พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การเพิกถอนเนื่องจากขาดความใหม่-ใช้แพร่หลายก่อนขอรับสิทธิบัตร และอำนาจฟ้องของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ
บริษัท ค. ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ "วิธีการเดินชมทัศนียภาพบนพื้นทะเลและอุปกรณ์สำหรับการเดินชมทัศนียภาพบนพื้นทะเล" โจทก์ซึ่งประกอบกิจการนำเที่ยวโดยการเดินชมทัศนียภาพบนพื้นทะเลถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาท และได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่มีการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรดังกล่าว นับเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
โจทก์มีพยานซึ่งอยู่ในวงการดำน้ำมาเบิกความชัดเจนว่าในส่วนของวิธีการตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร พยานหลักฐานโจทก์ได้แสดงถึงรายละเอียดของระบบการทำงานของอุปกรณ์เดินใต้น้ำที่มีลักษณะเช่นเดียวกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรพิพาท โจทก์หาจำต้องนำสืบแยกแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับทั้ง 10 ขั้นตอน ตามข้อถือสิทธิข้อ 1 รวมทั้งรายละเอียดเพิ่มเติมข้อ 2 ถึงข้อ 7 และกล่าวถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่าใช้ร่วมกันทั้งหมดหรือไม่อย่างไร กรณีที่มีการนำระบบและอุปกรณ์มาใช้กับนักท่องเที่ยวเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา 6 วรรคสอง (1)
โจทก์มีพยานซึ่งอยู่ในวงการดำน้ำมาเบิกความชัดเจนว่าในส่วนของวิธีการตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร พยานหลักฐานโจทก์ได้แสดงถึงรายละเอียดของระบบการทำงานของอุปกรณ์เดินใต้น้ำที่มีลักษณะเช่นเดียวกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรพิพาท โจทก์หาจำต้องนำสืบแยกแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับทั้ง 10 ขั้นตอน ตามข้อถือสิทธิข้อ 1 รวมทั้งรายละเอียดเพิ่มเติมข้อ 2 ถึงข้อ 7 และกล่าวถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่าใช้ร่วมกันทั้งหมดหรือไม่อย่างไร กรณีที่มีการนำระบบและอุปกรณ์มาใช้กับนักท่องเที่ยวเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา 6 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่ หากมีลักษณะคล้ายกับที่เปิดเผยก่อนยื่นคำขอ ย่อมถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์
แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยตามคำขอรับสิทธิบัตรมีลักษณะที่แท้จริงเป็นหลอดดูดชนิดยืดหดได้ โดยมีส่วนปลายตัดเฉียงเช่นเดียวกับหลอดดูด ซึ่งโจทก์เป็นผู้ผลิต แสดงว่าลักษณะภายนอกของแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยมีความคล้ายกันกับของโจทก์ แม้จำเลยจะอ้างว่าหลอดดูดของจำเลยไม่มีลักษณะเป็นหลอดหลบซ่อนอยู่ข้างในอย่างหลอดดูดของโจทก์ หากมีลักษณะเหมือนพู่กันทาปากซึ่งเวลาใช้งานจะถอดส่วนหัวนำมาเสียบด้านล่างก็ตาม แต่การพิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์วัตถุมุ่งเน้นที่รูปทรงหรือแบบที่ปรากฏให้เห็นภายนอก โดยไม่คำนึงถึงวิธีการใช้หรือเทคนิคการใช้งานของวัตถุ ซึ่งแบบผลิตภัณฑ์วัตถุที่จะถือว่ามีความใหม่นั้นต้องมีความแตกต่างชัดเจนมากเพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของประชาชนได้ เมื่อปรากฏว่าหลอดดูดของจำเลยตามภาพที่ 1 ถึงภาพที่ 6 มีรูปทรงภายนอกคล้ายกันกับหลอดดูดของโจทก์ ทั้งยังมีรูปทรงภายนอกคล้ายกับภาพหลอดดูดที่ได้มีการขอจดสิทธิบัตรไว้นอกราชอาณาจักรอีกหลายประเทศ แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยตามคำขอรับสิทธิบัตรจึงมีลักษณะคล้ายกับหลอดดูดที่ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ข้ออ้างเกี่ยวกับลักษณะหลอดดูดของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงเทคนิคการใช้งานไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของการตรวจสอบความใหม่ในกรณีนี้
การตรวจสอบความใหม่ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจสอบได้จากภาพที่ปรากฏอยู่ในคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เพราะตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 57 (2) บัญญัติไว้เพียงว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้นหากมีการเปิดเผยภาพในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ๆ ไม่ว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วย่อมทำให้สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะรับสิทธิบัตรขาดความใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดที่มีลักษณะยืดหดได้ซึ่งเป็นสาระสำคัญตามคำขอรับสิทธิบัตรจำเลยได้มีการเปิดเผยในเอกสารประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นอกราชอาณาจักรแล้วก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยจึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จึงเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 56, 57 (2) (4)
การตรวจสอบความใหม่ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจสอบได้จากภาพที่ปรากฏอยู่ในคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เพราะตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 57 (2) บัญญัติไว้เพียงว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้นหากมีการเปิดเผยภาพในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ๆ ไม่ว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วย่อมทำให้สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะรับสิทธิบัตรขาดความใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดที่มีลักษณะยืดหดได้ซึ่งเป็นสาระสำคัญตามคำขอรับสิทธิบัตรจำเลยได้มีการเปิดเผยในเอกสารประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นอกราชอาณาจักรแล้วก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยจึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จึงเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 56, 57 (2) (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ต้องใหม่และไม่เคยปรากฏใช้มาก่อน การออกสิทธิบัตรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และ (2) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมการประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น มาตรา 6 ประกอบมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันให้หมายความไว้ว่าหมายถึงการประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานที่ปรากฏอยู่แล้วมาตรา 6 วรรคสอง ได้ให้ความหมายรวมถึงงานต่างๆไว้หลายประการ ประการหนึ่ง หมายความรวมถึงการประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 458 ของจำเลยที่ 1 เป็นการประดิษฐ์ที่มีและใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวจึงเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วตามมาตรา 6 วรรคสอง การประดิษฐ์ดังกล่าวจึงเป็นการประดิษฐ์ที่ไม่อาจขอรับอนุสิทธิบัตรได้ตามมาตรา 65 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 อนุสิทธิบัตรดังกล่าวจึงเป็นอนุสิทธิบัตรที่ออกโดยไม่ชอบด้วย มาตรา 65 ทวิ ถือเป็นอนุสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 65 นว วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6818/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต่างประเทศไม่ได้รับการคุ้มครองในไทย หากไม่ได้จดทะเบียนในไทย ผู้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากต่างประเทศจึงไม่มีอำนาจฟ้องละเมิดในไทย
สิทธิบัตรที่จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ต้องเป็นสิทธิบัตรที่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์พร้อมทั้งเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่อผ่านการตรวจสอบว่ามีลักษณะครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว อธิบดีจึงจะออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอตามมตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว สิทธิบัตรที่ออกโดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวจึงจะได้รับความคุ้มครองในราชอาณาจักรไทยตามทฤษฎีสากลในเรื่องหลักดินแดนซึ่งผู้ทรงสิทธิบัตรจะบังคับใช้สิทธิของตนได้เฉพาะแต่ภายในเขตอำนาจอธิปไตยของประเทศที่ออกสิทธิบัตรนั้นเท่านั้นไม่อาจบังคับใช้สิทธิของตนต่อการกระทำละเมิดเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นนอกอาณาเขตของประเทศนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรยาจากสมุนไพร กวาวเครือ ที่ไม่เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยที่ 1 โดยกล่าวอ้างว่าการประดิษฐ์ที่มีส่วนประกอบของกวาวเครือมีการเปิดเผยสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2474 ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จึงไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เพราะองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือเป็นส่วนประกอบพื้นๆ ธรรมดาที่บุคคลอื่นและโจทก์ใช้หรือผลิตกันอยู่ทั่วไป ทั้งไม่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรืออื่นๆ ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องการผลิตทางอุตสาหกรรม ไม่เป็นประโยชน์ทางอุตสาหกรรม คงถือเป็นเพียงการผสมสมุนไพร จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นที่เข้าใจอย่างชัดแจ้งแล้วว่า สิทธิบัตรพิพาทไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าว และมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าว และมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ที่ไม่ใหม่ การพิจารณาความแตกต่างจากงานที่ปรากฏก่อนหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยที่ 1 โดยกล่าวอ้างว่าการประดิษฐ์ที่มีส่วนประกอบของกวาวเครือมีการเปิดเผยสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2474 ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จึงไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ นอกจากนี้การประดิษฐ์ดังกล่าวยังไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เพราะองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือเป็นส่วนประกอบพื้นๆ ธรรมดาที่บุคคลอื่นและโจทก์ใช้หรือผลิตกันอยู่ทั่วไป ทั้งไม่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรืออื่นๆ ได้ คงถือเป็นเพียงการผสมสมุนไพร จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ คำฟ้องดังกล่าวเป็นที่เข้าใจแล้วว่า สิทธิบัตรพิพาทไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด การที่โจทก์ไม่ได้ระบุว่าเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ดังกล่าวมีชื่อว่าอะไร เปิดเผยสาระสำคัญอย่างไร เผยแพร่ที่ไหนอย่างไร บุคคลทั่วไปรวมทั้งโจทก์นำสมุนไพรกวาวเครือไปผสมกับสารอะไรในอัตราส่วนเท่าใด มีขั้นตอนการผลิตอย่างไร ล้วนเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าวและมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องในรายละเอียดว่า โจทก์ผลิตและจำหน่ายหรือมีไว้ซึ่งสินค้าดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด
ตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2474 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ทั้งถือว่าได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ปรากฏในตำราดังกล่าวต่อสาธารณชนด้วยเพราะประชาชนทั่วไปย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เปิดเผยดังกล่าวได้โดยชอบแล้ว กรณีไม่จำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีการเผยแพร่ และจำนวนของเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่เมื่อเทียบเคียงกับจำนวนประชากรของประเทศ
สาระสำคัญของสิทธิบัตรพิพาทอยู่ที่ส่วนผสมของสมุนไพรจากกวาวเครือกับส่วนประกอบจากน้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนมสัตว์ส่วนประกอบอื่นๆ นอกจากนี้อาจจะมีอยู่ด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ได้ เมื่อตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรที่มีการพิมพ์เผยแพร่มาก่อนได้กล่าวถึงการนำกวาวเครือมาผสมกับนมสัตว์ ปั้นเป็นลูกกลอนใช้รับประทาน ซึ่งหากพิจารณาว่าใช้อัตราส่วนผสมอย่างละร้อยละ 50 ไม่ว่าจะมีสารประกอบอื่นในจำนวนที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมดังกล่าวหรือไม่ ก็จะมีลักษณะเดียวกับข้อถือสิทธิของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทนั่นเอง การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่อาจนับเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพราะมีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดไว้ก่อนแล้ว ทั้งลำพังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ก็ไม่ได้ส่งผลให้การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าวและมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องในรายละเอียดว่า โจทก์ผลิตและจำหน่ายหรือมีไว้ซึ่งสินค้าดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด
ตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2474 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ทั้งถือว่าได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ปรากฏในตำราดังกล่าวต่อสาธารณชนด้วยเพราะประชาชนทั่วไปย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เปิดเผยดังกล่าวได้โดยชอบแล้ว กรณีไม่จำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีการเผยแพร่ และจำนวนของเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่เมื่อเทียบเคียงกับจำนวนประชากรของประเทศ
สาระสำคัญของสิทธิบัตรพิพาทอยู่ที่ส่วนผสมของสมุนไพรจากกวาวเครือกับส่วนประกอบจากน้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนมสัตว์ส่วนประกอบอื่นๆ นอกจากนี้อาจจะมีอยู่ด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ได้ เมื่อตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรที่มีการพิมพ์เผยแพร่มาก่อนได้กล่าวถึงการนำกวาวเครือมาผสมกับนมสัตว์ ปั้นเป็นลูกกลอนใช้รับประทาน ซึ่งหากพิจารณาว่าใช้อัตราส่วนผสมอย่างละร้อยละ 50 ไม่ว่าจะมีสารประกอบอื่นในจำนวนที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมดังกล่าวหรือไม่ ก็จะมีลักษณะเดียวกับข้อถือสิทธิของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทนั่นเอง การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่อาจนับเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพราะมีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดไว้ก่อนแล้ว ทั้งลำพังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ก็ไม่ได้ส่งผลให้การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: โอนสิทธิโดยไม่ชอบ เจ้าของสิทธิที่แท้จริงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้จนกว่าจะมีสิทธิบัตร
ส. เป็นข้าราชการในมหาวิทยาลัยของรัฐ สิทธิขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ซึ่งได้ประดิษฐ์ขึ้นในฐานะข้าราชการมหาวิทยาลัยดังกล่าวจึงมิใช่ของตน เมื่อ ส. โอนสิทธิไปให้โจทก์ โจทก์นั้นจึงไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรได้ ประกอบกับยังมีกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับผู้มีสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์พิพาทที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายการละเมิดสิทธิบัตรต้องยื่นฟ้องต่อศาลหลังจากที่ได้มีการออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรแล้ว
การฟ้องเรียกค่าเสียหายการละเมิดสิทธิบัตรต้องยื่นฟ้องต่อศาลหลังจากที่ได้มีการออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคุ้มครองชั่วคราวเพิกถอนสิทธิบัตร: ศาลไม่อนุญาตหากกระทบสิทธิผู้ทรงสิทธิบัตรและเป็นบุคคลภายนอกคดี
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ผานจานสำหรับรถไถนาที่จำเลยออกให้บริษัท ด. และโจทก์ทั้งสี่ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่ผลิตและจัดจำหน่ายผานจานโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ด ดังนี้ การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์เนื่องจากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างพิจารณาคดี แต่ตามคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ผู้ที่ทำให้โจทก์เดือนร้อนคือบริษัท ด. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์ทั้งสี่ให้กระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกและไม่มีโอกาสต่อสู้คดีหาได้ไม่ ส่วนที่โจทก์ทั้งสี่อ้างว่าเป็นเพราะจำเลยออกสิทธิบัตรให้บริษัท ด. เป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวอ้างสิทธิจากสิทธิบัตรมาออกหนังสือห้ามโจทก์ทั้งสี่นั้น การที่จำเลยออกสิทธิบัตรเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งสี่มิได้อ้างว่าจำเลยร่วมกับบริษัท ด. ออกหนังสือห้ามโจทก์ซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด และในเบื้องต้นบริษัท ด. เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้ ขาย เสนอขาย ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 63 ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรไม่ได้ คำร้องของโจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายที่โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำร้องโจทก์ทั้งสี่โดยมิได้ไต่สวนนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวต้องมีเหตุจากการกระทำของจำเลยโดยตรง ไม่ใช่บุคคลภายนอก และต้องเคารพสิทธิผู้ทรงสิทธิบัตร
