คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าคงเหลือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าคงเหลือที่ขาดหาย การตรวจสอบพยานหลักฐานตามมาตรา 20 พ.ร.รษฎากรชอบแล้ว
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจสอบเอกสารบัญชีคุมสินค้าของโจทก์ซึ่งมีรายการสินค้าที่ขาดและเกินจากบัญชี โดยนำเอามูลค่าของสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าตามที่โจทก์ตรวจนับเองมาคำนวณเป็นรายได้เท่ากับยอดขายสินค้า โดยถือว่าโจทก์ขายสินค้าดังกล่าวแล้วไม่ลงบัญชีหรือลงบัญชีต่ำไป แต่เมื่อโจทก์ชี้แจงถึงเหตุที่สินค้าขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าหลายประการ เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมให้โจทก์นำรายการสินค้าที่เกินจากบัญชีมาหักออกจากรายการสินค้าที่ขาดจากบัญชีสำหรับสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แล้วแก้รายการที่โจทก์ยื่นไว้เดิมว่าโจทก์มีรายได้จากการขายสินค้าที่ขาดจำนวนในบัญชีคุมสินค้านั้น เป็นวิธีประเมินด้วยการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ปรากฏตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 20 มิได้ประเมินตามมาตรา 77/1 (8) (จ) จึงเป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนอากรขาเข้า: จำเลยต้องยื่นคำร้องภายในกำหนด หากไม่ยื่น แม้มีสินค้าเหลือ ก็ไม่มีสิทธิหักออกจากภาษีที่ต้องชำระ
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ กำหนดเงื่อนไขในการคืนอากรขาเข้าให้แก่ผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วได้ผลิตหรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุ ด้วยของดังกล่าวและส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศไว้ว่า ผู้นำสินค้าเข้าต้องขอคืนเงินอากรภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนอากรสำหรับสินค้าทั้งสองรายการที่จำเลยอ้างขอตัดบัญชีได้อีกภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 ทวิ และไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนไว้เลย จึงไม่อาจนำจำนวนสินค้าทั้งสองรายการดังกล่าวไปหักออกจากสินค้าคงเหลือซึ่งเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินเรียกเก็บจากจำเลย จำเลยต้องชำระเงินค่าภาษีอากรและเงินเพิ่มที่ค้างชำระแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าคงเหลือไม่ตรงรายงาน ถือเป็นการขายตามกฎหมายภาษีอากร
โจทก์มีปริมาณสินค้าคงเหลือ ณ สถานประกอบการของโจทก์ต่ำกว่าปริมาณสินค้าตามรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จึงต้องถือว่าโจทก์มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้า ซึ่งตามมาตรา 77/1 (8) (จ) แห่ง ป.รัษฎากรให้ถือเป็นการขายการที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินว่าโจทก์มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าเป็นสินค้าที่โจทก์ได้ขายไปแล้ว จึงเป็นการถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากสินค้าคงเหลือขาดหาย ถือเป็นการขายตามกฎหมาย
โจทก์มีปริมาณสินค้าคงเหลือ ณ สถานประกอบการของโจทก์ต่ำกว่าปริมาณสินค้าตามรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จึงต้องถือว่าโจทก์มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้า ซึ่งตามมาตรา 77/1(8)(จ)แห่งประมวลรัษฎากรให้ถือเป็นการขาย การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินว่าโจทก์มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าเป็นสินค้าที่โจทก์ได้ขายไปแล้ว จึงเป็นการถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: สินค้าคงเหลือต่ำกว่ารายงานถือเป็นการขาย, หลักฐานการเก็บสินค้าที่อื่นไม่น่าเชื่อถือ
โจทก์มีปริมาณสินค้าคงเหลือ ณ สถานประกอบการของโจทก์ต่ำกว่าปริมาณสินค้าตามรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จึงต้องถือว่าโจทก์มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้า ซึ่งตามมาตรา 77/1(8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากรให้ถือเป็นการขาย การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินว่าโจทก์มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าเป็นสินค้าที่โจทก์ได้ขายไปแล้ว จึงเป็นการถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าคงเหลือ สถานประกอบการหลายแห่ง การยื่นคำขอรวม
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 14 และมาตรา 77 ซึ่งหากผู้ต้องเสียภาษีไม่ยื่นเสียภาษีหรือเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินเมื่อ ตรวจสอบพบแล้วจะทำการประเมินภาษีแล้วแจ้งจำนวนภาษีที่จะต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18เมื่อรับแจ้งแล้วผู้ต้องเสียภาษียังมีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และต่อศาลต่อไปตามลำดับได้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ก่อนทำการประเมินและแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษี ยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ต้องเสียภาษีเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอนเมื่อยังถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอน ผู้ต้องเสียภาษีจึงยังไม่อาจที่จะตกลงสละสิทธิหรือประนีประนอมยอมความในหนี้ภาษีนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ได้ ฉะนั้นข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงที่โจทก์ได้ทำไว้ก่อนมีการประเมินภาษีดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับในข้อนี้ ดังจะเห็นได้ว่าต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวยอมรับการอุทธรณ์รวมทั้งวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ซึ่งหากจำเลยที่ 1เห็นว่าบันทึกข้อตกลงของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้หนี้ภาษีอากรระงับและโจทก์มีความผูกพันต้องชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามข้อต่อสู้และตามที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องรับอุทธรณ์การประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้อีก กรณียังฟังไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลง ของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้การเรียกร้องหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องจากโจทก์ระงับ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(20) และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534มาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสี่นั้น แม้สถานที่เก็บสินค้าจะถือว่าเป็นสถานที่ประกอบกิจการซึ่งในกรณีปกติจะต้องยื่นคำขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือเป็นรายสถานประกอบการก็ดี แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าหากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันแล้ว ในการขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการดังกล่าวยื่นคำขอเครดิตรวมกัน คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันแล้ว และโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือที่สำนักงานใหญ่ที่สาขาและที่เก็บสินค้ารวมกันแล้ว นอกจากนี้ยังปรากฏว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 เห็นชอบในกรณีนี้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือของโจทก์ที่เก็บไว้ในคลังสินค้าเลขที่ 9/2 หมู่ที่ 6 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลงอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และเลขที่ 19-23 ซอยพิชิตถนนมหาไชยแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ด้วย ในบัญชีระบุพยานโจทก์อ้างระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแสดงแบบรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2535ลงวันที่ 6 มกราคม 2535 และระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 22 กันยายน 2536 เป็นพยานแต่ศาลภาษีอากรกลางมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสินค้าที่ไม่ได้ลงบัญชี ไม่ถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี "รายได้" จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ สำหรับการขายสินค้าไปเพียงใด ในราคาเท่าใด สามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไป การที่เพียงแต่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้า และไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี จะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ถือเอากรณีดังกล่าวเป็นการขายสินค้า สำหรับบทบัญญัติตามมาตรา 79 ทวิ (6) ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติว่า ถ้าผู้ประกอบการค้า ตามประเภทการค้า 1 และประเภทการค้า 2 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีสินค้าเกินจากบัญชีคุมสินค้า ขาดจากบัญชีคุมสินค้า หรือมีสินค้าโดยไม่ทำหรือลงบัญชีคุมสินค้า ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับนั้น ก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับภาษีการค้า จะนำมาเทียบเคียงใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าที่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่มีสินค้าคงเหลือปลายงวด
ประมวลรัษฎากรมาตรา65ให้จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี"รายได้"จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำสำหรับการขายสินค้าไปเพียงใดในราคาเท่าใดสามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไปกล่าวคือตรวจสอบจากปริมาณสินค้าคงเหลือต้นงวดบวกด้วยปริมาณสินค้าที่ซื้อมาในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อให้ได้ปริมาณสินค้าที่มีเพื่อขายทั้งสิ้นแล้วหักด้วยปริมาณสินค้าที่เหลือปลายงวดรวมทั้งบิลขายและบัญชีขายก็จะทราบถึงปริมาณและราคาของสินค้าที่ขายไปแต่การที่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การถือเป็นรายได้จากการไม่มีบัญชีคุมสินค้าและสินค้าคงเหลือ
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี"รายได้"จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำสำหรับการขายสินค้าไปเพียงใดในราคาเท่าใดสามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไปการที่เพียงแต่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ถือเอากรณีดังกล่าวเป็นการขายสินค้าสำหรับบทบัญญัติตามมาตรา79ทวิ(6)ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติว่าถ้าผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า1และประเภทการค้า2แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้ามีสินค้าเกินจากบัญชีคุมสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้าหรือมีสินค้าโดยไม่ทำหรือลงบัญชีคุมสินค้าให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับนั้นก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับภาษีการค้าจะนำมาเทียบเคียงใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2536 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาสินค้าคงเหลือต่ำกว่าทุนและผลกระทบต่อกำไรสุทธิภายใต้ประมวลรัษฎากร
โจทก์ตีราคาสินค้าคงเหลือที่ซื้อมาเกิน 3 ปี ให้ต่ำกว่าทุนโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 15 ของราคาทุน แล้วคำนวณกำไรสุทธิโดยถือราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดซึ่งน้อยกว่าราคาทุนในรอบระยะเวลาบัญชีของปีนั้น ซึ่งราคาสินค้าคงเหลือนี้เป็นราคาที่บริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย เคยรับซื้อคืนจากตัวแทนจำหน่ายเป็นการกำหนดราคาจากวิธีคำนวณตามวิชาสถิติการจำหน่าย มิใช่หลักเกณฑ์ที่โจทก์กำหนดเองต้องตามเงื่อนไขในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6) แล้ว
of 3