คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเจ้าของ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่า สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ การแจ้งไม่ต่อสัญญาไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
สัญญาเช่าเดิมระหว่างโจทก์และจำเลยระงับไปเพราะสิ้นกำหนดเวลาเช่าและไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันว่าจำเลยจะต้องต่อสัญญาเช่าให้โจทก์ การที่จำเลยซึ่งเป็นส่วนราชการไม่ยอมต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์อีกต่อไปย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ จึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครองที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลิขสิทธิ์ภาพยนตร์: การทำซ้ำโดยผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมต้นฉบับ
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากโจทก์ตามสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์ให้นำงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ได้นำงานวรรณกรรมนั้นไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้เมื่อปี 2528 ซึ่งเป็นการสร้างภาพยนตร์ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาดังกล่าวในปี 2527 แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ที่ได้ทำไว้กับโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้นแล้ว
จำเลยที่ 1 นำงานวรรณกรรมของโจทก์มาสร้างเป็นภาพยนตร์ เป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จำเลยที่ 1 จึงมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ที่ได้ดัดแปลงขึ้น จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาซึ่งงานภาพยนตร์ หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้น ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นั้นแก่ผู้อื่น และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือนำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้นตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ทันทีที่สร้างสรรค์งานภาพยนตร์นั้นเสร็จ และมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้นเพิ่มขึ้นอีกตามมาตรา 15 (3) และมาตรา 78 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ในวันที่ 22 มีนาคม 2538 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ โดยมีอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์เป็นเวลา 50 ปี นับแต่ปี 2528 อันเป็นปีที่จำเลยที่ 1 ได้สร้างสรรค์งานภาพยนตร์นั้นขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 18 ประกอบมาตรา 16 วรรคท้าย
อย่างไรก็ตามสิทธิที่จำเลยที่ 1 มี นั้น ต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานวรรณกรรมเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ เดิมที่ถูกดัดแปลงนั้น ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 1 ดัดแปลงวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และสิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในงานวรรณกรรมคงมีอยู่ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตลอดชีวิตของโจทก์ผู้สร้างสรรค์และมีอยู่ต่อไปอีก 30 ปีนับแต่โจทก์ถึงแก่ความตาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 5 (ข) และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์สร้างสรรค์งานวรรณกรรมเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ โดยโจทก์ไม่มีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ เพราะเป็นงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานภาพยนตร์มีลิขสิทธิ์เรื่องผีเสื้อและดอกไม้ เป็นงานในรูปแบบใดก็ได้ อันเป็นสิทธิที่จำเลยที่ 1 ได้มาโดยผลของกฎหมาย แม้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะระบุให้จำเลยที่ 1 สามารถนำภาพยนตร์ที่สร้างไว้ออกทำซ้ำและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยไม่ได้ระบุถึงการทำในรูปแบบวิดีโอซีดี ก็ไม่ทำให้สิทธิแต่ผู้เดียวของจำเลยที่ 1 ในการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพยนตร์ดังกล่าว อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและได้มาโดยผลของกฎหมายนั้นเสียไป เพราะโจทก์มีสิทธิที่จะกำหนดเงื่อนไขในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ของตนได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของตนเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 7 นำภาพยนตร์เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้อันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ไปทำซ้ำและนำออกจำหน่ายในวัสดุรูปแบบวิดีโอซีดีจึงไม่ใช่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานวรรณกรรมเรื่องผีเสื้อและดอกไม้ซึ่งโจทก์มีลิขสิทธิ์ จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในการถูกบังคับคดี: การกันส่วนที่ดินก่อนขายทอดตลาด
ผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนที่จะมีการบังคับคดีข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร: เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิโอนได้ แม้มีภาระจำยอม การโอนเป็นทางสาธารณประโยชน์ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นถนนและทะเลสาบซึ่งจัดแบ่งไว้เป็นสาธารณูปโภคอันต้องตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินคือจำเลยที่ 1 มีหน้าที่บำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นตลอดไปและจะกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แก่ภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 1390 แต่จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพียงแต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่พิพาทอันเป็นภารทรัพย์จะกระทำการใดๆ ให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ถึงแม้ว่าจะมีการโอนที่พิพาทไปเป็นของผู้ใดก็ตาม ภาระจำยอมย่อมตกติดไปกับที่พิพาทเสมอ ไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแต่ประการใด การโอนที่พิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ย่อมเป็นการโอนโดยมีอำนาจที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายอีกทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ยังบัญญัติให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินมีอำนาจอุทิศที่พิพาทไปเป็นสาธารณประโยชน์ได้ แม้ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนที่พิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ จำเลยที่ 1 จะทำข้อตกลงและสัญญาให้โจทก์ที่ 1 กับพวกเข้าบริหารดูแลรักษาทรัพย์ที่พิพาทให้คงสภาพดังเช่นที่จัดทำขึ้นโดยตลอดไปก็หาใช่เป็นการยกกรรมสิทธิ์หรือยกภาระจำยอมในที่พิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 กับพวกไม่ ข้อตกลงและสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงก่อให้เกิดบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก โจทก์ที่ 1 กับพวกจึงหามีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่พิพาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9671-9675/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของที่ดินในการใช้ประโยชน์จากทางสาธารณะ และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินของโจทก์มีทางเข้าออกหรือสามารถเข้าออกหรือใช้ประโยชน์จากน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ได้อย่างสะดวก การที่จำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาทมิได้ปิดบังหรือกีดขวางทางเข้าออกคลองมหาสวัสดิ์นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายมาตราดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์แล้ววินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์มีทางเข้าออกหรือสามารถเข้าหรือใช้ประโยชน์จากน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ได้อย่างสะดวกการที่จำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาทมิได้ปิดบังหรือกีดขวางทางเข้าออกคลองมหาสวัสดิ์แต่อย่างใดนั้น เป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยใช้สิทธิของตนปลูกบ้านในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินปิดหน้าที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้หรือได้รับประโยชน์จากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นได้โดยสะดวก ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ กรณีต้องบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421และ 1337 การที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ก่อนก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ผู้มาทีหลังต้องเสียสิทธิดังกล่าวไม่ โจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไปโดยฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของกรมชลประทานอันเป็นการกีดขวางทางที่โจทก์เข้าออกเพื่อใช้ประโยชน์ในคลองมหาสวัสดิ์อันเป็นทางสาธารณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิเจ้าของยังไม่สมบูรณ์หากมิได้เข้าทำประโยชน์ การครอบครองก่อนย่อมไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
นับจากวันที่โจทก์ร่วมซื้อที่ดินพิพาทจากกรมที่ดินโจทก์ร่วมคงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเท่านั้นเมื่อโจทก์ร่วมยังมิได้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเข้าไปยึดถือที่ดินพิพาทโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใดปรากฎว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนทั้งจำเลยที่1ได้แสดงความเป็นเจ้าของโดยทำเป็นหนังสือคัดค้านการนำที่ดินพิพาทไปออกน.ส.3และขายให้แก่ผู้อื่นดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสองที่เข้าไปถากถางทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6352/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยปราศจากอำนาจและเจตนาที่แท้จริง ถือเป็นเอกสารปลอม สิทธิยังเป็นของเจ้าของเดิม
โจทก์เป็นหนี้จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง จึงมอบ น.ส.3ของที่ดินพิพาทและลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1ยึดถือไว้ แต่ก็ได้แสดงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและไม่เคยมอบอำนาจให้ผู้ใดขายที่ดินพิพาท การที่มีการกรอกข้อความในหนังสือ มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3จึงเป็นการกรอกข้อความโดยปราศจากอำนาจและเป็นเอกสารปลอม ต้องถือว่านิติกรรมซื้อขายมิได้เกิดขึ้น สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ยังเป็นของโจทก์ประกอบกับสามีจำเลยที่ 1 เป็นพี่เขย ของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เป็นสามีของจำเลยที่ 3 ย่อม รู้ว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ขายที่ดินพิพาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือ มิใช่คดีชำระบัญชี แต่เป็นการใช้สิทธิติดตามทรัพย์สิน
การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้นเป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1272จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา448คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา448ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุลโดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้นและขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้นมิใช่กรณีที่บริษัทเมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกันและมีการชำระบัญชีเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ฐานเช่นนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1272จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามมาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาทราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของที่ดินต่างด้าวที่ถูกจำหน่ายโดยไม่ชอบ ผู้มีสิทธิฟ้องร้องได้
แม้ การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวโดยฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา86วรรคหนึ่งจะเป็น โมฆะ แต่มาตรา94ก็ให้ คนต่างด้าว จำหน่ายที่ดินดังกล่าวภายในเวลาที่ อธิบดีกรมที่ดินกำหนดมิฉะนั้นก็ให้ อธิบดี กรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้จำเลยที่1ซึ่งลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจึงไม่มีอำนาจจำหน่ายโดยพลการการที่จำเลยที่1ขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่2โดยพลการถือว่าเป็นการ โต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมี อำนาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินจัดสรรในการใช้ทางเข้าออก และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ
จำเลยจัดสรรที่ดินแบ่งออกเป็นแปลงย่อยเพื่อจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป ต่อมาโจทก์ได้ซื้อตึกแถวสองชั้นพร้อมที่ดินจัดสรร3 แปลง ต่อจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง ที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือตะวันตกและตะวันออกจดที่ดินจัดสรรแปลงอื่น ส่วนทิศใต้หน้าที่ดินของโจทก์เป็นทางกว้าง 8 เมตร ซึ่งสามารถเชื่อมไปสู่ทางสาธารณะด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของที่ดินจัดสรรได้ ต่อมาจำเลยและจำเลยร่วมได้ดัดแปลงที่ดินจัดสรรที่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกเป็นสระว่ายน้ำ และสวนสนุก เพราะไม่มีผู้ซื้อทั้งยังได้ก่อสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวที่ดินดังกล่าวในเขตพื้นที่ดินของจำเลย จนปิดกั้นหน้าที่ดินของโจทก์ด้วย ดังนี้เฉพาะคดีในส่วนของการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวที่ดินดังกล่าวในเขตพื้นที่ดินของจำเลยนั้น เมื่อโจทก์เบิกความเพียงว่าทำให้ตึกแถวของโจทก์อยู่ในมุมทึบมองเห็นไม่ชัดเท่านั้น แสดงว่าการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหน้าที่ดินแปลงดังกล่าวมิได้ปิดบังหน้าที่ดินของโจทก์ หรือเป็นเหตุให้บังแสงสว่างและทางลม หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติอันจะถือว่า โจทก์เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337โจทก์คงมีสิทธิขอให้จำเลยและจำเลยร่วมรื้อถอนได้เฉพาะในส่วนของการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นหน้าที่ดินของโจทก์เท่านั้นซึ่งกรณีนี้มิใช่เรื่องที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349อันโจทก์จะต้องใช้ค่าทดแทนเพื่อผ่านทางให้แต่อย่างใด
of 8