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา53 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้..." และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวหมายความว่า เมื่อ ช.ผู้ให้เช่านาไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดก็ตาม โจทก์ทั้งสองผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนตามมาตรา 54 แต่จะต้องซื้อนาพิพาทคืนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันหาใช่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านและไม่อาจยกมาตรา54 ขึ้นอ้าง ดังนั้น ศาลชอบที่จะให้โจทก์ทั้งสองซื้อนาพิพาทคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การเกี่ยวกับราคาตลาดของนาพิพาทว่ามีราคา 30,000,000 บาท เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 เพื่อปฏิเสธราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อคืนว่า โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อในราคาตลาดในขณะนั้น เพราะเป็นราคาที่สูงกว่าจำนวนเงิน 30,000,000 บาทนี้ มิได้เป็นทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จำต้องฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาล
แม้ฟ้องจะระบุข้อความซึ่งหมายความว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง เมื่ออ่านรวมกันแล้วย่อมเข้าใจได้ดีแล้วว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วย หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อความในช่องคู่ความ เฉพาะโจทก์ที่ 2 เป็นว่า "พ.โดย ผ.ผู้รับมอบอำนาจที่ 2" และศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง แก้ฟ้องในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเคลือบคลุม โดยตัดข้อความว่า "แสดงเจตนาลวงโดยสมยอม ซึ่งความจริงเป็นเรื่องซื้อขายกัน" ออก แล้วเพิ่มข้อความ "ทำนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพราะเจตนาจริง ๆ เป็นเรื่องซื้อขาย หาใช่เป็นเรื่องให้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่" แทน และตัดข้อความ "ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎหมาย" ออก แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับสำเนาคำร้องก่อนตามมาตรา 181 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อีกทั้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็วินิจฉัยจากข้อความที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไข จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ การแก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว
คำฟ้องและข้อที่แก้ไขคำฟ้องเมื่อเข้าใจได้ว่า ฟ้องข้อ 4 โจทก์ทั้งสองอ้างว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายส่วนฟ้องข้อ 5 เป็นเรื่องที่ ช.กับจำเลยที่ 2 แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าไม่มีการเช่านา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองเช่าอยู่ ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย คำฟ้องจึงมิได้มีข้อความขัดกัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว มิได้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คชก.ประจำจังหวัดนนทบุรี จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ใช่นิติบุคคลแต่โจทก์ทั้งสองก็ได้แก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ประกอบด้วย ท.ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีเป็นประธานกรรมการ ส.อัยการจังหวัดนนทบุรี พ.เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ป.แทนเกษตรจังหวัดนนทบุรี ส.ประมงจังหวัดนนทบุรี พ.ปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี ผู้แทนผู้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สว. สจ. บก.และ สม.กับผู้แทนผู้ให้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สส. พจ. สน. และ ผอ. โดยมีสต.จ่าจังหวัดนนทบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ แม้จะมิได้ระบุรายชื่อคณะกรรมการแต่ละคนในช่องคู่ความตามฟ้องโจทก์ทั้งสอง ก็พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่ไม่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โจทก์ทั้งสองจึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดนนทบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดนนทบุรีได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
พยานโจทก์เบิกความว่า เอกสารหมาย จ.6 เป็นการซื้อขายนาพิพาทโดยเป็นวิธีการจดทะเบียนขายที่ดินบางส่วน ที่ตอนท้ายของข้อ 3 ในเอกสารดังกล่าวระบุว่าผู้ขายได้ที่ดินมาอย่างไรและผู้ซื้อจะนำนาพิพาทไปทำอะไรนั้น ก็ได้ความมาจากการสอบถามผู้รับมอบอำนาจของ ช.และจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าก่อนที่จะให้บุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อในเอกสาร ได้สอบถามถึงการชำระเงินตามที่ระบุในเอกสารแล้ว ทั้งสองคนตอบว่าชำระกันเรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงความหมายของเอกสารหมาย จ.6 ไม่ใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบได้
สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วันตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524เป็นสิทธิในการฟ้องคดีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องใช้สิทธิดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งจะมีอายุความไม่ ดังนั้น สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องว่า ช.ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 โอนขายนาพิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อเท่านั้น ไม่ได้รวมถึง ช.ซึ่งเป็นผู้ขายด้วย อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ดังนั้น นิติกรรมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 จึงยังมีผลสมบูรณ์ โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับ ช.ตามฟ้องได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ช.
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในข้อ 2 ว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการขายนาพิพาท แต่เป็นเสมือนการให้โดยเสน่หาตอบแทนความดีของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อ ช.ตลอดมา และให้การในข้อ 3 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลละหารที่ให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ในราคา 1,100,000 บาท ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากโจทก์ทั้งสองจะบังคับซื้อคืนจะต้องซื้อตามราคาตลาดในขณะนั้นคือไร่ละ 1,500,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การในข้อ 2จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสองว่า ช.มิได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ส่วนคำให้การในข้อ 3 เป็นเรื่องราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อนั้น ก็เป็นการปฏิเสธราคานาพิพาทที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยบังคับให้จำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทคืนให้โจทก์ทั้งสองว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกต้อง เพราะตามกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นคือ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่ คชก.ตำบลเชื่อว่า ช.ขายให้จำเลยที่ 2 ดังนั้น ราคานาพิพาทกับเรื่องที่ ช.ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันเพราะเป็นการปฏิเสธตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงยกขึ้นต่อสู้ได้โดยไม่จำต้องรับว่า ช.ได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อน คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาขัดแย้งกันไม่
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา53 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้..." และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวหมายความว่า เมื่อ ช.ผู้ให้เช่านาไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดก็ตาม โจทก์ทั้งสองผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนตามมาตรา 54 แต่จะต้องซื้อนาพิพาทคืนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันหาใช่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านและไม่อาจยกมาตรา54 ขึ้นอ้าง ดังนั้น ศาลชอบที่จะให้โจทก์ทั้งสองซื้อนาพิพาทคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การเกี่ยวกับราคาตลาดของนาพิพาทว่ามีราคา 30,000,000 บาท เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 เพื่อปฏิเสธราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อคืนว่า โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อในราคาตลาดในขณะนั้น เพราะเป็นราคาที่สูงกว่าจำนวนเงิน 30,000,000 บาทนี้ มิได้เป็นทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จำต้องฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4148/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่า: การเสนอขายใหม่ตามกฎหมาย และผลผูกพันตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของที่นาพิพาท มีจำเลยเป็นผู้เช่าทำนาที่นาพิพาทอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และโจทก์ที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท อันเป็นกรณีที่จำเลยผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อที่นาพิพาทเพราะจำเลยยอมทำบันทึกตกลงปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทแล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1ในราคาที่แตกต่างไปจากราคาที่เสนอขายต่อจำเลย โจทก์ที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการเสนอขายเพื่อให้จำเลยมีโอกาสแสดงความจำนงจะซื้อที่นาพิพาทใหม่ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคสี่เมื่อเป็นเช่นนี้ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า สัญญายกเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นโมฆียะหรือไม่ เพราะการที่จำเลยยอมเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นผลที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยนอกจากนี้ จำเลยยังมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คชก. ตำบล บ.ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอ และคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 วรรคสองแล้วคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล บ.ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา 250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คชก. ตำบล บ.ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอ และคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 วรรคสองแล้วคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล บ.ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา 250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4148/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อผู้ให้เช่าขายต่อ - คชก.มีอำนาจชี้ขาด - ราคาซื้อขายตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของที่นาพิพาท มีจำเลยเป็นผู้เช่าทำนา ที่นาพิพาทอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 และโจทก์ที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท อันเป็นกรณีที่ จำเลยผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อที่นาพิพาทเพราะจำเลยยอมทำบันทึกตกลงปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทแล้ว แต่โจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคาที่แตกต่างไปจากราคาที่เสนอขายต่อจำเลย โจทก์ที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการเสนอขายเพื่อให้จำเลยมีโอกาสแสดงความ จำนงจะซื้อที่นาพิพาทใหม่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคสี่ เมื่อเป็นเช่นนี้กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า สัญญายกเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นโมฆียะหรือไม่ เพราะการที่จำเลยยอมเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นผลที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลย นอกจากนี้จำเลยยังมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง คชก.ตำบล บ. ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอและคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 วรรคสองแล้ว คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล บ. ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา 250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการซื้อที่ดินคืนหลังคำวินิจฉัย คชก. และการฟ้องซ้ำ: โจทก์ต้องเพิกถอนคำวินิจฉัยก่อนจึงมีสิทธิซื้อ
ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสามว่า โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 7308 ของ ฉ. และที่ดินโฉนดเลขที่ 7309 ของ ส. เพื่อใช้ทำนาต่อมา ฉ. และ ส.ได้ขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสามในราคาไร่ละ30,000 บาท โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน โจทก์เคยติดต่อขอซื้อที่ดินคืน แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย โจทก์จึงร้องขอต่อ คชก.ตำบลให้มีคำวินิจฉัย คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัยให้โจทก์ซื้อที่ดินทั้งสองแปลงจากจำเลยทั้งสามในราคาไร่ละ 250,000บาท โจทก์ไม่พอใจจึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อ คชก.จังหวัด คชก.จังหวัดพิจารณาและมีคำวินิจฉัยยืนตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ซึ่งโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวแก่โจทก์ในราคาไร่ละ 30,000 บาทคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดจะต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด เพราะตราบใดคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอนต้องถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินที่เช่าให้ขายที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการ แต่เป็นราคาที่แตกต่างไปจากราคาตามคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้ ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ทำนองเดียวกันอีกและอ้างว่าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบล และ คชก.จังหวัดขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงต้องขอให้ศาลบังคับคดีตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล และ คชก.จังหวัด ให้จำเลยทั้งสามขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7308 และ 7309 แก่โจทก์ในราคาไร่ละไม่เกิน 60,000 บาท นั้นประเด็นพิพาททั้งสองคดีจึงเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินที่เช่าให้ขายที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการแต่เป็นราคาที่แตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้หรือไม่ แม้ราคาที่โจทก์ขอซื้อคืนในคดีก่อนและในคดีนี้จะแตกต่างกันก็ตาม แต่ประเด็นพิพาททั้งสองคดีก็เป็นอย่างเดียวกันว่าการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดนั้นจะเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอซื้อที่ดินที่เช่าคืนตามราคาที่โจทก์ต้องการได้หรือไม่นั่นเอง จึงหาใช่เป็นเรื่องการบังคับคดีตามมาตรา 58 แต่อย่างใดเมื่อปรากฏว่าคู่ความในคดีก่อนและคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน และคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่นาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ และอำนาจการเรียกพยานของ คชก.
พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา19 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ คชก. จังหวัด คชก.ตำบล หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีอำนาจเรียกผู้เช่า ผู้ให้เช่า หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการเช่ามาเพื่อประกอบการพิจารณาของคชก. จังหวัด หรือ คชก.ตำบล ได้แล้วแต่กรณี จึงเป็นอำนาจของ คชก. จังหวัดหรือ คชก.ตำบล ที่จะเรียกผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือไม่ก็ได้ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องเรียกบุคคลดังกล่าวมาให้ถ้อยคำเสมอไป การที่คชก.ตำบล ท.ไม่ได้เรียกเจ้าของที่ดินเดิมและผู้รับโอนที่นาพิพาทมาให้ถ้อยคำ จึงไม่ทำให้การประชุมของ คชก. ตำบล ท.เสียไป
พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อได้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสองผู้รับโอนซื้อที่นาพิพาทจากเจ้าของเดิมเนื้อที่ 19 ไร่เศษ ในราคา110,000 บาท การที่ คชก. ตำบล ท. กำหนดให้โจทก์ผู้เช่าที่นาพิพาทซื้อคืนจากจำเลยทั้งสองในราคาไร่ละ 20,000 บาท จึงเป็นราคาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้โจทก์ใช้สิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองด้วย
พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อได้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสองผู้รับโอนซื้อที่นาพิพาทจากเจ้าของเดิมเนื้อที่ 19 ไร่เศษ ในราคา110,000 บาท การที่ คชก. ตำบล ท. กำหนดให้โจทก์ผู้เช่าที่นาพิพาทซื้อคืนจากจำเลยทั้งสองในราคาไร่ละ 20,000 บาท จึงเป็นราคาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้โจทก์ใช้สิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ราคาซื้อคืนต้องไม่สูงกว่าราคาตลาดหรือราคาที่ผู้รับโอนซื้อมา
พระราชบัญญัติญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา19วรรคหนึ่งบัญญัติให้คชก.จังหวัดคชก.ตำบลหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีอำนาจเรียกผู้เช่าผู้ให้เช่าหรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการเช่ามาเพื่อประกอบการพิจารณาของคชก.จังหวัดหรือคชก.ตำบลได้แล้วแต่กรณีจึงเป็นอำนาจของคชก.จังหวัดหรือคชก.ตำบลที่จะเรียกผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือไม่ก็ได้ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องเรียกบุคคลดังกล่าวมาให้ถ้อยคำเสมอไปการที่คชก.ตำบล ท. ไม่ได้เรียกเจ้าของที่ดินเดิมและผู้รับโอนที่นาพิพาทมาให้ถ้อยคำจึงไม่ทำให้การประชุมของคชก.ตำบล ท. เสียไปพระราชบัญญัติญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อได้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันเมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสองผู้รับโอนซื้อที่นาพิพาทจากเจ้าของเดิมเนื้อที่19ไร่เศษในราคา110,000บาทการที่คชก.ตำบล ท. กำหนดให้โจทก์ผู้เช่าที่นาพิพาทซื้อคืนจากจำเลยทั้งสองในราคาไร่ละ20,000บาทจึงเป็นราคาที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้โจทก์ใช้สิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อมีการขายทอดตลาด และการแก้ไขราคาซื้อขายโดยศาลตามกฎหมายเช่าที่ดิน
คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯตามมาตรา56ย่อมถึงที่สุดแต่มาตรา58วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อ ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลในการพิจารณาคดีของศาลให้ถือว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยดังกล่าวในกรณีนี้โดยอนุโลมซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการคือพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯมาตรา24วรรคสองให้ศาลมีอำนาจแก้ไขในกรณีที่คำชี้ขาดมีข้อบกพร่องอันมิใช่สาระและอาจแก้ไขได้เช่นการคำนวณตัวเลขหรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลหรือทรัพย์สิ่งใดผิดพลาดไปแต่การนำบทบัญญัติดังกล่่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบกฎหมายของคำวินิจฉัยถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาบังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้แม้จะเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อมีการซื้อขายจากผู้ให้เช่า: ศาลมีอำนาจแก้ไขราคาคำวินิจฉัยคชก. หากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์จะเป็นที่สุดแต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องต่อศาลในการพิจารณาว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวกฎหมายให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530ซึ่งในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยถึงที่สุดของคชก.ตำบลจะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของคชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินของผู้เช่านา: สิทธิซื้อคืนตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ แม้ปฏิเสธซื้อก่อน แต่หากราคา/วิธีชำระแตกต่าง ต้องแจ้งสิทธิซื้ออีกครั้ง
แม้จำเลยร่วมได้ลงลายมือชื่อในหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาที่มีข้อความระบุว่า ฟ. และ ซ. เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยเช่าทำนาอยู่มีความประสงค์จะขายที่ดินโฉนดแปลงดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นในราคาไร่ละ 60,000 บาทผู้เช่านาได้บอกปฏิเสธไม่ซื้อที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้เจ้าของที่ดินขายให้แก่บุคคลอื่นไปได้ อันถือได้ว่าจำเลยร่วมสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 จำนวน 20 ไร่เศษในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงินกว่า 1,200,000 บาท แล้วก็ตาม แต่ถ้า ฟ. และซ. จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลอื่นในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิ ตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนา ฟ. และ ซ. จะต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่งใหม่ การที่ ฟ. และ ซ. ขายที่นาพิพาทเนื้อที่ 9 ไร่42 ตารางวา ซึ่งแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษดังกล่าวในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงิน 5 แสนบาทเศษ จึงเป็นการขายที่ดินที่มีจำนวนเนื้อที่และราคาน้อยกว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ถือได้ว่าเป็นการขายที่ดินในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อที่นาดังนี้ ฟ. และ ซ. จึงต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาฉบับเดิม เป็นการปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ด้วยไม่ได้ เมื่อ ฟ. และ ซ. ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยยังมิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 53 วรรคหนึ่งจำเลยร่วมในฐานะผู้เช่านาที่นาพิพาทจึงมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์และโจทก์ร่วมผู้รับโอนที่นาพิพาทได้ตามมาตรา 54
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก. จังหวัด มิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2(ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก. จังหวัด มิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2(ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท