พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดเครื่องหมายการค้า WAXY: จำเลยจำหน่ายสินค้าปลอมคุณภาพด้อยกว่า ทำให้โจทก์เสียหายต่อชื่อเสียงและยอดขาย
โจทก์จะเป็นผู้ผลิตสินค้าน้ำยาเคลือบเบาะหนังหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์เป็น เจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปและคำว่า WAXY ใช้กับสินค้าน้ำยาเคลือบเบาะหนัง จำเลยทั้งสองทำเครื่องหมายการค้ารูปและคำว่า WAXY ใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันของจำเลยทั้งสองโดยไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายใด ๆ ที่โจทก์ได้รับจากการกระทำของจำเลยทั้งสองได้
ลูกค้าซึ่งซื้อสินค้าที่มีผู้ปลอมเครื่องหมายการค้า WAXY ของโจทก์จากจำเลยทั้งสองย่อมได้รับความเสียหาย เฉพาะได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพโดยเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายในส่วนนี้ เมื่อฟังข้อเท็จจริงได้ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้น้อยลง ย่อมถือเป็นความเสียหายส่วนหนึ่งของโจทก์ที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิด
ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าของโจทก์ที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมยอดขายสินค้าของโจทก์ให้สูงขึ้นนั้นเมื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามปกติของการทำการค้าอยู่แล้วซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกปี ทั้งค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าของโจทก์ในปี 2541 และในปี 2542 ก็ไม่แตกต่างจากปีก่อน ๆ มากนัก ซึ่งโจทก์ได้รับประโยชน์จากการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าของโจทก์ดังกล่าวแล้ว จึงไม่อาจถือเป็นความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองได้
ลูกค้าซึ่งซื้อสินค้าที่มีผู้ปลอมเครื่องหมายการค้า WAXY ของโจทก์จากจำเลยทั้งสองย่อมได้รับความเสียหาย เฉพาะได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพโดยเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายในส่วนนี้ เมื่อฟังข้อเท็จจริงได้ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้น้อยลง ย่อมถือเป็นความเสียหายส่วนหนึ่งของโจทก์ที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิด
ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าของโจทก์ที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมยอดขายสินค้าของโจทก์ให้สูงขึ้นนั้นเมื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามปกติของการทำการค้าอยู่แล้วซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกปี ทั้งค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าของโจทก์ในปี 2541 และในปี 2542 ก็ไม่แตกต่างจากปีก่อน ๆ มากนัก ซึ่งโจทก์ได้รับประโยชน์จากการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าของโจทก์ดังกล่าวแล้ว จึงไม่อาจถือเป็นความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเสนอขายสินค้าปลอมที่มีเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนอกราชอาณาจักร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ยังใช้บังคับ
การที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 มีบทบัญญัติมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 ซึ่งกำหนดให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดทางอาญาเป็นเพราะเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนในราชอาณาจักรจะได้รับความคุ้มครองสำหรับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เฉพาะในเขตพื้นที่ภายในราชอาณาจักรเท่านั้น ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรแต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักรไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 46วรรคแรก เว้นแต่จะเป็นกรณีที่มีบุคคลอื่นเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 46 วรรคสอง ส่วนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อน พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมได้ด้วย แม้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 มิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนนอกราชอาณาจักรไว้เช่นนั้นก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯเมื่อพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ เป็นกฎหมายเฉพาะซึ่งใช้บังคับในภายหลังมาตรา 3 วรรคแรก ให้ยกเลิกเฉพาะพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2504 เท่านั้น มิได้ให้ยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ด้วย ทั้งไม่อาจถือว่ามาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ขัดหรือแย้งกับมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ บทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 จึงมิได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ดังนั้นการที่จำเลยเสนอจำหน่ายสินค้ากระเป๋าที่มีเครื่องหมายการค้าซึ่งมีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร จึงมีความผิดและต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ การเสนอขายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า
การอ้างหนังสือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นพยานเอกสารมิได้มีกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องมีโนตารีปับลิกเป็นพยานและต้องมีเจ้าหน้าที่สถานทูตของประเทศไทยรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกดังเช่นหนังสือมอบอำนาจที่ได้กระทำในต่างประเทศ
ป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไว้นอกราชอาณาจักร โดยให้สิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอมได้ การที่ผู้เสียหายไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยไม่อาจถือว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
ป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไว้นอกราชอาณาจักร โดยให้สิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอมได้ การที่ผู้เสียหายไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยไม่อาจถือว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537-4540/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า ความผิดกรรมเดียว การริบของกลาง และการแก้ไขโทษ
คดีความผิดอันไม่อาจยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนหรือดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายมอบอำนาจช่วงโดยชอบหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานอัยการโจทก์มีคำสั่งและฟ้อง การสอบสวนตลอดจนอำนาจฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำคือ และเครื่องหมายการค้าเป็นคำว่า "SQUARE D" แยกต่างหากจากกัน ผู้เสียหายจึงมีสิทธิที่จะเลือกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเครื่องหมายใดเครื่องหมายหนึ่งเพียงเครื่องหมายเดียวกับสินค้าของตน หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งสองเครื่องหมายประกอบกันกับสินค้าของตนก็ได้ การเสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอม แม้จะเป็นการปลอมเพียงเครื่องหมายเดียวก็อาจเป็นความผิดตามฟ้องได้
มาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ใช้บังคับเมื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคล เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และลงโทษมาตรา 114 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง
สินค้าของกลางทั้งสี่สำนวนจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าวในคราวเดียวกัน เพียงแต่จำเลยแบ่งสินค้านำไปวางเสนอจำหน่ายเพื่อหากำไรหลายสถานที่ แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสี่สำนวน เมื่อมีการรวมพิจารณาจึงต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว
การมีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร และเมื่อพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางตามมาตรา 115 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 อันเป็นบททั่วไปอีก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/43 )
ผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำคือ และเครื่องหมายการค้าเป็นคำว่า "SQUARE D" แยกต่างหากจากกัน ผู้เสียหายจึงมีสิทธิที่จะเลือกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเครื่องหมายใดเครื่องหมายหนึ่งเพียงเครื่องหมายเดียวกับสินค้าของตน หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งสองเครื่องหมายประกอบกันกับสินค้าของตนก็ได้ การเสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอม แม้จะเป็นการปลอมเพียงเครื่องหมายเดียวก็อาจเป็นความผิดตามฟ้องได้
มาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ใช้บังคับเมื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคล เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และลงโทษมาตรา 114 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง
สินค้าของกลางทั้งสี่สำนวนจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าวในคราวเดียวกัน เพียงแต่จำเลยแบ่งสินค้านำไปวางเสนอจำหน่ายเพื่อหากำไรหลายสถานที่ แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสี่สำนวน เมื่อมีการรวมพิจารณาจึงต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว
การมีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร และเมื่อพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางตามมาตรา 115 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 อันเป็นบททั่วไปอีก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/43 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537-4540/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียว สินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า การริบของกลาง และการปรับบท
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว โดยแบ่ง สินค้าแยกวางเสนอจำหน่ายในสถานที่ต่างกันนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 มีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าว ในคราวเดียวกัน เพียงแต่แยกวางจำหน่ายในสถานที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลาง เป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตใน ราชอาณาจักร และไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์สินค้าของกลางตาม ประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นบททั่วไปอีก
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลาง เป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตใน ราชอาณาจักร และไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์สินค้าของกลางตาม ประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ – ความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าปลอม – คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดโดยร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายปลอมดังกล่าวแก่ประชาชนเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมระบุว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันเห็นได้ว่าเวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นเวลาเดียวกันเพราะแม้คำฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเวลากระทำผิดเป็นระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531แต่ก็ระบุว่าวันเวลาใดไม่ปรากฎชัดจึงอาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวก็เป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าใบชากลิ่นมะลิเหมือนกันและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งปรากฎในคำฟ้องคดีเดิมว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อร้านต่างๆทั่วไปในกรุงเทพมหานครซึ่งคำฟ้องคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าเกิดที่กรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันดังนี้ความผิด2กรรมที่โจทก์ทั้งสองคดีฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกันทั้งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกันความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิมเมื่อฟังได้ความว่าคดีอาญาเดิมศาลแขวงดุสิตได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วโจทก์จึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าติดเครื่องหมายการค้าปลอม แม้มีเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ยังคงเป็นสินค้าปลอมตามกฎหมาย
การที่ถุงเท้าของกลางมีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหายติดอยู่ แม้จะมีเครื่องหมายการค้าของจำเลยติดอยู่ด้วย ก็หาทำให้เครื่องหมายการค้าปลอมที่ติดอยู่กลับเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงไม่ และถุงเท้าดังกล่าวย่อมถือเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าปลอม ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นแล้วนำไปติดประทับไว้ที่กระสอบซึ่งมีข้าวสารเจ้าบรรจุอยู่ และร่วมกันเสนอจำหน่ายและจำหน่ายข้าวสารเจ้านั้นแก่ผู้ซื้อข้าวสารเจ้าทั้งหมดจึงเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยทั้งสองใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การยึดสินค้าปลอมและการดำเนินการตามกฎหมายโดยเจ้าพนักงาน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าฮาริสของบริษัทอ. ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ต่างประเทศ โจทก์เคยสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากจำเลยที่ 1ย่อมรู้จัก รอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของสินค้าที่จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนจำหน่ายได้ดี การที่โจทก์ที่ 1 สั่งสินค้ามาตรวัดความดันแก๊สของกลางซึ่งมีเครื่องหมายการค้าฮาริสปลอมเข้ามาจำหน่ายโดยเจตนาให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสินค้าของบริษัทอ.จึงทำให้บริษัทดังกล่าวเสียหายเป็นการละเมิด ดังนั้น จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อ.ให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ละเมิดสิทธิดังกล่าว จึงมีสิทธิมอบให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินการตามกฎหมายกับโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเมื่อได้รับแจ้งความแล้วได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายตามอำนาจหน้าที่และโดยสุจริต กล่าวคือทำการตรวจค้น เมื่อได้ความว่าสินค้าของกลางมีการนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเข้าลักษณะความผิดทางอาญา จึงได้ยึดสินค้าดังกล่าวเป็นของกลางแล้วมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อไปการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและกงสุลไทยแห่งเมืองนั้นรับรองอีกชั้นหนึ่งว่าเป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริงเป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า: ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า และประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดทางอาญา โดยมิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร ส่วนการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 6 ที่จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร และของผู้เสียหายที่ 7 ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามฟ้องว่า สินค้าในคดีนี้มีทั้งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วทั้งในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยในส่วนของการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในราชอาณาจักรของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นความผิดฐานจำหน่ายและเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 ส่วนการกระทำของจำเลยในส่วนของการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ 7 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 อีกบทหนึ่งต่างหาก