คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเช่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983-984/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับผู้จะซื้อ สิทธิเช่าย่อมไม่ผูกพันเจ้าของที่ดินเดิม
จำเลยที่ 19 ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจาก ส. แต่ขณะนั้น ส. เป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 1 (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ในสำนวนหลัง) โดยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับโจทก์ที่ 1 มีข้อตกลงว่าในระหว่างการผ่อนชำระเงินค่าที่ดิน ส. จะต้องไม่ทำนิติกรรมใด ๆ ก่อให้เกิดภาระผูกพันที่ดินพิพาทด้วย ดังนั้น สัญญาเช่านาระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่มีผลผูกพันระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ไม่
ส. มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาเช่า ดังนั้น แม้ ส. จะให้จำเลยที่ 19 เช่าที่ดินพิพาททำนาก็หาใช่เป็นการที่ผู้เช่านำทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นไปให้เช่าช่วง อันจะมีผลทำให้การเช่าที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 เข้าลักษณะเป็นการเช่าตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 5 ทั้งโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 19 ใช้ที่ดินพิพาทเพื่องานเกษตรกรรมทำนาโดยได้รับค่าเช่า และมิได้กระทำนิติกรรมอื่นใดต่อกันอันจะเป็นการอำพรางการเช่านาด้วย ดังนั้น การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทำนาระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 จึงมิได้มีผลถือว่าเป็นการเช่านาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 19 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 5 จำเลยที่ 19 จึงมิได้รับสิทธิและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการครอบครองที่ดินและบ้านแม้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และสิทธิการเช่าที่เกิดขึ้นภายหลัง ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่บ้านดังกล่าวปลูกสร้างอยู่บนที่ดินราชพัสดุซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง ฉะนั้น จำเลยจึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินและบ้านที่ปลูกสร้างอยู่เท่านั้น เมื่อจำเลยทำสัญญาขายที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์ และส่งมอบการครอบครองที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์โดยรับค่าตอบแทนจากโจทก์ไป จึงฟังได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินและบ้านดังกล่าวโดยโอนการครอบครองให้แก่โจทก์ไปแล้วตามมาตรา 1377 และมาตรา 1378 ทั้งจำเลยยังยอมรับสิทธิของโจทก์โดยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ไว้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยยึดถือครอบครองที่ดินและบ้านแทนโจทก์ เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในที่ดินและบ้านอีกต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกแต่งต่อเติมอาคารเช่าไม่ถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษทำให้มีสิทธิเช่าต่อได้
การที่จำเลยออกเงินตกแต่งทำหินขัดพื้นชั้นหนึ่งและ ชั้นที่สองทำผนังกั้นห้อง ต่อเติมทำห้องน้ำชั้นที่สองและต่อเติมพื้นที่ชั้นที่สามครึ่ง เป็นการกระทำเพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่จำเลยเช่าจากโจทก์เท่านั้น หามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วและโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยเช่าต่อ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ, สิทธิเช่า, การชำระหนี้ ณ ภูมิลำเนาเจ้าหนี้, สัญญาเช่าสิ้นสุด, การโอนสิทธิ
คดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาโดยวินิจฉัยว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องสัญญาเช่าตึกแถวและที่ดินพิพาทยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาเช่า จำเลยยังมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารและที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า กรณีจึงเป็นเรื่องที่ยังมิได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โดยที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง การที่จะเป็นกรณีฟ้องซ้ำต้องห้าม จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้วินิจฉัยข้อหาในประเด็นแห่งคดีแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เป็นการฟ้องภายหลังจากที่สัญญาเช่าครบกำหนด และมีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่เช่าแล้ว จำเลยไม่ยินยอมออกเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทและผู้ใช้สิทธิครอบครองตึกแถว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55มิใช่เป็นเรื่องรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ได้รับโอนที่พิพาทและสิทธิการเช่าตึกแถวจาก ส.แล้วโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ และตามสัญญาเช่ามิได้กำหนดว่าจะชำระค่าเช่ากันที่ใดจำเลยจึงต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์การที่จำเลยนำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ ทั้งมิใช่การชำระหนี้ ณ ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315ประกอบมาตรา 324 จำเลยจะให้โจทก์ไปรับเงินค่าเช่าจากสำนักงานวางทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าที่ดินแม้สิทธิเก็บกินสิ้นสุดลง สัญญาเช่ายังมีผลผูกพันเจ้าของที่ดิน
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ ท. ต่อมา ท.ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินทำสัญญาให้จำเลยเป็นผู้เช่ามีกำหนดเวลา 30 ปี โดยมีการทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ในระหว่างอายุสัญญาเช่า ท.จะถึงแก่ความตายซึ่งเป็นผลให้สิทธิเก็บกินสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1418 วรรคสุดท้าย แต่ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และหามีผลทำให้สัญญาเช่าดังกล่าวระงับไปไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าเมื่อผู้ให้เช่าเสียชีวิต: สัญญาเช่ายังมีผลผูกพัน แม้สิทธิเก็บกินสิ้นสุด
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ ท.ต่อมา ท. ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินทำสัญญาให้จำเลยเป็นผู้เช่ามีกำหนดเวลา 30 ปี โดยมีการทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าย่อมีผลผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ในระหว่างอายุสัญญาเช่า ท. จะถึงแก่ความตายซึ่งเป็นผลให้สิทธิเก็บกินสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1418 วรรคสุดท้าย แต่ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และหามีผลทำให้สัญญาเช่าดังกล่าวระงับไปไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิเช่าทำนา, การผิดสัญญา, และผลกระทบต่อการบังคับคดี
คชก.ตำบล ค.วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3 ยังไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 มาตรา 58
แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมากซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3 อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเช่าทรัพย์สิน: การฟ้องบังคับให้จดทะเบียนเพื่อความสมบูรณ์ของสิทธิเช่า และค่าเสียหายจากการไม่จดทะเบียน
จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจากโจทก์ที่ 1รวม 4 คูหา และเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยที่ 1 ขอให้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยทั้งแปดถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และในการตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้ท้ายสัญญาจะซื้อจะขายยินยอมให้โจทก์ที่ 1 หรือตัวแทนติดตั้งป้ายโฆษณาบนพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทมีกำหนด 30 ปี โดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาจำเลยทั้งแปดได้ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณามีกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าทรัพย์สินเอกสารหมายจ.10 ซึ่งเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งแปดมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการเช่าและได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อเจ้าพนักงานแล้วแต่ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าให้เสร็จในวันเดียวกันได้เพราะต้องประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านก่อนมีกำหนดเวลา 30 วัน แต่ในระหว่างนั้นจำเลยทั้งแปดได้ขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวแทนจำเลยทั้งแปด เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ จึงเป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่า จึงเป็นการขอให้จำเลยทั้งแปดปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้มีการจดทะเบียนซึ่งจะทำให้มีผลบังคับเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า กรณีมิใช่การฟ้องร้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าหรือโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าได้ ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 538 และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปจนกว่าจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ที่ 2
ที่จำเลยทั้งแปดแก้ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ในส่วนค่าเสียหายนั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิเช่า: โจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาและริบเบี้ยปรับได้
จำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจาก บ.แล้วทำสัญญาจะขายสิทธิการเช่าตึกนั้นให้แก่โจทก์ ในวันโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทนั้น โจทก์เตรียมแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน 530,000 บาท พร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ณ เวลาที่กำหนดกล่าวคือ แคชเชียร์เช็คได้ระบุวันสั่งจ่ายก่อนถึงกำหนดการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาท2 วัน แสดงให้เห็นว่าโจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาต่อจำเลยครบถ้วนแล้ว แต่เหตุที่ไม่ได้โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทต่อกันเนื่องจากจำเลยขอให้เพิ่มเติมข้อความลงในสัญญาเช่าเดิมระหว่างจำเลยกับ บ.ว่า เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิการเช่าแล้ว หากสัญญาเช่าสิ้นสุดผู้เช่าต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ถ้าไม่ออกจะต้องถูกปรับเป็นรายวัน ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มภาระและความรับผิดแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่ตกลงกำหนดกันไว้ในสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ด้วยการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ตามเวลาที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 388
ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความว่า เพราะการที่จำเลยต้องย้ำให้โจทก์ทราบว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเดิมแล้วโจทก์ต้องออกจากตึกพิพาทนั้นเนื่องจากจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกดังกล่าวนี้จาก บ.แล้ว โจทก์จะได้ทราบว่าโจทก์จะต้องต่อสัญญาหรือชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยมิใช่ บ.แล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยในการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำมาวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยรับฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์เนื่องจากจำเลยจะขอปรับเป็นรายวันเกินกว่ากำหนดในสัญญาเช่าเดิมเป็นการเพิ่มข้อตกลง อันเป็นการที่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาแล้วจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนโดยชอบแล้ว
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการเช่าตึกพิพาทระบุว่าถ้าผู้รับซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อหนึ่งผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำ แต่ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดในข้อหนึ่ง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้ และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีก 600,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดเรื่องค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบโดยบอกกล่าวแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบเบี้ยปรับนั้นได้โดยจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 และมาตรา 380และเมื่อเป็นเบี้ยปรับแล้วศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่แท้จริงโดยพยานหลักฐานอันใดอีก เพราะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นไปตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ถึงเรื่องการสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ของโจทก์อันเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยย่อมต้องรับผิดในเรื่องเบี้ยปรับต่อโจทก์อยู่ดี เพียงแต่ว่าถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าซื้อก่อนบุคคลภายนอก: สัญญาเช่าสร้างสิทธิเฉพาะคู่สัญญา ไม่ผูกพันผู้ซื้อจากผู้ให้เช่า
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ผู้เช่าและจำเลยที่ 1ผู้ให้เช่าจะระบุว่า เมื่อจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินและตึกแถวที่ให้เช่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเพื่อให้โอกาสโจทก์ที่จะซื้อก่อนเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควรก็ตามแต่ข้อตกลงนี้ก็เป็นเพียงก่อให้เกิดบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ซึ่งไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่
of 15