พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสำเร็จรูป, ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม, ค่าติดตามทวงถาม, ค่าบริการระหว่างระงับบริการ, สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมอันเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งโจทก์ทำกับจำเลยที่กำหนดว่า ผู้ใช้บริการยินยอมชำระค่าติดตามทวงถาม ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และค่าทนายความ ฯ ที่บริษัทต้องเสียไปในการติดตามทวงถามหรือเรียกร้องค่าใช้บริการที่ค้างชำระและฟ้องร้องเกี่ยวกับการผิดสัญญาให้แก่บริษัท ฯ จนครบถ้วน มีลักษณะเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 ซึ่งการเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ย่อมได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคแรก เช่นค่าติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามปกติย่อมกระทำโดยมีหนังสือทวงถามส่งไปโดยพนักงานเป็นผู้ส่งหรือส่งไปทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือโดยวิธีอื่น ซึ่งหากจำเลยจ่ายไปจริงย่อมเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ ดังนั้นข้อตกลงที่กำหนดให้โจทก์ต้องชำระค่าติดตามทวงถามดังกล่าว จึงไม่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ อันถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์และเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าติดตามทวงถามจากโจทก์ได้ แต่ค่าติดตามทวงถามที่จำเลยคิดในอัตราร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดเป็นการแน่นอน จะเป็นความเสียหายตามสมควรเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ไม่ได้
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยใช้บริการแบบเหมาจ่ายอัตรา 750 ต่อเดือน ซึ่งการเหมาจ่ายค่าใช้บริการเช่นนี้โจทก์จะได้ประโยชน์จากการใช้บริการตามระยะเวลาการใช้บริการโดยมีจำนวนเวลาการใช้นานกว่าการใช้บริการตามปกติ ทั้งได้รับสิทธิพิเศษในการเสียค่าบริการต่อนาทีที่ถูกกว่าโดยไม่จำกัดระยะทางทั่วประเทศ ลักษณะของสัญญาประเภทนี้มีส่วนที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้ใช้บริการมากกว่าสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมตามปกติอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้บริการที่ทำสัญญากับจำเลยเช่นกัน การที่โจทก์ไม่ชำระค่าบริการตามที่ตกลงกัน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิระงับการใช้บริการได้ก่อนครบกำหนดระยะเวลาและเรียกค่าใช้บริการตามระเบียบการใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าข้อ 4.1 ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปดังกล่าวหาใช่ข้อตกลงที่ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรไม่ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยใช้บริการแบบเหมาจ่ายอัตรา 750 ต่อเดือน ซึ่งการเหมาจ่ายค่าใช้บริการเช่นนี้โจทก์จะได้ประโยชน์จากการใช้บริการตามระยะเวลาการใช้บริการโดยมีจำนวนเวลาการใช้นานกว่าการใช้บริการตามปกติ ทั้งได้รับสิทธิพิเศษในการเสียค่าบริการต่อนาทีที่ถูกกว่าโดยไม่จำกัดระยะทางทั่วประเทศ ลักษณะของสัญญาประเภทนี้มีส่วนที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้ใช้บริการมากกว่าสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมตามปกติอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้บริการที่ทำสัญญากับจำเลยเช่นกัน การที่โจทก์ไม่ชำระค่าบริการตามที่ตกลงกัน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิระงับการใช้บริการได้ก่อนครบกำหนดระยะเวลาและเรียกค่าใช้บริการตามระเบียบการใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าข้อ 4.1 ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปดังกล่าวหาใช่ข้อตกลงที่ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรไม่ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งต้องมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย การฟ้องเพื่อทำลายพยานหลักฐานในคดีอาญาจึงไม่ถือว่ามีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะฟ้องคดีแพ่งต่อศาลจะต้องถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อรับรองว่าตนมีสิทธิหรือหน้าที่หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 110214 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงโฉนดดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ก็เพียงเพื่อต้องการทำลายพยานหลักฐานในคดีอาญาที่โจทก์ถูกจำเลยฟ้องข้อหาบุกรุกที่ดินแปลงนี้ ซึ่งในคดีนั้นโจทก์ในฐานะจำเลยย่อมมีสิทธินำพยานหลักฐานมานำสืบต่อสู้คดีได้หากจำเลยนำหลักฐานเท็จมาแสดง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากคำสั่งศาลดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือมีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7808/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า, ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข, รวมการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าสระว่ายน้ำจากผู้ให้เช่าเดิมและบริวารออกไปจากสระว่ายน้ำเพราะโจทก์ได้รับโอนสระว่ายน้ำจากผู้ให้เช่าเดิมแล้ว และเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยไม่ยอมส่งมอบสระว่ายน้ำคืนโจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะรับโอนทรัพย์ที่เช่าซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาโดยไม่ชอบ โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าเดิม และฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์ค้างชำระค่าสารคลอรีน ขอให้บังคับโจทก์ชำระให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าหากโจทก์รับโอนทรัพย์ได้หรือโจทก์มีอำนาจฟ้อง โจทก์ก็ต้องรับผิดค่าคลอรีนตามสัญญา หรือโจทก์มีหน้าที่ตามสัญญาซึ่งตอนแรกอ้างว่าไม่มีนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมอันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจำกัดเฉพาะที่ดินสามยทรัพย์ การโอนสิทธิและหน้าที่เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดิน
โจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนภารจำยอมโดยมีเงื่อนไขว่า เจ้าของสามยทรัพย์จะเปิดให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นร่วมใช้ด้วยไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของภารยทรัพย์ และย่อมถือว่าประพฤติผิดสัญญา จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับการให้ที่ดินสามยทรัพย์จากจำเลยที่ 1 ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ จำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินที่รับให้ไปจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่นผ่านที่ดินแปลงนี้มาร่วมใช้ทางภารจำยอมบนที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ได้เปิดทางให้ผู้อื่นซึ่งมีบ้านอยู่ในที่ดินแปลงอื่นผ่านเข้ามาในที่ดินสามยทรัพย์แล้วผ่านทางภารจำยอมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะด้วย เป็นการประพฤติผิดสัญญาและ เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ภารยทรัพย์ โจทก์ขอให้เพิกถอน การจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของต่างตอบแทนกับผลกระทบต่อการล้มละลาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
สัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่คู่สัญญาที่จะต้องพึงปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย กล่าวคือถ้าพิจารณาในด้านของผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับผลงานตามสัญญา แต่ในขณะเดียวกันผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นการตอบแทนด้วยในทำนองเดียวกันหากพิจารณาในด้านของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินสินจ้างและในขณะเดียวกันผู้รับจ้างก็ต้องทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาด้วย ดังนั้น สิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างของจำเลยจึงขึ้นอยู่กับผลงานที่จำเลยได้กระทำไปตามสัญญาจ้างทำของอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน และสัญญาดังกล่าวนี้ย่อมตกอยู่ในบังคับมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 กล่าวคือ หากผู้คัดค้านเห็นว่าสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ที่บัญญัติว่าบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม...และในวรรคที่ 2 ที่บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 2 แห่งบรรพนี้(ตั้งแต่มาตรา 1561 ถึงมาตรา 1584/1) มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หมายความเพียงว่า ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรมาใช้บังคับแก่บุตรบุญธรรมโดยอนุโลมเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องนำทุกมาตรามาใช้บังคับทั้งหมดส่วนบทบัญญัติในมาตรา 1562 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ นั้น เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา28 ที่แก้ไขใหม่) ให้ความหมายของคำว่า ผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด และผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์ จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา28 ที่แก้ไขใหม่) ให้ความหมายของคำว่า ผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด และผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์ จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคาร ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2525 ห.ทำสัญญาให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทมีกำหนด 11 ปี 5 เดือน โดยได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อเจ้าหน้าที่ในวันเดียวกัน สัญญาเช่าย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ เป็นแต่ว่าหากไม่มีการจดทะเบียนการเช่าก็บังคับกันได้เพียง 3 ปี การที่เจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนการเช่าอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2525 ก็มิได้หมายความว่าสัญญาเช่าเพิ่งเกิดขึ้นในวันดังกล่าว การที่ ห. จดทะเบียนยกที่ดินและอาคารพิพาทให้ภรรยาและบุตร แล้วภรรยาและบุตรของ ห.จดทะเบียนให้ห.มีสิทธิเก็บกินในที่ดินและอาคารพิพาทก่อนวันจดทะเบียนการเช่า ภรรยาและบุตรของ ห.ผู้รับโอนย่อมต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ ห.ทำไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 ภรรยาและบุตรของห.จดทะเบียนโอนที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2530 โจทก์ผู้รับโอนย่อมต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าว โดยต้องยอมให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทจนครบ 11 ปี 5 เดือน การที่ ห.ถึงแก่ความตาย หาทำให้สัญญาเช่าระงับไม่ เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนด และไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขัดขืนคำสั่งศาล: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งศาลโดยตรง
บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 170 มีความมุ่งหมายจะเอาโทษแก่ผู้ที่ได้ขัดขืนหมายหรือคำสั่งของศาลให้มาให้ถ้อยคำ ให้มาเบิกความหรือให้ส่งทรัพย์หรือเอกสารใดในการพิจารณาคดีอันเป็นบทบัญญัติถึงการกระทำความผิดต่อศาลซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมโดยเฉพาะแม้โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยขัดขืนคำสั่งศาลไม่ส่งเงินที่อายัดไว้ไปยังศาลแพ่ง แต่ก็ไม่ใช่ความเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการกระทำผิดของจำเลย เพราะโจทก์จำเลยมิได้มีสิทธิและหน้าที่ต่อกัน การกระทำของจำเลยไม่เป็นการล่วงสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายแก่ทายาท
ผู้ตายขายที่ดินให้โจทก์โดยมีข้อตกลงว่าผู้ตายจะต้องทำถนนจากทางสาธารณะสู่ที่ดินที่ขายให้โจทก์ จำเลยทั้งสองเป็นบุตรอันเป็นทายาทของผู้ตายย่อมรับเอาสิทธิและหน้าที่ของผู้ตายมาด้วย จึงมีหน้าที่ต้องทำถนนและจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายเมื่อทายาทรับช่วงต่อ
ผู้ตายขายที่ดินให้โจทก์โดยมีข้อตกลงว่าผู้ตายจะต้องทำถนนจากทางสาธารณะสู่ที่ดินที่ขายให้โจทก์ จำเลยทั้งสองเป็นบุตรอันเป็นทายาทของผู้ตายย่อมรับเอาสิทธิและหน้าที่ของผู้ตายมาด้วย จึงมีหน้าที่ต้องทำถนนและจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์.