พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินตราต่างประเทศ: สิทธิลูกหนี้เลือกชำระเงินไทยหรือเงินตราต่างประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาชำระ
กรณีที่หนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้เป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกว่าจะชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทย ศาลไม่มีอำนาจไปบังคับหรือเลือกแทนลูกหนี้ในการชำระหนี้ เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เป็นหนี้เงินตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ลูกหนี้จึงอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้ โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ทั้งการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 98 ที่ให้ต้องคิดหนี้เป็นเงินตราไทย แต่เป็นการขอรับชำระหนี้เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ซึ่งต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 อันเป็นกฎหมายส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งมาตรา 90/26 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 98 มาใช้บังคับ ส่วนกรณีตามมาตรา 90/31 ที่ว่า ถ้าหนี้ได้กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศให้คิดเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประจำวันของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั้น เป็นกรณีที่มีการประชุมเจ้าหนี้และเจ้าหนี้เงินตราต่างประเทศนั้นเข้าประชุมเพื่อประโยชน์ในการคำนวณหนี้ที่ใช้ในการออกเสียงลงคะแนน จึงให้คำนวณหนี้เงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย กรณีเจ้าหนี้รายนี้ไม่มีประเด็นปัญหาการเข้าประชุมเจ้าหนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะไปสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องคำนวณยอดหนี้จากเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม เจ้าหนี้ร่วม ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายใดก็ได้ตามกฎหมาย
เมื่อสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่า จำเลย "ผู้ว่าจ้าง" ตกลงจ้างโจทก์และจำเลยร่วม"ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารในราคา 10,700,000 บาท ตกลงชำระเงินล่วงหน้าร้อยละ 20 แก่ "ผู้รับจ้าง" เมื่อลงนามในสัญญา ค่าจ้างส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวดถือได้ว่าสัญญาจ้างดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารโดยมิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้ระบุว่าจะชำระให้แก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใด คงชำระรวมกันไป แม้จำเลยจะชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ให้โจทก์และจำเลยร่วมคนละครึ่งของค่าจ้างแต่ละงวดก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกแก่โจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้น โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" และเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้างอยู่เช่นเดิมจำเลยในฐานะลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 ดังนั้นเมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 ให้แก่จำเลยร่วมแล้ว จึงเป็นการชำระหนี้โดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 จากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ร่วม: สิทธิลูกหนี้ในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่าสัญญาจ้างฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง" ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยร่วมและโจทก์ซึ่งสองบริษัทต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้รับจ้าง" อีกฝ่ายหนึ่ง ข้อความในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นอย่างเดียวกันคือ "ผู้รับจ้าง" เพราะงานที่จะกระทำต่อไปคืองานก่อสร้างอาคารที่มิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างที่จำเลยจะชำระก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้กำหนดว่าจะชำระแก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใดอีกด้วย คงชำระรวมกันไป แม้ในตอนแรกจะแบ่งชำระให้คนละครึ่งของแต่ละงวด ก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกของโจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้นหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงฐานะไปไม่ โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ: สิทธิลูกหนี้เลือกชำระเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยน
ปัญหาว่าโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และตั๋วเครื่องบินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ มิได้ขอให้จำเลยชำระเป็นเงินตราไทย ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว เป็นเงินตราไทยหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายที่จำเลยไม่สามารถยกขึ้นกล่าวในศาลแรงงานกลาง จำเลยจึงยกขึ้นกล่าว ในชั้นอุทธรณ์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และตั๋วเครื่องบินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ และตามสัญญาจ้างระบุการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ จำเลยจึงมีความผูกพันตามสัญญาต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ จำเลยอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงสิทธิของลูกหนี้ได้โดยลำพัง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และตั๋วเครื่องบินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ และตามสัญญาจ้างระบุการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ จำเลยจึงมีความผูกพันตามสัญญาต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ จำเลยอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงสิทธิของลูกหนี้ได้โดยลำพัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ: สิทธิลูกหนี้เลือกชำระเป็นเงินไทยได้ แต่ศาลไม่อาจเปลี่ยนแปลงสิทธิได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และตั๋วเครื่องบินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐและตามสัญญาจ้างระบุการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ จำเลยจึงมีความผูกพันตามสัญญาต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ แต่จำเลยอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสิทธิของลูกหนี้ได้โดยลำพังที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวเป็นเงินไทยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง, การไม่ไต่สวน, สิทธิลูกหนี้
