พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินของผู้เช่า: สิทธิของผู้เช่าเมื่อเจ้าของขายทรัพย์สินระหว่างสัญญาเช่า
ที่ดินพร้อมตึกแถวเป็นของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวกับอ. ในระหว่างอายุสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินและตึกแถวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถว แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. เป็นผู้ทำสัญญาเช่าแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้ อ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์และโจทก์ไม่ได้ให้การตั้งประเด็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ไว้ โจทก์จึงไม่สามารถนำสืบว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. ทำสัญญาเช่าแทนตน ฉะนั้นจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวชอบที่จะขายทรัพย์สินดังกล่าวได้เมื่อโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและตึกแถวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิทธิ: การปรับปรุงสถานที่เช่าโดยไม่ยินยอมผู้เช่าถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟนครราชสีมาระหว่างโจทก์กับการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ตกลงว่า โจทก์จะรักษาที่เช่าให้คงอยู่ในสภาพเรียบร้อยและจะรักษาความสะอาดโดยกวดขัน โจทก์จะไม่ปลูกขึ้นใหม่ หรือปลูกสร้างต่อเติมส่วนหนึ่งส่วนใดขึ้นในสถานที่เช่า โจทก์ต้องยอมให้จำเลย หรือพนักงานจำเลยเข้าตรวจสถานที่เช่าได้ทุกเมื่อ จะไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงมิใช่สัญญาที่ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์ในบริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมาเท่านั้น หากแต่ยังให้สิทธิโจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครองส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีรถไฟอีกด้วยโดยถือเป็นสถานที่เช่าตามสัญญาเช่าสิทธิ ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ ดังนั้น จำเลยจะเข้าปรับปรุงอาคารส่วนที่เป็นร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ความเสียหายต้องเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ระงับในการที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนำพื้นที่จอดรถในชั้นที่ 1 ซึ่งผู้ร้องเช่าจากลูกหนี้มีกำหนด 20 ปี ไปให้ผู้อื่นเช่า และหากมีการทำสัญญาเช่าไปแล้ว ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า แต่ตามคำร้องของ ผู้ร้องปรากฏเพียงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้ มีมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำพื้นที่ลานจอดรถ ชั้นที่ 1 ของอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ ออกให้บุคคลภายนอกเช่าเพื่อหาผลประโยชน์เข้ากองทรัพย์สิน ของลูกหนี้เท่านั้น แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการอย่างใดตามมติของที่ประชุม เจ้าหนี้ และยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้อง ไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ตามคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนนาแปลงที่ขายฝ่าฝืน พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ราคาซื้อตามราคาตลาดหรือราคาซื้อเดิม
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 คชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การที่ช. ให้จำเลยที่ 2มีกรรมสิทธิ์รวมในนาพิพาทโดยมีค่าตอบแทนเป็นการชำระหนี้เงินยืมอย่างอื่นแทนเงิน ไม่เป็นการซื้อขายนาพิพาทโจทก์ได้ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดตั้งแต่วันที่21 พฤษภาคม 2535 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57 วรรคหนึ่งบัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2535 แต่วันที่ 20 มิถุนายน 2535 เป็นวันเสาร์ ศาลหยุดทำการดังนั้นโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2535ซึ่งเป็นวันจันทร์ศาลเปิดทำการวันแรกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 30 วัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ฟ้องจะระบุข้อความซึ่งหมายความว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง เมื่ออ่านรวมกันแล้วย่อมเข้าใจได้ดีแล้วว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2อีกฐานะหนึ่งด้วย หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อความในช่องคู่ความ เฉพาะโจทก์ที่ 2เป็นว่า "พ.โดยผ. ผู้รับมอบอำนาจที่ 2"และศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องแก้ฟ้องในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเคลือบคลุมโดยตัดข้อความว่า "แสดงเจตนาลวงโดยสมยอม ซึ่งความจริงเป็นเรื่องซื้อขายกัน" ออก แล้วเพิ่มข้อความ"ทำนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพราะเจตนาจริง ๆเป็นเรื่องซื้อขาย หาใช่เป็นเรื่องให้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่"แทน และตัดข้อความ "ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎหมาย" ออก แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับสำเนาคำร้องก่อนตามมาตรา 181 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อีกทั้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็วินิจฉัยจากข้อความที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไข จำเลยที่ 1 และที่ 2ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ การแก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว คำฟ้องและข้อที่แก้ไขคำฟ้องเมื่อเข้าใจได้ว่า ฟ้องข้อ 4โจทก์ทั้งสองอ้างว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายส่วนฟ้องข้อ 5เป็นเรื่องที่ช. กับจำเลยที่ 2 แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าไม่มีการเช่านา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองเช่าอยู่ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย คำฟ้องจึงมิได้มีข้อความขัดกันฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพ แห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาแล้ว มิได้เป็นฟ้องเคลือบคลุม คชก. ประจำจังหวัดนนทบุรี จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ใช่นิติบุคคลแต่โจทก์ทั้งสองก็ได้แก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3ประกอบด้วย ท.ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีเป็นประธานกรรมการ ส.อัยการจังหวัดนนทบุรีพ.เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ป. แทนเกษตรจังหวัดนนทบุรีส.ประมงจังหวัดนนทบุรีพ.ปศุสัตว์ จังหวัดนนทบุรีผู้แทนผู้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สว.สจ. บก.และสม. กับผู้แทนผู้ให้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือสส.พจ.สน.และผอ.โดยมีสต.จ่าจังหวัดนนทบุรีเป็นกรรมการและเลขานุการ แม้จะมิได้ระบุรายชื่อคณะกรรมการแต่ละคนในช่องคู่ความตามฟ้องโจทก์ทั้งสองก็พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่ไม่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โจทก์ทั้งสองจึงต้องฟ้องคชก.จังหวัดนนทบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดนนทบุรีได้มี โอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 พยานโจทก์เบิกความว่า เอกสารหมาย จ.6เป็นการซื้อขายนาพิพาทโดยเป็นวิธีการจดทะเบียนขายที่ดิน บางส่วน ที่ตอนท้ายของข้อ 3 ในเอกสารดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายได้ที่ดินมาอย่างไรและผู้ซื้อจะนำนาพิพาทไปทำอะไรนั้น ก็ได้ความมาจากการสอบถามผู้รับมอบอำนาจของ ช. และจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าก่อนที่จะให้บุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อในเอกสารได้สอบถามถึงการชำระเงินตามที่ระบุในเอกสารแล้วทั้งสองคนตอบว่าชำระกันเรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบถึงความหมายของเอกสารหมาย จ.6ไม่ใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบได้ สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วันตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นสิทธิในการฟ้องคดีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องใช้สิทธิดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งจะมีอายุความไม่ดังนั้น สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ฟ้องว่า ช. ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2โอนขายนาพิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงช. ซึ่งเป็นผู้ขายด้วย อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่างช. กับจำเลยที่ 2 ดังนั้นนิติกรรมระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 จึงยังมีผลสมบูรณ์โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับช. ตามฟ้องได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของช. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในข้อ 2 ว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการขายนาพิพาท แต่เป็นเสมือนการให้โดยเสน่หาตอบแทนความดีของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อ ช. ตลอดมาและให้การในข้อ 3 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลละหารที่ให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ในราคา 1,100,000 บาทว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากโจทก์ทั้งสองจะบังคับซื้อคืนจะต้องซื้อตามราคาตลาดในขณะนั้นคือไร่ละ 1,500,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การในข้อ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสองว่า ช. มิได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ส่วนคำให้การในข้อ 3 เป็นเรื่อง ราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อนั้น ก็เป็นการปฏิเสธราคานาพิพาทที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยบังคับให้จำเลยที่ 2ขายนาพิพาทคืนให้โจทก์ทั้งสองว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกต้องเพราะตามกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นคือ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่ คชก.ตำบลเชื่อว่า ช. ขายให้จำเลยที่ 2ดังนั้น ราคานาพิพาทกับเรื่องที่ ช. ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันเพราะเป็นการปฏิเสธตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงยกขึ้นต่อสู้ได้โดยไม่จำต้องรับว่า ช.ได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อน คำให้การของจำเลย ที่ 1 และที่ 2 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาขัดแย้งกันไม่ พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนองจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธี การชำระเงินที่ได้แจ้งไว้" และมาตรา 54 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวหมายความว่า เมื่อ ช. ผู้ให้เช่านาไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดก็ตาม โจทก์ทั้งสองผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาพิพาท จากจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนตามมาตรา 54 แต่จะต้องซื้อนาพิพาท คืนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือ ตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน หาใช่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้าน และไม่อาจยกมาตรา 54 ขึ้นอ้าง ดังนั้น ศาลชอบ ที่จะให้โจทก์ทั้งสองซื้อนาพิพาทคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การเกี่ยวกับราคาตลาดของ นาพิพาทว่ามีราคา 30,000,000 บาท เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54เพื่อปฏิเสธราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อคืนว่าโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อในราคาตลาดในขณะนั้น เพราะเป็นราคาที่สูงกว่าจำนวนเงิน 30,000,000 บาทนี้ มิได้ เป็นทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จำต้องฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าในสัญญาต่างตอบแทนเมื่อมีการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้เช่ามีจำกัดเฉพาะตามสัญญา
แม้ผู้ร้องมีสัญญาต่างตอบแทนการเช่าที่ดินของจำเลยที่ 2เพื่อปลูกสร้างตึกแถวและอาคารลงในที่ดินดังกล่าวแล้วยกสิ่งปลูกสร้างให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2เมื่อครบอายุสัญญาเช่า 30 ปี ก็เป็นแต่เพียงสิทธิตามสัญญาเช่าอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนเท่านั้น การยึดที่ดินดังกล่าวเพื่อขายทอดตลาดหาได้กระทบต่อสิทธิของผู้ร้องไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรก่อนการซื้อขาย: คุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ มาตรา 53-54
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินนาจากจำเลยและวางเงินมัดจำไว้โดยโจทก์ทราบอยู่แล้วว่ามีผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อผู้เช่านาทราบว่าจำเลยจะขายที่ดินพิพาท จึงแสดงความจำนงจะซื้อที่ดินพิพาทเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก. ตำบล และทำเรื่องคัดค้านขอเช่าและซื้อที่ดินต่อทางอำเภอ จำเลยเพียงแต่แจ้งแก่ผู้เช่านาว่าจะขายที่ดินพิพาท มิได้ทำเป็นหนังสือดังนี้ ผู้เช่านาย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 มาตรา 53 โดยมีสิทธิจะซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์ การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามกำหนดเวลาให้โจทก์ ก็เนื่องจากผู้เช่านาจะขอซื้อที่ดินพิพาท โดยดำเนินการถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 53 ทุกประการและโจทก์รู้ดีว่าที่ดินพิพาทมีผู้เช่าทำนา หากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปเพราะเหตุมิได้ปฏิบัติตามมาตารา 53 ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ได้ตามมาตรา 54 และในกรณีกลับกัน หากจำเลยแจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 53 ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์เช่นกัน การกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ก็มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรตาม พรบ.เช่าที่ดินฯ เหนือกว่าสิทธิผู้ซื้อที่ดินเมื่อผู้ขายแจ้งความจำนงขาย
โจทก์ทราบแล้วว่ามีผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาในขณะทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยแม้สัญญาดังกล่าวจะมีข้อตกลงให้จำเลยจัดการให้ผู้เช่านาออกจากที่ดินพิพาทให้เรียบร้อยก่อนวันโอนกรรมสิทธิ์แต่เมื่อจำเลยแจ้งแก่ผู้เช่าที่ดินพิพาทว่าจะขายที่ดินพิพาทผู้เช่าที่ดินก็แสดงความจำนงจะขอซื้อที่ดินพิพาทย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา53โดยมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามกำหนดเวลาให้โจทก์จึงไม่เป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์แต่เมื่อโจทก์เองก็มิได้ผิดสัญญาด้วยจำเลยจึงต้องคืนมัดจำให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรกรรมในการซื้อที่ดินก่อน กรณีเจ้าของที่ดินจะขาย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินนาจากจำเลยและวางเงินมัดจำไว้โดยโจทก์ทราบอยู่แล้วว่ามีผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อผู้เช่านาทราบว่าจำเลยจะขายที่ดินพิพาทจึงแสดงความจำนงจะซื้อที่ดินพิพาทเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคชก.ตำบลและทำเรื่องคัดค้านขอเช่าและซื้อที่ดินต่อทางอำเภอจำเลยเพียงแต่แจ้งแก่ผู้เช่านาว่าจะขายที่ดินพิพาทมิได้ทำเป็นหนังสือดังนี้ผู้เช่านาย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา53โดยมีสิทธิจะซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามกำหนดเวลาให้โจทก์ก็เนื่องจากผู้เช่านาจะขอซื้อที่ดินพิพาทโดยดำเนินการถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา53ทุกประการและโจทก์รู้ดีว่าที่ดินพิพาทมีผู้เช่าทำนาหากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปเพราะเหตุมิได้ปฏิบัติตามมาตรา53ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ได้ตามมาตรา54และในกรณีกลับกันหากจำเลยแจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา53ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์เช่นกันการกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์โจทก์ก็มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่อย่างใดจำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าช่วงตามสัญญาหลัก: อายุสัญญาเช่าต้องสอดคล้องกับสิทธิที่ผู้ให้เช่าช่วงมี
ตามสัญญาก่อสร้างอาคารให้สิทธิแก่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าได้มีกำหนดเวลา 20 ปี นับแต่วันลงนามในสัญญาคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2513ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงต่อมาย่อมมีสิทธิการเช่าตามที่ระบุในสัญญาดังกล่าว จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าได้เพียงเท่าระยะเวลาการเช่าที่ตนมีสิทธิและตามสัญญาจองอาคารระหว่างโจทก์จำเลยได้เท้าความถึงเรื่องที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทขึ้นบนที่ดินราชพัสดุโดยโจทก์ได้สิทธิเช่าช่วงมาจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ดังนี้ ตามสัญญาจองอาคารที่ระบุให้มีอายุการเช่า 20 ปี จึงย่อมเป็นที่เข้าใจระหว่างคู่สัญญาแล้วว่า หมายถึงอายุการเช่า 20 ปี ตามที่โจทก์มีสิทธิตามสัญญาก่อสร้างอาคาร หากให้เริ่มนับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่มีการทำสัญญาเช่ากันในภายหลังจะทำให้มีอายุการเช่ามากกว่า 20 ปี เกินกว่าสิทธิที่โจทก์ให้เช่าช่วงได้ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ขณะทำสัญญาจองอาคารโจทก์ยังไม่ได้รับสิทธิการเช่าต่ออีก 5 ปี เพิ่งได้รับสิทธิดังกล่าวในภายหลังเพราะเกิดมีกรณีพิพาทระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำให้การก่อสร้างล่าช้า วัสดุก่อสร้างเสียหายเพื่อชดเชยความเสียหายนี้กระทรวงการคลังจึงได้ขยายระยะเวลาการเช่าออกไปให้อีก 5 ปี ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำเลย จึงถือว่าอายุการเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยที่กระทำกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจองอาคารสิ้นสุดลงเพียงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533จำเลยจึงบังคับให้โจทก์ทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยมีอายุ 20 ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่ามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังปฏิรูปที่ดิน: สิทธิของผู้เช่าและผลกระทบของนิติกรรม
ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518มาตรา 32 กำหนดไว้ชัดว่า เมื่อสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจัดซื้อที่ดินแล้ว สิทธิของผู้เช่าที่ดินตามสัญญาเช่าหรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเช่านาต้องสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นผลของกฎหมาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงผู้เช่าจะเป็นใครหรือเช่าอยู่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านาหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 และ ท.ผู้ตายบุตรของจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ก็ถือว่าสัญญาเช่าที่ดินที่มีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 และ ท.กับจำเลยที่ 3 ได้สิ้นสุดลง จำเลยที่ 1และ ท.ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 ผู้เช่าซื้อที่ดินก่อน หรือและไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องทราบก่อนว่าจะมีการซื้อขายที่ดินกันหรือไม่ ส่วน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 เป็นกฎหมายที่บัญญัติสืบเนื่องมาจากพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 ซึ่งถูกยกเลิกไป เหตุที่ต้องแก้ไขยกเลิกก็เพราะ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มีรายละเอียดไม่เหมาะสมและแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หาได้แก้ไขให้มีผลกระทบถึงพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ไม่ ผู้เช่าย่อมอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิรูปตามมาตรา 32 นี้ด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มายันโจทก์ผู้จะซื้อได้ และจำเลยที่ 2ผู้รับมรดกของ ท.ซึ่งต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อขายด้วย จึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย และเมื่อจำเลยที่ 2 ได้ยกที่ดินดังกล่าวอันเป็นมรดกของ ท.ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 237,238 ซึ่งศาลจะมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมตามฟ้องโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทั้งไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ให้กับจำเลยที่ 1 ผู้รับให้ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ประกอบด้วยมาตรา 238 และโจทก์ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ก็ตาม แต่เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาจึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 237,238 ซึ่งศาลจะมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมตามฟ้องโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทั้งไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ให้กับจำเลยที่ 1 ผู้รับให้ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ประกอบด้วยมาตรา 238 และโจทก์ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ก็ตาม แต่เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาจึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้