คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิไม่สุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสูญหาย: การรับชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนจากผู้เช่าและประกันภัย ถือเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 3 กำหนดว่า "ผู้เช่าสัญญาว่า (ก)...กรณีที่รถยนต์สูญหาย ผู้เช่ายอมชดใช้ค่ารถยนต์เป็นเงินเท่ากับค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือที่ผู้เช่าจะต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อทันที โดยผู้เช่าจะไม่ยกเหตุที่เจ้าของมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยรายที่ผู้เช่าเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไขของสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 3 (ซ) มาปฏิเสธความรับผิดที่จะต้องชำระราคาดังกล่าวข้างต้น...(ซ) จะประกันภัยรถยนต์โดยทันที...และให้สลักหลังระบุให้เจ้าของเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์เต็มจำนวน...และเงินทั้งหมดที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายและที่ได้จ่ายในกรณีที่รถยนต์ถูกลักหรือเสียหายอย่างสิ้นเชิงตามสัญญาประกันภัยใดๆ ดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทรับประกันภัยจ่ายให้แก่เจ้าของโดยตรงโดยสัญญานี้..." ซึ่งหากเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้ว กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป จำเลยผู้ให้เช่าซื้อได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ทาง โดยได้จากผู้เช่าและจากบริษัทประกันภัย อันเป็นการเกินกว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับ เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันภัยและจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัยก็เพื่อโจทก์จะไม่ต้องเป็นภาระใช้ค่ารถให้แก่จำเลยจึงยอมเสียเบี้ยประกันภัยและจำเลยได้แสดงเจตนาขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยแล้ว จนบริษัทประกันภัยอนุมัติจ่ายเงินให้จำเลย การที่จำเลยรับเงินค่าเช่าซื้อที่เหลือจากโจทก์ หลังจากรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์: การรับชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนจากทั้งผู้เช่าและประกันภัยถือเป็นสิทธิไม่สุจริต
ตามสัญญาเช่าซื้อตกลงกันไว้ว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป จำเลยผู้ให้เช่าซื้อจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ทาง โดยได้จากโจทก์ผู้เช่าและจากบริษัทประกันภัย อันเป็นการเกินกว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับ เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันภัยและจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็เพื่อโจทก์จะไม่ต้องเป็นภาระใช้ค่ารถให้แก่จำเลยจึงยอมเสียเบี้ยประกันภัย และจำเลยได้แสดงเจตนาขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยแล้ว จนบริษัทประกันภัยอนุมัติให้จ่ายเงินให้จำเลย การที่จำเลยรับเงินค่าเช่าซื้อที่เหลือจากโจทก์หลังจากรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตของธนาคารเจ้าหนี้ที่ไม่นำหลักประกันมาหักชำระหนี้แต่คิดดอกเบี้ย
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทระบุให้โจทก์มีสิทธิถอนหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์ได้ทันทีหากจำเลยที่ 1 ผิดนัด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าสินค้าที่โจทก์ชำระแทนไปก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะหักเงินฝากจากบัญชีชำระหนี้แก่โจทก์ได้ทันที ซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์ในการได้รับชำระหนี้บางส่วนและเป็นประโยชน์แก่จำเลยทั้งสามที่จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนต้นเงินส่วนที่ควรหักชำระหนี้ไปนั้น เมื่อไม่ได้ความว่ามีเหตุขัดข้องที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถหักเงินฝากชำระหนี้ได้ การที่โจทก์มิได้หักเงินฝากนอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของโจทก์ตามสัญญาแล้วยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไม่คำนึงถึงประโยชน์ลูกค้าแต่กลับมุ่งหวังประโยชน์ในดอกเบี้ยจากลูกค้าอันเป็นการเอาเปรียบโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ถือได้ว่าการที่โจทก์ไม่หักชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนแต่กลับมาฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ควรได้รับการชำระหนี้แล้ว เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตของผู้ประกอบการขนส่ง กรณีบุตรขับรถบรรทุกน้ำหนักเกินกฎหมาย
