คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้รับโอนตามคำพิพากษา vs สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดี: การเพิกถอนการยึดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาด
แม้โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีการขายทอดตลาด และต่อมาศาลอีกคดีหนึ่งได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยโอนทรัพย์ดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับจำเลยให้จดทะเบียนสิทธิเหนือทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และมีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการบังคับคดี: สิทธิของผู้รับโอนเมื่อผู้โอนดำเนินการในชั้นบังคับคดีโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาให้แก่ผู้ร้อง โดยโจทก์และผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาในคดีนี้จึงตกเป็นของผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับเงินตามคำพิพากษาจากจำเลยทั้งสาม การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยที่ 2 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับตามคำแถลงของโจทก์อันเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาทั้ง ๆ ที่โจทก์สิ้นสิทธิดังกล่าวไปแล้ว เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีนี้ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ จึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อน/หลังขอให้ล้มละลาย และสิทธิของผู้รับโอน รวมถึงการรอการวินิจฉัยคดีเมื่อมีเจ้าหนี้อื่นได้รับชำระหนี้แล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 116 นั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะยกเหตุตามบทมาตราดังกล่าวนี้ขึ้นกล่าวอ้างปฏิเสธว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้นั้น ก็แต่เฉพาะกรณีที่ได้รับโอนทรัพย์มาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 มิได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาก่อนวันดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะได้รับโอนมาจากจำเลยโดยตรงหรือได้รับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม สิทธิของผู้คัดค้านย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว
ส่วนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 7 ที่ขอให้ศาลฎีการอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อนเนื่องจากมีคำขอให้ยกเลิกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความเห็นของผู้ร้องให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แล้วนั้นแต่เมื่อปรากฏว่ายังมีเจ้าหนี้คือโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอและคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องรอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นแบบมีเงื่อนไข: เจตนาคู่สัญญา, แบบตามกฎหมาย, สิทธิผู้รับโอน, การซื้อขายหุ้น
หุ้นพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นทั้งหมดที่จำเลยได้ลงชื่อในแบบโอนลอยให้แก่ธ. ไปหากธ. ประสงค์ต้องการมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นก็จะต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้รับโอนแล้วไปแก้ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นตามระเบียบได้และถ้าธ. ไม่ต้องการมีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นธ. สามารถโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นต่อไปได้เมื่อปรากฏต่อมาอีกว่าธ. ได้แบ่งโอนหุ้นบางส่วนให้แก่บุตรสาวคนหนึ่งซึ่งได้ดำเนินการเปลี่ยนและโอนใบหุ้นเป็นชื่อของตนแล้วจึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นชัดว่าการโอนหุ้นระหว่างจำเลยและธ. แบบโอนลอยนั้นคู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่าหากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็จะต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องต่อไปแต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาดก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติต่อไปได้กล่าวโดยชัดแจ้งคือเป็นการแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดโดยฝ่ายจำเลยผู้โอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนฝ่ายตนแล้วมอบให้ฝ่ายผู้รับโอนไปเลือกปฏิบัติภายหลังให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไปโดยลำพังได้การโอนลอยหุ้นให้แก่ธ. จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนแล้วเป็นขั้นตอนแรกเท่านั้นยังมิได้เป็นขั้นตอนการโอนที่เสร็จเด็ดขาดและความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองที่บัญญัติว่าการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนมีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้นเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้นหาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้นจึงมิอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน สิทธิของผู้รับโอน และข้อยกเว้นการฟ้องบุพการี
ฎีกาจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาจำเลยทั้งสองว่า จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตมีค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง การที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในนามของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
ป.พ.พ. มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตน จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด ดังนั้น แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว จึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักค่าวัสดุค้างชำระ: สิทธิของผู้รับโอนจำกัดตามข้อตกลง
ตามข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยินยอมให้โอนสิทธิเรียกร้องที่ร. จะได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้รับโดยมีเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างให้ต่อเมื่อจำเลยได้หักค่าวัสดุที่ร.ค้างชำระอยู่กับจำเลยเรียบร้อยแล้วย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าวไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308วรรคหนึ่งแล้วสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่ร.มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องประกอบกับสัญญาว่าจ้างที่ตนมีต่อร. ซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินบรรดาค่าวัสดุที่ค้างชำระอยู่กับจำเลยได้โดยไม่จำกัดว่าค่าวัสดุที่ค้างจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อจำเลยได้คำนวณค่าวัสดุที่ร. ค้างชำระเสร็จสิ้นก่อนที่จะจ่ายเงินค่าจ้างจำเลยย่อมนำไปหักออกจากค่าจ้างคงชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอน น.ส.3 ทับที่ดินเดิม สิทธิของผู้รับโอนย่อมไม่เกินสิทธิของผู้โอน
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 การที่ ส. และ ศ.บุตรจำเลยขอออก น.ส.3 สำหรับที่ดินของตนซึ่งมีเขตติดต่อกับที่พิพาทในภายหลังทับที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่พิพาทแต่ประการใด ผู้ร้องซึ่งรับโอนที่พิพาทตาม น.ส.3 จาก ส. และ ศ. จึงไม่มีสิทธิในที่พิพาทยิ่งไปกว่าผู้โอน ผู้ร้องจะมาใช้สิทธิร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิของผู้รับโอนในการถอนอายัดเงิน
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงพยาบาลกับกระทรวงสาธารณสุขแล้วทำสัญญากับธนาคารผู้ร้องโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาทั้งหมดที่จะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 9 ล้านบาทเศษให้แก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้อง 3 ล้านบาท ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิในเงินดังกล่าว เพราะสิทธิเรียกร้องนั้นย่อมโอนให้แก่กันได้ และกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องมีค่าตอบแทนแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าหนี้สินที่จำเลยมีต่อผู้ร้องจะมากหรือน้อยกว่าสิทธิเรียกร้องที่มี ต่อกระทรวงสาธารณสุข เมื่อจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องโดยชอบ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิ
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดีหลังคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ไม่อาจยึดทรัพย์ได้ หากกระทบสิทธิผู้รับโอน
ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดให้จำเลยโอนขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมี น.ส. 3 ให้ผู้ร้องแล้ว แม้จำเลยจะยังครอบครองที่พิพาทอยู่และยังไม่ได้แก้ทะเบียนโอนให้แก่ผู้ร้อง โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เงินกู้และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมก็ไม่อาจบังคับคดียึดที่ดินพิพาทอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 เพราะผู้ร้องอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาได้อยู่ก่อนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 และโจทก์ไม่อาจอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้นมาลบล้างสิทธิของผู้ร้องเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเสียก่อนมาร้องขอให้ปล่อยที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียน การคุ้มครองสิทธิผู้รับโอนจากการครอบครองก่อนหน้า
ซื้อที่ดินมีโฉนด ทำนิติกรรมซื้อขายต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เมื่อชำระเงินค่าซื้อเรียบร้อยแล้วก็ได้จดทะเบียนโอนโฉนดกันตามระเบียบโดยถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการกระทำโดยเปิดเผยและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต แม้จำเลยจะได้ครอบครองที่ดินในโฉนดบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่กรรมสิทธิ์ดังกล่าวนี้กฎหมายยังไม่รับรองเด็ดขาดจนกว่าจะได้จดทะเบียนสิทธินั้นแล้ว กรรมสิทธิ์อันยังมิได้จดทะเบียนจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับโอนโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 ซึ่งเป็นบทยกเว้นหลักกฎหมายทั่วไปว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
การแจ้งการครอบครองที่ดินตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งประการใด การแจ้งการครอบครองที่ดินนั้นเป็นเพียงการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งว่า ผู้แจ้งการครอบครองยังไม่สละสิทธิครอบครองที่ดินที่แจ้ง ถ้าผู้ครอบครองไม่แจ้งการครอบครองในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้ถือว่าสละสิทธิครอบครองที่ดินแปลงนั้น
of 2