พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการกล่าวอ้างเรื่องส่วนตัวและปัญหาภายในครอบครัวต่อบุคคลที่สาม
สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารกล่าวข้อความว่า"โจทก์มีปัญหาในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้งกัน มีปัญหากับพนักงานในสาขาถึงได้ถูกย้ายไปสำนักงานใหญ่คงอยู่ไม่ได้นานต้องถูกไล่ออก" ต่อ อ. ลูกค้าของธนาคารย่อมเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่ล่วงสิทธิส่วนบุคคลซึ่งข้อความดังกล่าววิญญูชนทั่วไปย่อมจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อเป็นคนไม่ดีทะเลาะกับสามีมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานจนต้องถูกย้ายและกระทำความผิดร้ายแรงถึงขนาดจะถูกไล่ออกจากงานด้วย จึงเป็นข้อความที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หาใช่เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่สามีภริยาทะเลาะกันหรือเป็นคำติชมของผู้บังคับบัญชาหรือเป็นการกล่าวคาดคะเนแต่อย่างใดไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยกล่าวข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อญาติของโจทก์เพียงคนเดียว และข้อความหมิ่นประมาทก็มิได้ทำให้ โจทก์เสียหายมากมายนัก นับว่าเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะ ไม่ร้ายแรง ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกและรอการลงโทษนั้น หนักเกินไปควรให้ปรับจำเลย 5,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้ทางและการละเมิดสิทธิในที่ดิน การติดตั้งประตูและการใช้ทางส่วนบุคคล
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 20, 22 และ 24 โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร 33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร 35 ที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 และโฉนดเลขที่ 2022 อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร 35ที่พิพาท และทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3 ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่ 20 แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร 35 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเพื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อ คือข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1เมษายน 2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3) ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อ คือข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1เมษายน 2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3) ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางร่วม: ข้อตกลงส่วนตัวมิใช่ภารจำยอม แม้ใช้ทางต่อเนื่องก็ไม่เกิดสิทธิภารจำยอม
การที่จ. เจ้าของที่ดินเดิมใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงยินยอมอนุญาตให้ใช้ทางร่วมกันมิใช่การใช้ทางโดยเจตนาจะให้ได้ภารจำยอมจึงไม่อาจได้ภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401เมื่อโจทก์ที่1ซื้อที่ดินจากจ. มาเมื่อปี2534และใช้ทางพิพาทต่อมาจนถึงปี2535จึงไม่ได้ภารจำยอมเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของทรัพย์สินและการละเมิดสิทธิ กรณีผู้เช่าทำสัญญาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่ อ. ออกจากตึกแถวพิพาท โจทก์ชนะคดียื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นบริวาร อ. ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยคัดค้านว่า จำเลยไม่ใช่บริวารของ อ. ศาลยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ.หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน จำเลยได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับ ป. สิทธิการเช่าระหว่างจำเลยกับ ป. เป็นเพียงบุคคลสิทธิ มีผลผูกพันระหว่างผู้ที่เป็นคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ผู้เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทซึ่งมิได้เกี่ยวข้องในการทำสัญญาด้วย การที่จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์มิได้รู้เห็นตกลงยินยอมด้วย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ขับไล่ได้ จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลาที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางผ่านที่ดินตกทอดแก่ทายาท แม้ยังมิได้จดทะเบียน
สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยตามสัญญาระหว่างสามีโจทก์กับจำเลย แม้จะมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และมิใช่สิทธิที่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของคู่สัญญาโดยแท้ เมื่อคู่สัญญาตายไปสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15991600.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิส่วนบุคคลจากการยินยอมให้ใช้ที่ดินไม่ตกทอดเป็นมรดกเมื่อผู้รับประโยชน์ถึงแก่กรรม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันความว่า จำเลยยินยอมให้ที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ตกลงชำระเงินแก่จำเลย 2,500 บาท และยินยอมให้จำเลยปลูกผักบุ้งชาย คลองหน้าคันดินพิพาทด้วย ศาลพิพากษาตามยอมดังนี้ เมื่อที่พิพาทเป็นที่มีโฉนด มีชื่อ โจทก์ เป็นเจ้าของ การที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยสอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ย่อมหมายความว่า ยินยอมให้เฉพาะตัวจำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระเงิน 2,500 บาท ตอบแทนความยินยอมของจำเลยแล้ว ยังยินยอมให้จำเลยปลูกผักบุ้งที่ชาย คลองหน้าที่พิพาทอีก แสดงว่าไม่ใช่เป็นการยินยอมที่ให้ผูกพันตลอดไป ฉะนั้น เมื่อจำเลยตาย สิทธิของจำเลยย่อมระงับไปไม่ตก ทอดแก่ทายาท ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรจึงจะขอรับมรดกความต่อไปมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสเป็นสิทธิส่วนบุคคล ศาลไม่อาจบังคับให้มีการสมรส แม้มีการตกลงคืนดีหลังหย่า
การสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัวโดยความสมัครใจยินยอมของชายและหญิงทั้งสองฝ่าย ในอันที่จะทำการสมรสกันภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้อำนาจศาลที่จะบังคับให้มีการสมรส ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเป็นสามีภรรยากันตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยอันมิชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเหมืองฝายส่วนบุคคล: การถมเหมืองโดยไม่เปลี่ยนประเภทการชลประทานเป็นละเมิด
พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 มาตรา 11 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎรได้ แต่อำนาจสั่งเปลี่ยนประเภทการชลประทานส่วนบุคคลเป็นการชลประทานส่วนราษฎรจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง
โจทก์ได้รับโอนสิทธิในเหมืองฝาย ซึ่งเป็นการชลประทานส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จากมารดา แม้ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 กำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎร มีตำบลของเหมืองฝายของโจทก์รวมอยู่ด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการสั่งเปลี่ยนแปลงประเภทการชลประทานส่วนบุคคลของโจทก์เป็นการชลประทานส่วนราษฎรเมื่อจำเลยถมเหมืองแล้วปลูกข้าวบนดินที่ถม โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และ 362
โจทก์ได้รับโอนสิทธิในเหมืองฝาย ซึ่งเป็นการชลประทานส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จากมารดา แม้ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 กำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎร มีตำบลของเหมืองฝายของโจทก์รวมอยู่ด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการสั่งเปลี่ยนแปลงประเภทการชลประทานส่วนบุคคลของโจทก์เป็นการชลประทานส่วนราษฎรเมื่อจำเลยถมเหมืองแล้วปลูกข้าวบนดินที่ถม โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และ 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเหมืองฝายส่วนบุคคลและการชลประทานราษฎร ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจเปลี่ยนประเภทโดยไม่สั่งการ
พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 มาตรา 11ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎรได้แต่อำนาจสั่งเปลี่ยนประเภทการชลประทานส่วนบุคคลเป็นการชลประทานส่วนราษฎรจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง
โจทก์ได้รับโอนสิทธิในเหมืองฝายซึ่งเป็นการชลประทานส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จากมารดา แม้ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 กำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎร มีตำบลของเหมืองฝายของโจทก์รวมอยู่ด้วยแต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการสั่งเปลี่ยนแปลงประเภทการชลประทานส่วนบุคคลของโจทก์เป็นการชลประทานส่วนราษฎรเมื่อจำเลยถมเหมืองแล้วปลูกข้าวบนดินที่ถม โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และ 362
โจทก์ได้รับโอนสิทธิในเหมืองฝายซึ่งเป็นการชลประทานส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จากมารดา แม้ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 กำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎร มีตำบลของเหมืองฝายของโจทก์รวมอยู่ด้วยแต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการสั่งเปลี่ยนแปลงประเภทการชลประทานส่วนบุคคลของโจทก์เป็นการชลประทานส่วนราษฎรเมื่อจำเลยถมเหมืองแล้วปลูกข้าวบนดินที่ถม โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และ 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ vs. สิทธิภารจำยอม: การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะก่อนการซื้อขายย่อมมีผลเหนือสิทธิส่วนบุคคล
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างทางพิพาทเพื่อเป็นทางเข้าออกสำหรับที่ดินทุกแปลงที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกขาย และโจทก์ได้ใช้ทางนี้ตลอดมาเป็นเวลานานกว่า10 ปี จึงกลายสภาพเป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทได้ โดยไม่ให้จำเลยปิดกั้น ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วอันเป็นเหตุที่จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลย ทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลย ทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท