พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904-5911/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานของผู้ถูกร้องในคดีเลิกจ้างเมื่อผู้ร้องเสนอคดีฝ่ายเดียว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน อ้างว่าผู้คัดค้านกระทำความผิดที่สมควรจะเลิกจ้าง อันเป็นการเสนอคดีฝ่ายเดียว ผู้ร้องจะต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้นจริงและเหตุนั้นเป็นเหตุที่สมควรจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ เว้นแต่ผู้คัดค้านยอมรับในข้อเท็จจริงใด ศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงนั้นโดยผู้ร้องไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดง ทั้งนี้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาหรือไม่ก็ได้ และคำคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ใช่คำให้การ ไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ที่ต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของผู้ร้อง รวมทั้งเหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธ คดีนี้หลังจากผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้ว ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่ เพียงใด โดยให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วให้ผู้คัดค้านสืบแก้ แสดงว่าศาลแรงงานเห็นว่า ผู้คัดค้านมิได้ยอมรับว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้น และกรณีสมควรที่จะฟังพยานหลักฐานของผู้คัดค้านประกอบการพิจารณาวินิจฉัยข้ออ้างของผู้ร้องด้วยซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจที่จะกระทำได้ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำพยานเข้าสืบและศาลแรงงานสามารถนำพยานหลักฐานของผู้คัดค้านมาใช้ประกอบการวินิจฉัย อันเป็นกรณีที่จะต้องรับฟังจากพยานหลักฐานอื่นต่อไป ซึ่งพยานหลักฐานอื่นที่ศาลแรงงานนำมารับฟังดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากการนำสืบของผู้ร้องทั้งสิ้น การรับฟังพยานหลักฐานและการวินิจฉัยคดีของศาลแรงงานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกันที่ดินเป็นที่สาธารณประโยชน์: ศาลไม่ผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา และจำเลยมีสิทธิสืบพยานในคดีแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงที่ 35และแปลงที่ 36 เนื้อที่รวม 25 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินบางส่วนของนิคมสหกรณ์อำเภอพนาที่โจทก์และสมาชิกนิคมสหกรณ์อำเภอพนาได้ร่วมกันกันไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และโจทก์ได้ขึ้นทะเบียนคุมที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ พ.ศ.2498 และทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยเมื่อ พ.ศ.2503 ก่อนที่พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2519 มีผลใช้บังคับหากตัวแทนโจทก์ได้ขึ้นทะเบียนคุมที่ดินทั้งสองแปลงให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ขึ้นทะเบียนโดยมิชอบ จึงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้คือ การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว อ้างเหตุผลที่ยกฟ้องในฐานความผิดตาม ป.อ.มาตรา 362 และ365 ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้จัดสรรให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ เป็นที่ดินที่สงวนไว้สำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินตามฟ้องจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน หาใช่เป็นที่ดินที่มีเอกชนเป็นเจ้าของหรือกรมส่งเสริมสหกรณ์ผู้เสียหายมีกรรมสิทธิ์อย่างเอกชนไม่ คดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าวไม่มีประเด็นโดยตรงว่า การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ และการพิจารณาคดีนี้ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์นายจ้างไปใช้โดยมิชอบถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยมีสิทธิสืบพยานเพื่อพิสูจน์
การนำทรัพย์ของนายจ้างไปใช้โดยปราศจากสิทธิโดยชอบเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นการทุจริตอยู่ในตัว จึงอยู่ในประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่
คำให้การจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงที่ละเอียดเพิ่มเติมจากคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์ได้กระทำการใดที่เป็นการทุจริต เป็นการขยายความตามคำสั่งเลิกจ้างให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น โดยมิได้มีส่วนใดขัดหรือแตกต่างจากคำสั่งเลิกจ้างแต่ประการใด จำเลยย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะสืบพยานตามข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้ และศาลแรงงานย่อมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยชอบ
คำให้การจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงที่ละเอียดเพิ่มเติมจากคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์ได้กระทำการใดที่เป็นการทุจริต เป็นการขยายความตามคำสั่งเลิกจ้างให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น โดยมิได้มีส่วนใดขัดหรือแตกต่างจากคำสั่งเลิกจ้างแต่ประการใด จำเลยย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะสืบพยานตามข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้ และศาลแรงงานย่อมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องเอกสารปลอมต้องระบุรายละเอียดการปลอม มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิสืบพยาน
คำให้การต่อสู้คดีที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม โดยไม่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ว่าปลอมอย่างไร เช่น เป็นการปลอมเอกสารทั้งฉบับหรือปลอมเพียงบางส่วน ซึ่งจำเลยต้องแสดงให้ชัดแจ้งไว้ในคำให้การไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้สืบพยานบุคคลของจำเลยมาแล้วก็ไม่อาจรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธข้ออ้างและสิทธิในการนำสืบพยาน การครอบครองปรปักษ์ และคำสั่งที่ไม่ชอบของศาล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองผิดสัญญา ต่อมาจำเลยที่ 1 ตกลงรับสภาพหนี้กับโจทก์ และทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันเดิมฉบับใหม่กับโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองให้การว่า หลังจากจำเลยที่ 1ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ฉบับแรกแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงรับสภาพหนี้กับโจทก์ด้วยการทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ฉบับใหม่ และจำเลยที่ 2ก็มิได้ตกลงทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ สัญญาซื้อขายรถยนต์และสัญญาค้ำประกันฉบับใหม่เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์นำแบบฟอร์มสัญญาซื้อขายรถยนต์และสัญญาค้ำประกันมาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ลงชื่อในสัญญาซื้อขายและสัญญาค้ำประกันตามลำดับแล้วโจทก์นำเอกสารดังกล่าวไปกรอกข้อความอันเป็นเท็จโดยไม่ได้รับความยินยอม คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธว่าสัญญาซื้อขายและสัญญาค้ำประกันฉบับใหม่เป็นเอกสารปลอม เมื่อคำให้การของจำเลยชัดแจ้งและไม่ขัดกัน คำสั่งของศาลชั้นต้นว่าจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบแก้ในประเด็นว่ามีการรับสภาพหนี้โดยทำสัญญาซื้อขายและค้ำประกันหรือไม่ กับสัญญาซื้อขายและค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในรถยนต์บรรทุกพิพาทดีกว่าโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวมาด้วยความสงบ เปิดเผยและแสดงเจตนาครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับรถยนต์บรรทุกพิพาทอีกต่อไป คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานเข้าสืบแก้ในประเด็นข้อ 1 และข้อ 4 แต่จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานเข้าสืบแก้ในประเด็นดังกล่าวเอง ฉะนั้น เมื่อศาลสูงยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไป จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิสืบพยานในประเด็นข้อนั้น และสำหรับประเด็นการครอบครองปรปักษ์รถยนต์พิพาทที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลยนั้นเมื่อจำเลยนำสืบพยานในประเด็นข้อนี้แล้วก็ต้องให้โจทก์มีสิทธิสืบแก้ในข้อนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิในการสืบพยานจำกัด ประเด็นข้อพิพาทจำกัดเฉพาะข้ออ้างในฟ้อง
เมื่อศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์ได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างพยานเอกสารมาสืบ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นไม่ได้อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่าสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเป็นผู้ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอน/ตั้งผู้จัดการมรดกจากพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กุศล และสิทธิในการนำสืบพยาน
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีพยานระบุว่าพินัยกรรมของผู้ตายอยู่ที่ผู้ร้อง และได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกคำสั่งเรียกพินัยกรรมดังกล่าวจากผู้ร้อง 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกให้ตามขอวันนัดไต่สวนพยานผู้คัดค้าน ผู้ร้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องไม่เคยมีพินัยกรรมของผู้ตายไว้ในครอบครอง ดังนี้จึงเป็นเรื่องหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกต้นฉบับพินัยกรรมของผู้ตายจากผู้ร้อง อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็นที่ส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานไม่ได้ไว้ก่อนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรม การนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรม การนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คโดยสุจริตและการต่อสู้เรื่องการฉ้อฉล จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานหากไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องการคบคิดฉ้อฉล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้จำเลยชำระเงินตามเช็คจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมซึ่งมี ดอกเบี้ย เกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในมือของโจทก์ได้อย่างไรโดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยคบคิดกับผู้หนึ่งผู้ใดฉ้อฉลจำเลย ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริต การที่จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาอย่างไร ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สิทธิในการนำสืบพยานพิสูจน์เจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
จำเลยต่อสู้คดีว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองเป็นการกล่าวอ้างว่า สัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังที่กล่าวอ้างสัญญาขายฝากย่อมใช้บังคับไม่ได้ จำเลยจึงมีสิทธินำสืบพยานได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สิทธิในการนำสืบพยานพิสูจน์เจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี
จำเลยต่อสู้คดีว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังที่กล่าวอ้างสัญญาขายฝากย่อมใช้บังคับไม่ได้จำเลยจึงมีสิทธินำสืบพยานได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร