คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน: ขอบเขตการคุ้มครองเฉพาะกรรมการสหภาพฯ และลูกจ้างสมาชิกเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็น กรรมการลูกจ้างและเป็นประธานสหภาพแรงงาน พ. ลาหยุดงานเพื่อไปแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานให้แก่ลูกจ้างของบริษัท ม. โดยลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวมิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน พ. ด้วยนั้นมิใช่เป็นการลาไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานตามกฎหมายแต่เป็นการลากิจทั่วไปเมื่อผู้คัดค้านมิได้ลาหรือมิได้รับอนุญาตให้ลาจากผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและได้หยุดงานเป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรผู้ร้องจึงมีสิทธิ เลิกจ้างผู้คัดค้านได้โดยชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5297/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาเพื่อร่วมกิจกรรมสหภาพแรงงาน: ขอบเขตการลาเพื่อร่วมประชุมที่ทางราชการกำหนด
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 102 เป็นการให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน และไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นและต้องเป็นสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างดังกล่าวสังกัดอยู่เท่านั้น มิใช่สหภาพแรงงานใดก็ได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด มิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่อง หากกฎหมายประสงค์จะให้สิทธิลูกจ้างไปประชุมในเรื่องอื่นก็จะต้องบัญญัติไว้ ดังนั้น การที่ ส.ไปร่วมประชุมในฐานะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวกับกรณีลูกจ้างบริษัท ว.ยื่นคำร้องกล่าวหาว่าถูกนายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรม ซึ่งไม่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานโจทก์ที่ส.สังกัดอยู่ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการเป็นส่วนตัว หาใช่เป็นการร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดไม่ จึงไม่ก่อให้ ส.เกิดสิทธิลาไปร่วมประชุมตามนัยมาตรา 102 จึงถือไม่ได้ว่าวันที่ ส.ลาไปร่วมประชุมคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกรณีข้างต้นรวม 8 วัน เป็นวันทำงาน เมื่อ ส.เป็นลูกจ้างรายวันและไม่ได้ทำงานในวันดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันลาทั้ง 8 วันนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5297/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาเพื่อร่วมประชุมของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานที่ตนสังกัดเท่านั้น
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา102ให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานและไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้หมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นและต้องเป็นสภาพแรงงานที่ลูกจ้างดังกล่าวสังกัดอยู่เท่านั้นมิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่องโดยไม่มีขอบเขตจำกัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5297/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาเพื่อประชุมสหภาพแรงงาน: ต้องเกี่ยวเนื่องกับสหภาพแรงงานที่สังกัดเท่านั้น
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา102เป็นการให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานและไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นและต้องเป็นสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างดังกล่าวสังกัดอยู่เท่านั้นมิใช่สหภาพแรงงานใดก็ได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัดมิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่องหากกฎหมายประสงค์จะให้สิทธิลูกจ้างไปประชุมในเรื่องอื่นก็จะต้องบัญญัติไว้ดังนั้นการที่ส. ไปร่วมประชุมในฐานะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวกับกรณีลูกจ้างบริษัทว.ยื่นคำร้องกล่าวหาว่าถูกนายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมซึ่งไม่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานโจทก์ที่ส. สังกัดอยู่ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการเป็นส่วนตัวหาใช่เป็นการร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดไม่จึงไม่ก่อให้ส.เกิดสิทธิลาไปร่วมประชุมตามนัยมาตรา102จึงถือไม่ได้ว่าวันที่ส. ลาไปร่วมประชุมคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกรณีข้างต้นรวม8วันเป็นวันทำงานเมื่อส. เป็นลูกจ้างรายวันและไม่ได้ทำงานในวันดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันลาทั้ง8วันนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4700/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวข้องกับกิจการสหภาพฯ โดยตรง การลาเพื่อกิจกรรมอื่นไม่อาจอ้างสิทธิได้
มาตรา102พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นเท่านั้นส่วนการประชุมที่เป็นเพียงกิจกรรมที่ผู้คัดค้านอาจเลือกไปร่วมหรือไม่ก็ได้ผู้ร้องมีสิทธิไม่อนุมัติเมื่อผู้คัดค้านไม่ได้รับอนุมัติใบลาแต่หยุดงานไปถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของผู้ร้องและละทิ้งหน้าที่อีกทั้งก่อนหน้านั้นผู้คัดค้านเคยถูกผู้ร้องเตือนเป็นหนังสือในการลางานลักษณะเดียวกันมาก่อนแสดงว่าผู้ร้องไม่อาจปกครองดูแลผู้คัดค้านในการทำงานตามหน้าที่ได้สมความมุ่งหมายพฤติการณ์ดังกล่าวมีเหตุให้เลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงาน: การแจ้งล่วงหน้าเพียงพอ นายจ้างไม่ต้องอนุมัติ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลาของผู้ร้องและมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่บัญญัติไว้ใจความว่า "ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา... และมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ให้ลูกจ้างดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามี และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน" มีความหมายว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นยกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้โดยลูกจ้างเพียงแต่แจ้งพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุการลา และไม่จำต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อน เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นเหรัญญิกของสหภาพแรงงานได้รับเชิญในตำแหน่งเหรัญญิกของสหภาพแรงงานให้ไปประชุมของส่วนราชการ และสหภาพแรงงานได้แจ้งการลาให้ผู้ร้องทราบแล้ว แม้ผู้ร้องมิได้อนุมัติก่อน ก็ถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของผู้ร้องและชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงาน: การแจ้งล่วงหน้าเพียงพอโดยไม่ต้องรออนุมัติ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลาของผู้ร้อง และมาตรา 102แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่บัญญัติใจความทำนองเดียวกันว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาและมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ให้ลูกจ้างดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามี และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงานมีความหมายว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ โดยลูกจ้างเพียงแต่แจ้งพร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุการลาและไม่จำต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อน เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นเหรัญญิกของสหภาพแรงงาน ได้รับเชิญในตำแหน่งเหรัญญิกของสหภาพแรงงานให้ไปประชุมของส่วนราชการ และสหภาพแรงงานได้แจ้งการลาให้ผู้ร้องทราบแล้ว แม้ผู้ร้องมิได้อนุมัติก่อน ก็ถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของผู้ร้องและชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงาน: การแจ้งล่วงหน้าเพียงพอโดยไม่ต้องรออนุมัติจากนายจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลาของผู้ร้อง และมาตรา 102 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่บัญญัติไว้ใจความว่า "ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการ สหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา... และมีสิทธิลา เพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ให้ลูกจ้าง ดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามีและให้ถือว่าวันลาของ ลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน" มีความหมายว่า ลูกจ้าง ซึ่งเป็นกรรมการ สหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ โดยลูกจ้างเพียงแต่แจ้งพร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้าง ทราบล่วงหน้าถึงเหตุการลา และไม่จำต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อนเมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นเหรัญญิกของสหภาพแรงงาน ได้รับเชิญ ในตำแหน่งเหรัญญิกของสหภาพแรงงานให้ไปประชุมของส่วนราชการและสหภาพแรงงานได้แจ้งการลาให้ผู้ร้องทราบแล้ว แม้ผู้ร้องมิได้อนุมัติก่อนก็ถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของผู้ร้องและชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาป่วย ลากิจ และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การตีความข้อบังคับของบริษัท
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้พนักงานประจำรายวันมีสิทธิลาป่วยในปีหนึ่งได้ไม่เกิน 30 วัน พนักงานประจำรายวันที่เป็นหญิงมีสิทธิลาป่วยเกี่ยวกับการคลอดบุตรได้ไม่เกิน 45 วัน หรือพนักงานประจำรายวันมีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ไม่เกิน 20 วันนั้นเป็นกรณีที่แบ่งแยกสิทธิในการลาหยุดงานแต่ละประเภทไว้ต่างหากจากกัน โดยลูกจ้างมีสิทธิลาหยุดงานในแต่ละประเภทได้ไม่เกินจำนวนที่กำหนดมิได้หมายความว่าลูกจ้างจะมีสิทธิลาหยุดงานผิดประเภทได้หรือลาหยุดงานประเภทใดเป็นเวลานานมากน้อยเท่าใดก็ได้เพียงแต่วันลาต้องไม่เกินยอดรวมของวันลาตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ลาป่วยเกินกำหนด โดยจำเลยได้บอกกล่าวตักเตือนเป็นหนังสือล่วงหน้าก่อนแล้วว่า หากโจทก์ลาป่วยเกินกำหนดอาจถูกพิจารณาเลิกจ้างนั้น เป็นคำสั่งที่มีเหตุสมควร และมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาป่วย กรณีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ และการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้. จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.
of 2