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองโจทก์เนื่องจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างการพิจารณาคดี แต่ผู้ที่ทำให้โจทก์เดือดร้อนคือ บริษัท ด. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่จำเลย ศาลจึงมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของโจทก์ให้กระทบกระเทือนถึงบริษัท ด. หาได้ไม่ การที่จำเลยออกสิทธิบัตรให้บริษัท ด. เป็นเหตุให้บริษัท ด. อ้างสิทธิจากสิทธิบัตรมาออกหนังสือบังคับมิให้โจทก์ทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาออกสิทธิบัตร ทั้งจำเลยไม่ได้ร่วมกับบริษัท ด. ออกหนังสือห้ามมิให้โจทก์ทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร ส่วนการที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ทำการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรได้โดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ด. ศาลก็มิอาจสั่งได้เพราะตราบใดที่ยังมิได้มีการเพิกถอนสิทธิบัตร บริษัท ด. ย่อมมีสิทธิห้ามมิให้บุคคลอื่นทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรได้ ศาลจะอนุญาตให้โจทก์กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรไม่ได้ โจทก์จึงไม่อาจขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอสิทธิบัตร: การคุ้มครองทั้งกรรมวิธีและผลิตภัณฑ์ภายใต้กฎหมายและอนุสัญญา TRIPs
เมื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ แล้ว ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ย่อมอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้หากการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่เป็นการเพิ่มเติมสาระสำคัญของการประดิษฐ์ โดยขอก่อนวันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร และหากการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้กระทำหลังจากมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แล้ว ย่อมอาจขออนุญาตต่ออธิบดีในการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นได้ ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2522) ข้อ 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอที่อ้างว่าเป็นคำขอแก้ไขเพิ่มเติม และหากอธิบดีไม่อนุญาต คำสั่งของอธิบดีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้น และผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ย่อมนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 คดีนี้โจทก์อ้างว่าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไว้ แต่โจทก์ไม่นำคดีมาฟ้องต่อศาลกลับเลือกดำเนินการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฉบับใหม่ ซึ่งมีข้อถือสิทธิที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากตามคำขอรับสิทธิบัตรฉบับเดิม โจทก์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยขอถือสิทธิในกรรมวิธีสำหรับเตรียมเกลือเบสซิลเลทของแอมโลไดปีน ส่วนคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่ เป็นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่ขอถือสิทธิในผลิตภัณฑ์เกลือเบสซิลเลทของแอมโลไดปีน กระบวนการในการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่จึงต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทั้งหมด
บทบัญญัติข้อ 70 (7) ของความตกลงทริปส์เพียงแต่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องอนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่มีหน้าที่อนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองในการประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แต่เดิม แม้การประดิษฐ์ใหม่นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติใดๆ ของความตกลงทริปส์ก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าประเทศไทยจะมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามความตกลงทริปส์นับแต่เมื่อใดก็ตาม การที่ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 20 ไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญและมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2)ฯ ไม่ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรสามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงหาได้มีข้อความใดขัดหรือแย้งกับความตกลงทริปส์
บทบัญญัติข้อ 70 (7) ของความตกลงทริปส์เพียงแต่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องอนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่มีหน้าที่อนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองในการประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แต่เดิม แม้การประดิษฐ์ใหม่นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติใดๆ ของความตกลงทริปส์ก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าประเทศไทยจะมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามความตกลงทริปส์นับแต่เมื่อใดก็ตาม การที่ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 20 ไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญและมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2)ฯ ไม่ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรสามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงหาได้มีข้อความใดขัดหรือแย้งกับความตกลงทริปส์