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วนแก่ น.ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น.ตกลงกับจำเลยที่ 2 ว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้จากจำเลยทั้งสองตามประกาศซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าว เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น.ดังกล่าว ไม่กี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดเป็นเรื่องที่หาก น.ผิดข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามประกาศขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ไม่ทำให้การขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยทั้งสองมีราคาจริงถึง 1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่า เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควร ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 513 ซึ่งอาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองให้ได้ความชัดว่า ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับราคาที่ดินและบ้านเป็นความจริงหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยทั้งสองมีราคาจริงถึง 1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่า เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควร ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 513 ซึ่งอาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองให้ได้ความชัดว่า ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับราคาที่ดินและบ้านเป็นความจริงหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าหุ้นสหกรณ์: สิทธิลูกหนี้มีเงื่อนไข & ผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
จำเลยเป็นสมาชิกและถือหุ้นในสหกรณ์ผู้ร้อง ซึ่งเงินค่าหุ้นที่จำเลยลงไว้ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้อง จำเลยจะถอนคืนได้ต่อเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกดังนี้ เพื่อป้องกันสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้มิให้เสียหาย ศาลอาจออกคำสั่งอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยได้ แต่จะกำหนดในคำสั่งอายัดให้เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขแห่งหนี้หาได้ไม่ เพราะจะทำให้การบังคับคดีมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ศาลชั้นต้นแก้ไขคำสั่งอายัดใหม่ให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแทนคำสั่งเดิมที่ให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหมาย เป็นการสอดคล้องกับเงื่อนไขแห่งหนี้ที่ผู้ร้องต้องชำระแก่จำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษาและการใช้ใบรับเงินแทนเอกสารหลักฐาน
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้สิ้นเชิงนั้นลูกหนี้จะยึดถือใบรับเงินที่เจ้าหนี้ออกให้เป็นหลักฐานแทนการรับเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้หรือขึดฆ่าเพิกถอนเอกสารนั้นก็ได้หนี้ที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลไม่จำต้องนำมาชำระในศาลจะชำระนอกศาลก็ได้ ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.93 (2) ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องอ้างว่าได้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปแล้วแต่ใบรับเงินไฟไหม้เสียหมดลูกหนี้ขอสืบพะยานบุคคลแทนได้ สัญญาทางพระราชไมตรีคดีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความฎีกาได้แต่ฉะเพาะปัญกาข้อกฎหมายค่าธรรมเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11760/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินแยกฉบับ - การนำสืบพยานขัดแย้งกับเอกสาร - สิทธิการยึดถือโฉนดที่ดิน
โจทก์กับ อ. ต่างลงลายมือชื่อในสัญญากู้คนละฉบับ แต่สัญญากู้ทั้งสองฉบับไม่มีข้อความแสดงว่า โจทก์กับ อ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากจำเลย ที่จำเลยนำสืบว่า สัญญากู้ทั้งสองฉบับเป็นการที่โจทก์กับ อ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากจำเลย ส่งผลให้โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับ อ. เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมพยานเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำเลยให้ อ. กู้เงินโดยโจทก์มอบโฉนดที่ดินไว้เป็นประกัน การที่โจทก์ทำสัญญากู้ไว้ แต่มิได้ร่วมกับ อ. กู้ยืมเงินจากจำเลย โจทก์จึงไม่เป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้
จำเลยให้ อ. กู้เงินโดยโจทก์มอบโฉนดที่ดินไว้เป็นประกัน การที่โจทก์ทำสัญญากู้ไว้ แต่มิได้ร่วมกับ อ. กู้ยืมเงินจากจำเลย โจทก์จึงไม่เป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาไม่สุจริตของกรรมการเกินอำนาจกระทบสิทธิลูกหนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
การที่จำเลยทำหนังสือเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยใช้หัวกระดาษระบุชื่อโจทก์และสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ทั้งใต้ลายมือชื่อของจำเลยระบุว่าจำเลยเป็นกรรมการโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวทำให้บุคคลภายนอกทั่วไปเข้าใจไปได้ว่า จำเลยเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในนามของโจทก์ซึ่งขัดกับข้อบังคับอำนาจของกรรมการโจทก์ เป็นการแสดงเจตนาไม่สุจริตทำให้เข้าใจว่าจำเลยเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวในนามของโจทก์ ทั้งที่จำเลยไม่มีอำนาจทำการดังกล่าวได้เพราะขัดกับข้อบังคับอำนาจกรรมการกระทำการแทนโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงและได้เสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อบรรษัท บ.ไปก่อนจำเลยแล้ว และทำให้การพิจารณาของบรรษัท บ. ซึ่งกำลังดำเนินการเกิดความล่าช้าเพราะต้องพิจารณาทั้งแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของโจทก์และของจำเลย เป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นผู้อื่นและบริษัทโจทก์ได้รับความเสียหายเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ให้เพิกถอนหนังสือที่จำเลยยื่นแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้