พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10872/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจากสัญญาประนีประนอมยอมความ vs. สิทธิได้มาโดยครอบครองปรปักษ์: ผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับ ส. เป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันเฉพาะคู่กรณี แม้ศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็เพียงแต่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเท่านั้น แต่สิทธิของผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นด้วยผลของกฎหมาย เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดยืนยันสิทธิดังกล่าว ผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน ส. กับพวก ซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกันทุกคน และผลของคำพิพากษานั้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) คำสั่งของจำเลยทั้งสองที่ให้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ก่อนการจดทะเบียนสิทธิให้แก่โจทก์จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจากการจดทะเบียน: ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองก่อนหน้านี้ที่ยังมิได้จดทะเบียน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วยจาก ส.ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส.แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนนั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองเดิมที่ไม่จดทะเบียน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วย จากส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส.แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียน นั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้ ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนาย ผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้าน ยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดี ในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิที่ดินมรดก VS สิทธิที่ได้มาโดยสุจริต - มาตรา 1299 วรรคสอง
โจทก์เป็นทายาทได้รับที่ดินมรดกของ ป. เป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ส่วนจำเลยกับ น.รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยผู้โอนขายให้ โดยเสียค่าตอบแทนและโดย สุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริต เมื่อที่ดินส่วนของ น. น.มีสิทธิดีกว่าโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ต่อมาที่ดินส่วนนี้จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห.เมื่อห.ถึงแก่กรรมจำเลยและถ.เป็นผู้รับโอนมรดกที่ดินส่วนของ ห. โดยไม่เสียค่าตอบแทน โจทก์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนใช้ยันจำเลยได้ เพราะสิทธิของโจทก์ขาดตอนไปแล้ว ตั้งแต่ น. รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต จะนำหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนมาใช้บังคับไม่ได้เพราะสิทธิหลักกฎหมายทั่วไปดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีพิพาทสิทธิที่ดิน: ห้ามฎีกาเมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่า 200,000 บาท และประเด็นนอกคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ 17,000บาท และจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ด้วยที่ดินพิพาทโดยถือว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์และไม่เคยตกลงขายที่ดินให้โจทก์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยทั้งสองได้ขายให้แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคดีที่โต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ไม่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองให้การหรือนำสืบโต้แย้งราคาที่ดินพิพาท จึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมีราคา17,000 บาท และถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาทในคดีนี้เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู*ในขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินและมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ยแล้ว ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยไม่จำต้องก้าวล่วงไปฟังข้อเท็จจริงว่าการตกลงชำระหนี้ด้วยที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 656 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงเป็นการนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการอุทธรณ์ โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากหนังสือสัญญา โดยฟังว่าจำเลยที่ 2 เพียงแต่กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเพื่อสร้างที่ทำการของรัฐ & สิทธิของผู้รับโอนที่ดินโดยสุจริต
คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ส.และ อ.ได้ทำหนังสือเอกสารหมายล.1 อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างที่ทำการเกษตรตำบล จำเลยที่ 1ได้เข้าครอบครองปลูกสร้างที่ทำการและบ้านพักเกษตรตำบลลงในที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ส.และ อ.ไม่ได้ทำหนังสือเอกสารหมาย ล.1 อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ฎีกาว่า การยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ยังไม่สมบูรณ์เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งได้รับการส่งมอบและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในปี 2523 แต่ปรากฏว่าในวันที่ 6 กรกฎาคม 2522 ส.ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ทันทีนับแต่วันจดทะเบียนขายฝาก จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการยกให้ที่ดินพิพาทมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1299 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนนั้น ปัญหานี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 เพียงแต่ยกตัวอย่างสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ดูบางส่วนเท่านั้น ที่ทำการเกษตรตำบลเป็นส่วนราชการสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานของรัฐ ถือได้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ดังนั้นการที่ ส. และ อ. ทำหนังสืออุทิศที่ดินพิพาทเอกสารหมาย ล.1 ให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อสร้างที่ทำการเกษตรตำบลสาลี แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