ผู้ร้องได้รับอุบัติเหตุขาหักเพียงใส่เหล็กดามไว้ เท่านั้น ไม่ถึงกับไม่สามารถควบคุมดูแลกิจการรถยนต์ โดยสิ้นเชิง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ร้องมาเอารถยนต์ ของกลางไปใช้ซึ่งผู้ร้องในฐานะผู้ประกอบการขนส่งย่อมจะต้อง ทราบดีและน่าจะตักเตือนมิให้จำเลยนำไปบรรทุกน้ำหนัก เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกได้แต่ผู้ร้องก็หาได้กระทำไม่ อีกทั้งผู้ร้องก็ไม่เคยปรากฏตัวในชั้นสอบสวน พฤติการณ์ตามคำร้องและทางนำสืบของผู้ร้องเห็นได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิขอคืนของกลางโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์นั้นในการกระทำผิด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืน โดยไม่ได้ประสงค์จะได้รับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนไปเป็นของผู้ร้อง แต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม: เจ้าของภารยทรัพย์เท่านั้นมีสิทธิอ้างเหตุสิ้นภารจำยอม การใช้สิทธิไม่สุจริตเป็นปัญหาอำนาจฟ้อง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภารจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภารจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส. เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลาดตาข่ายปิดกั้นทางภารจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่าภารจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้ โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภารจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภารจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลอกเลียนเครื่องหมายการค้าและการใช้สิทธิไม่สุจริต แม้สินค้าต่างจำพวกกันก็อาจละเมิดได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก 10ซึ่งเป็นเครื่องบอกเวลาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2494 เป็นรูปมงกุฎห้ายอด บนยอดมงกุฎแต่ละยอดมีจุดกลมสีดำ ใต้มงกุฎมีอักษรโรมันคำว่า ROLEX ส่วนจำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก 39 รายการดินสอ และสินค้าจำพวก 39 ทั้งจำพวกเมื่อปี 2524 และปี 2526 เป็นรูปมงกุฎห้ายอดมีจุดกลมสีดำอยู่บนยอดมงกุฎ ใต้มงกุฎต่างมีอักษรโรมันคำว่าLOlex ซึ่งมีลักษณะตัวอักษรคล้ายคลึงกัน ทั้งยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า "โรเล็กซ์" ด้วย เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะคล้ายคลึงกันมาก แม้จำเลยจะจดทะเบียนในสินค้าต่างจำพวกกับของโจทก์ ก็เป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิด แม้จำเลยจะยังมิได้นำสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแต่การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปทำการจดทะเบียนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปได้ จำเลยลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนำไปจดทะเบียนกับสินค้าคนละประเภทกับโจทก์ ทั้งจำเลยยังมิได้นำสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายในท้องตลาดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเรื่องค่าเสียหาย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทมานานกว่า 80 ปี และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย เป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) นอกเหนือจากการที่เคยใช้สิทธิโต้แย้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ไว้แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าเดิม และการใช้สิทธิไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกในลักษณะประดิษฐ์คล้ายรูปนกอินทรี ซึ่งเป็นนกประเภทเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยรูปนกดังกล่าวเป็นรูปนกในลักษณะกางปีกหลายลำตัวด้านท้องออก หันหัวไปทางด้านซ้ายมือ มีหงอนที่หัวและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีอักษรไทยกำกับภายใต้รูปนกว่า "ตรานกถือเกรียง" ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะสำคัญเป็นรูปนกอินทรีกางปีกหันข้างและขาทั้งสองข้างมิได้ถือเกรียงโบกปูนและอยู่ภายใต้กรอบวงกลมโดยมีอักษรไทยคำว่าบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงจำกัด และอักษรโรมันคำว่า SIAM CITY CEMENT CO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นใน และในอีกลักษณะหนึ่งวางอยู่ในกรอบวงกลมชั้นเดียว เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปนกอินทรี มีลักษณะเด่นคือรูปนกอินทรีที่กางปีกอยู่ในกรอบคล้ายคลึงกันประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรานกอินทรี แม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่รูปเเครื่องหมายกาค้าของจำเลยเป็นรูปนกอินทรีหันหน้าไปทางด้านซ้าย หงายลำตัวด้านท้องออกและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนและมีอักษรไทยคำว่า ตรานกถือเกรียงอยู่ใต้ปูนก็ตาม ก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น ทั้งรูปเกรียงและอักษรไทยดังกล่าวก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่น ไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกต ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมซีเมนต์ แม้จะเป็นสินค้าในจำพวกที่ 1ต่างจำพวกกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวกที่ 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการกสอร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีมานาน และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะบเยนเครื่องหมายการค้าภายหลังโจทก์ 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีหันข้างและกางปีกเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้ จำเลยเคยถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปของมงกุฎ รูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับปูนซีเมนต์ ก็ปากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในรูปของเพชรมีปีก มงกุฎมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลก ใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกในลักษณะประดิษฐ์คล้ายรูปนกอินทรีซึ่งเป็นนกประเภทเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยรูปนกดังกล่าวเป็นรูปนกในลักษณะกางปีกหงายลำตัวด้านท้องออกหันหัวไปทางด้านซ้ายมือมีหงอนที่หัวและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีอักษรไทยกำกับภายใต้รูปนกว่า"ตรานกถือเกรียง"ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะสำคัญเป็นรูปนกอินทรีกางปีกหันข้างและขาทั้งสองข้างมิได้ถือเกรียงโบกปูนและอยู่ภายในกรอบวงกลมโดยมีอักษรไทยคำว่าบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัดและอักษรโรมันคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในและในอีกลักษณะหนึ่งวางอยู่ในกรอบวงกลมชั้นเดียวเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปนกอินทรีมีลักษณะเด่นคือรูปนกอินทรีที่กางปีกอยู่ในกรอบคล้ายคลึงกันประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรานกอินทรีแม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกอินทรีหันหน้าไปทางด้านซ้ายหงายลำตัวด้านท้องออกและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนและมีอักษรไทยคำว่าตรานกถือเกรียงอยู่ใต้รูปนกก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้นทั้งรูปเกรียงและอักษรไทยดังกล่าวก็มีขนาดเล็กไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของจำเลยจำเลยขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมซีเมนต์แม้จะเป็นสินค้าในจำพวกที่1ต่างจำพวกกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวกที่17แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีมานานและได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปจำเลยเพิ่งจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทภายหลังโจทก์20ปีจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีหันข้างและกางปีกเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้จำเลยเคยถูกฟ้องในข้อหาเสียลนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปของมงกุฎรูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในรูปเพชรมีปีกมงกุฏมีปีกและสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับโจทก์เป็นคู่ๆโดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า 'น้ำมันมวย' เลียนแบบ สร้างความสับสนแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีข้อความว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรไทยคำว่า "น้ำมันมวย" และอักษรโรมันคำว่า "BOXINGLINIMENT" ก็ตาม แต่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย"รวมทั้งรูปภาพลวดลายและรูปรอยประดิษฐ์ที่ปรากฏบนกล่องสินค้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2498และผลิตน้ำมันสำหรับใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อย และเหน็บชา ออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้านั้นมาตลอด โจทก์ได้โฆษณาสินค้าผ่านสื่อสารมวลชน ป้ายโฆษณา โดยการทำของชำร่วย และโฆษณาในรายการอุปถัมภ์กีฬาจำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" กับสินค้าน้ำมันสำหรับทาถูนวด แก้ปวดเมื่อย และเหน็บชาที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายอย่างแพร่หลายมาเป็นวลานาน จำเลยมีเจตนาใช้คำว่า "น้ำมันมวย" เป็นส่วนหนึ่งในการ-ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์สินค้าของโจทก์ได้ผลิตแล้วนำออกขายภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย"มาก่อนจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" ถึง30 ปีเศษ สินค้าของโจทก์เป็นสินค้าที่แพร่หลายจนทำให้เครื่องหมายการค้าคำว่า"น้ำมันมวย" เกิดลักษณะบ่งเฉพาะ ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่นแล้ว แม้คำว่า"น้ำมันมวย" โจทก์จะไม่มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียวก็ตาม การที่จำเลยเจตนาจะใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" กับสินค้าน้ำมันนวดกล้ามอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ ก็โดยอาศัยคำว่า "น้ำมันมวย"เป็นหลักอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และสินค้าของจำเลยที่จะผลิตต่อไปเป็นของเจ้าของเดียวกัน หากจำเลยมีเจตนาสุจริตก็สามารถใช้คำอี่นที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแทนเพื่อไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ การที่จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง"กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" เป็นเครื่องหมาย-การค้าในสินค้าจำพวก 3 น้ำมันนวดกล้ามได้
of 4