พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำกินในที่ดินป่าสงวน กรณีต่ออายุอนุญาตล่าช้า และการพิสูจน์การซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อครบกำหนดอนุญาตแล้ว โจทก์ได้ยื่นหนังสือต่อทางราชการขอทำกินต่อไปอีก ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวถึงปี 2531 นั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาทางราชการจะส่งเจ้าหน้าที่มารับคำขอเพื่อนำไปจัดทำใบ สทก.2ต่อไป แต่ในปี 2532 ทางราชการมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอจึงไม่ได้จัดส่งคนไปรับคำขอเพิ่งจะส่งเจ้าหน้าที่ไปรับคำขอเมื่อปี 2533 กรณีจึงเป็นเรื่องตกค้างจากปี 2533 ซึ่งป่าไม้เขตมีคำสั่งรับใบคำขอของโจทก์แล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทอยู่ต่อเนื่องตลอดมา โจทก์ซึ่งมีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้รับโอนสิทธิทำกินในเขตปฏิรูปที่ดิน: เกษตรกรต้องไม่มีที่ดินทำกินพอเลี้ยงชีพ
โจทก์เป็นเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา โดยทำนาทั้งแปลง ถือได้ว่าโจทก์มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองและมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพแล้ว โจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับโอนที่ดินพิพาทแม้ทางมรดกตกทอด จำเลยซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชอบที่จะไม่ออกคำสั่งให้โจทก์รับมรดกตกทอดสิทธิการเช่าในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าขัดกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9076/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหลังจำหน่ายสิทธิทำกิน ศาลยกฟ้องกรณีเรียกค่าชดเชยซ้ำซ้อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ได้ขายสิทธิทำกินในที่ดินแปลงพิพาทที่โจทก์ได้รับสิทธิทำกินจากการจัดสรรของกรมชลประทานให้แก่ผู้มีชื่อโดยได้รับเงินเป็นค่าตอบแทนครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์ได้จำหน่ายสิทธิทำกินในที่ดินแปลงพิพาทไปแล้ว โจทก์จะกลับอ้างว่ามีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาเป็นเหตุฟ้องขอให้ศาลบังคับกรมชลประทานจำเลยจ่ายเงินชดเชยค่าที่ดินอีกไม่ได้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำกินในป่าสงวนสิ้นสุดเมื่อหมดอายุอนุญาต การฟ้องร้องหน่วยงานรัฐด้วยสิทธิครอบครองเป็นโมฆะ
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้โจทก์ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทตามหนังสืออนุญาต สทก.1 มีกำหนดระยะเวลา5 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2527 ถึง 1 ตุลาคม 2532 ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1ก่อสร้างถนนผ่านที่ดินพิพาทในปี 2533 อันเป็นเวลาหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสืออนุญาต สทก.1 ของโจทก์ สิทธิการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507มาตรา 16 ประกอบมาตรา 14 ย่อมสิ้นสุดไปแล้ว ทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกัน แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่เป็นส่วนราชการและเป็นหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐนั่นเอง ซึ่งโจทก์ไม่อาจกระทำได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำกินในป่าสงวนหมดอายุเมื่อใด? การฟ้องหน่วยงานรัฐเรื่องรื้อถนนขัดแย้งกับสิทธิเดิมหรือไม่?
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวตามหนังสืออนุญาตสทก. 1 มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ต่อมาสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จำเลยได้ก่อสร้างถนนผ่านที่ดินพิพาทหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวสิทธิการทำประโยชน์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมสิ้นสุดไปแล้วทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกัน แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่เป็นหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์ไม่ให้อำนาจฟ้องจำเลยรื้อและปรับสภาพถนนให้เป็นที่นาตามเดิมและใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำกินในป่าสงวนสิ้นสุดเมื่อหมดอายุอนุญาต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องรัฐ
โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติแต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสืออนุญาตแล้วสิทธิการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยของโจทก์ตามเงื่อนไขของกฎหมายย่อมสิ้นสุดไปแล้วจำเลยที่1จึงมีสิทธิเข้าไปทำประโยชน์ได้ทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกันแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่เป็นส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐนั่นเองซึ่งโจทก์ไม่อาจกระทำได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน: สิทธิทำกินในที่ดินของแผ่นดิน ไม่ถือเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์
ความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362ตอนแรกเป็นการ รบกวนกรรมสิทธิ์ ตอนที่สองเป็นการ รบกวนการครอบครองและทั้งสองตอนนั้นต้องเป็นการกระทำต่อ สิทธิครอบครองหรือ กรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข ผู้เสียหายเป็นเพียงผู้ได้สิทธิทำกินในที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304วรรคแรกหาใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไม่เมื่อขณะนั้นจำเลยได้เข้ายึดถือทำกินในที่พิพาทอยู่ก่อนแล้วแม้จำเลยได้นำรถเข้าไปไถดินและครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทก็ไม่เป็นความผิดฐาน บุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิทำกินในที่ดิน สทก.1 ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองทรัพย์ที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตกเป็นของผู้ร้องไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิทำกินในที่ดิน สทก.1 โดยไม่ชอบตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตก ทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตก เป็นของผู้ร้องไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิทำกินในที่ดิน สทก.1 ถือเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการครอบครองและการบังคับคดี
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองทรัพย์ที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตกเป็นของผู้ร้องไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.