โจทก์ฎีกาว่า การยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ยังไม่สมบูรณ์เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งได้รับการส่งมอบและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในปี 2523 แต่ปรากฏว่าในวันที่ 6 กรกฎาคม 2522 ส.ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ทันทีนับแต่วันจดทะเบียนขายฝาก จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการยกให้ที่ดินพิพาทมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1299 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนนั้น ปัญหานี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 เพียงแต่ยกตัวอย่างสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ดูบางส่วนเท่านั้น ที่ทำการเกษตรตำบลเป็นส่วนราชการสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานของรัฐ ถือได้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ดังนั้นการที่ ส. และ อ. ทำหนังสืออุทิศที่ดินพิพาทเอกสารหมาย ล.1 ให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อสร้างที่ทำการเกษตรตำบลสาลี แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างสิทธิที่ดินโดยการซื้อมา และการครอบครองปรปักษ์ ต้องยกข้ออ้างในคำฟ้องชัดเจน จึงจะนำมาวินิจฉัยได้
ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ว่าซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 7811ซึ่งรวมที่พิพาทด้วยโดยซื้อมาประมาณ 6 ปีก่อนฟ้องคดีนี้ มิใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นอ้างว่าโจทก์ได้สิทธิมาโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1299วรรคสอง การจะอ้างมาตรา 1299 วรรคสอง มาเป็นประเด็นต่อสู้ว่ามีสิทธิดีกว่าจำเลยนั้นต้องกล่าวอ้างมาในคำฟ้องโดยชัดแจ้ง เมื่อมิได้กล่าวอ้างไว้ก็ไม่มีประเด็นจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะยกขึ้นอ้างมาในฎีกาก็ไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะขึ้นวินิจฉัยเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างสิทธิโดยอาศัยมาตรา 1299 วรรคสอง ต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องชัดเจน มิฉะนั้นศาลไม่วินิจฉัย แม้ยกขึ้นในฎีกา
การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 7811 ซึ่งรวมที่พิพาทด้วย โดยซื้อมาประมาณ 6 ปี ก่อนฟ้องคดีนี้ มิใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นอ้างว่าโจทก์ได้สิทธิมาโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง เพราะการจะอ้างมาตรา 1299 วรรคสองมาเป็นประเด็นต่อสู้ว่ามีสิทธิดีกว่าจำเลยนั้น ต้องกล่าวอ้างมาในคำฟ้องโดยชัดแจ้ง เมื่อมิได้กล่าวอ้างไว้ก็ไม่มีประเด็นจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ทั้งมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะยกขึ้นอ้างมาในฎีกา ก็ไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองปรปักษ์ของผู้ร้องสอดในคดีขับไล่: การคุ้มครองสิทธิที่ดินและบ้าน
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์นั้น ผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องอ้างว่าผู้ร้องได้เข้าครอบครองทำประโยชน์และอยู่อาศัยโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อมาเป็นเวลากว่า 10 ปีผู้ร้องสอดจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ และขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดห้ามโจทก์เกี่ยวข้องได้ เพราะเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เกี่ยวกับที่ดินและบ้านพิพาทนั้น ผู้ร้องสอดจึงย่อมยื่นคำร้องเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินทับซ้อน: ศาลต้องสืบพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อพิสูจน์สิทธิที่แท้จริงก่อนพิพากษา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินน.ส.3ก. เลขที่ 1206 ของโจทก์ซึ่งซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน น.ส.3ก.เลขที่ 993 ซึ่งจำเลยซื้อจากเจ้าของที่ดินเดิมและครอบครองต่อจากเจ้าของที่ดินเดิม น.ส.3ก. ของโจทก์ออกภายหลัง เฉพาะตรงที่พิพาททับที่ดินจำเลย โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่พิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองซึ่งหมายความว่า ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ของจำเลยเป็น น.ส.3ก. ที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เคยมีการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์จะอ้างสิทธิว่าเป็นที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไม่ได้ ซึ่งโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าน.ส.3ก.ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกทับ น.ส.3ก. ของโจทก์ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติทางใดทางหนึ่ง และตามฟ้องโจทก์ไม่ได้กล่าวหาว่าจำเลยรู้ถึงการขายทอดตลาดที่ดินน.ส.3ก.ของโจทก์ ซึ่งมีอาณาเขตมาทับที่ดินตาม น.ส.3ก.ของจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ไปร้องขัดทรัพย์หรือไปคัดค้านการขายทอดตลาด อันเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทจึงไม่ชอบ จำเลยขอเพิ่มประเด็นว่า ที่พิพาทได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใดปรากฏว่าจำเลยให้การไว้ตอนแรกว่า "โจทก์บกพร่องไม่สืบเรื่องราวก่อนซื้อว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะไปร้องขอคืนเงินจากกองพิทักษ์ทรัพย์..."ซึ่งหมายความว่าโจทก์ไม่ทราบว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยชอบ เพราะความบกพร่องของโจทก์ที่ไม่สืบเรื่องราวก่อนซื้อ แต่ในตอนต่อมาจำเลยกล่าวในคำให้การว่า "โจทก์ทราบดีว่าที่ดินเป็นของจำเลยโดยชอบ โจทก์ได้ร้องต่อผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์บังคับคดีล้มละลาย กรมบังคับคดีให้กันค่าขายที่ดินไว้ก่อน..." จึงเป็นคำให้การที่ขัดกันเองในตัวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะสืบในเรื่องความสุจริตของโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ของจำเลยข้อนี้ชอบแล้ว