พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนในการสูญหายของสินค้า โดยมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าสินค้าแผ่นเหล็กจำนวน 1 แผ่นรอง น้ำหนัก 1,426 กิโลกรัม สูญหายไปโดยตู้สินค้าและดวงตราผนึกตู้อยู่ในสภาพปกติเรียบร้อย ทั้งในระหว่างการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุก รถบรรทุกจะนำตู้สินค้าหลบไปที่ใดก็ได้ การลักขโมยสินค้าน่าจะกระทำได้โดยสะดวกกว่าขณะตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรือ อเล็กซานเดรีย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าสินค้าสูญหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ก่อนที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าไว้แก่เจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรืออเล็กซานเดรีย จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายดังกล่าว
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ดังนี้ เมื่อตามใบตราส่งพิพาทข้อ 27 ได้กำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ เท่ากับผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงยกเว้นความรับผิดไว้ ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 824 ดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งหรือโจทก์
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ดังนี้ เมื่อตามใบตราส่งพิพาทข้อ 27 ได้กำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ เท่ากับผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงยกเว้นความรับผิดไว้ ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 824 ดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งหรือโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อสินค้าสูญหายหลังส่งมอบให้ท่าเรือ: สิ้นสุดเมื่อใด?
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของโดยตรง ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการออกใบตราส่งเท่านั้น แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันขนส่งสินค้าโดยมิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการออกใบตราส่ง แต่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ตัวการร่วมขนส่งสินค้ากับจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการวินิจฉัยหรือพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ว่าคดีรับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ในคำฟ้องหรือไม่เท่านั้น
จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งเป็นผู้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ได้ขนส่งตู้สินค้าที่บรรจุสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางและส่งมอบตู้สินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยชอบแล้ว หน้าที่ดูแลสินค้าของจำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชอบในการสูญหายของสินค้าที่เกิดขึ้นในขณะที่สินค้าอยู่ในความอารักขาของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1,500,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายและดอกเบี้ยคิดคำนวณถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 4,429,810.90 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จทุนทรัพย์เฉพาะส่วนที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงมีเพียง 2,886,660.22 บาท โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 72,167.50 บาท
จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งเป็นผู้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ได้ขนส่งตู้สินค้าที่บรรจุสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางและส่งมอบตู้สินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยชอบแล้ว หน้าที่ดูแลสินค้าของจำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชอบในการสูญหายของสินค้าที่เกิดขึ้นในขณะที่สินค้าอยู่ในความอารักขาของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1,500,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายและดอกเบี้ยคิดคำนวณถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 4,429,810.90 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จทุนทรัพย์เฉพาะส่วนที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงมีเพียง 2,886,660.22 บาท โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 72,167.50 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมื่อสินค้าสูญหายหลังยึดและอนุญาตให้ส่งออก
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกตรวจสินค้าของโจทก์แล้วพบว่าโจทก์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ จึงยึดสินค้าดังกล่าวแล้วนำไปฝากไว้ในตู้เก็บสินค้า โดยผนึกตะกั่วประทับตราของจำเลยที่ 1 ไว้ การเปิดตู้เก็บสินค้าจะกระทำมิได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าดังกล่าวไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ แต่สินค้าสูญหายไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4844/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายจากสินค้าสูญหาย, ค่าขาดกำไร, และการหักกลบลบหนี้ค่าระวาง
การที่จำเลยจัดการหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ในนามของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัท อ. มีผลประโยชน์ร่วมกันในการรับฝากสินค้าของโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์โดยมีบำเหน็จค่าฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 657 และมาตรา 659 วรรคสอง เมื่อจำเลยกับพวกมิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าดังกล่าวต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหาได้ไม่
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4844/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหาย จำเลยมีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทในเครือ
การที่จำเลยจัดหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าจากโจทก์ในนามของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัทดังกล่าวมีผลประโยชน์ร่วมกันในการรับฝากสินค้าของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์โดยมีบำเหน็จค่าฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 และมาตรา 659 วรรคสอง และเนื่องจากสินค้าได้สูญหายเพราะถูกคนร้ายลักเอาไป ทำให้การส่งคืนสินค้าแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยซึ่งเกิดจากจำเลยกับพวกไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยต้องรับผิดชอบในการสูญหายของสินค้าต่อโจทก์
เมื่อสินค้าได้สูญหายไปอันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามราคาของสินค้าที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่สินค้านั้นสูญหายไป โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าที่สูญหายมาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย จำเลยย่อมทราบดีเพราะจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปี การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยแต่โจทก์นำสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายอันแท้จริงไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
หนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าที่สูญหายที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนแน่นอนแล้วและโจทก์จะต้องรับผิดชำระหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้นำหนี้ทั้งสองจำนวนมาหักกลบลบกันได้โดยให้มีผลในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้
จำเลยได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย 2 จำนวนพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และวันที่ 18 เมษายน 2541 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวน เมื่อคิดระยะเวลานับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนจนถึงวันฟ้องแย้งจะเป็นระยะเวลา 8 เดือน 19 วันกับ 7 เดือน 16 วัน แต่จำเลยขอคิดระยะเวลาที่จะนำมาคำนวณดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องเพียง 8 เดือนและ7 เดือน ที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งโดยคิดดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวนแรกนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และในต้นเงินจำนวนที่ 2 นับแต่วันที่ 18 เมษายน 2541 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นการเกินคำขอในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
เมื่อสินค้าได้สูญหายไปอันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามราคาของสินค้าที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่สินค้านั้นสูญหายไป โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าที่สูญหายมาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย จำเลยย่อมทราบดีเพราะจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปี การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยแต่โจทก์นำสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายอันแท้จริงไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
หนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าที่สูญหายที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนแน่นอนแล้วและโจทก์จะต้องรับผิดชำระหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้นำหนี้ทั้งสองจำนวนมาหักกลบลบกันได้โดยให้มีผลในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้
จำเลยได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย 2 จำนวนพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และวันที่ 18 เมษายน 2541 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวน เมื่อคิดระยะเวลานับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนจนถึงวันฟ้องแย้งจะเป็นระยะเวลา 8 เดือน 19 วันกับ 7 เดือน 16 วัน แต่จำเลยขอคิดระยะเวลาที่จะนำมาคำนวณดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องเพียง 8 เดือนและ7 เดือน ที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งโดยคิดดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวนแรกนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และในต้นเงินจำนวนที่ 2 นับแต่วันที่ 18 เมษายน 2541 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นการเกินคำขอในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4844/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของผู้รับขนส่งต่อสินค้าสูญหาย, ค่าเสียหาย, ค่าขาดกำไร, การหักกลบลบหนี้
การที่จำเลยจัดการหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ในนามของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัท อ. มีผลประโยชน์ร่วมกันในการรับฝากสินค้าของโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์ โดยมีบำเหน็จค่าฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657และมาตรา 659วรรคสอง เมื่อจำเลยกับพวกมิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าดังกล่าวต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหาได้ไม่
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9836/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีขนส่งสินค้าสูญหาย: กรณีทุจริตของผู้ขนส่ง
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันประกอบกิจการขนส่งรับส่งสินค้าเม็ดกาแฟดิบของโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 5 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่ง เมื่อจำเลยที่ 5 ได้ร่วมกับพวกลักเอาเมล็ดกาแฟดิบของโจทก์ไปในระหว่างการขนส่ง ถือได้ว่าการขนส่งดังกล่าวมีการทุจริตของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ร่วมขนส่งจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่สูญหายแก่โจทก์ด้วย ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องคดีเกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่ควรจะส่งมอบก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล F.I.O.S.T. ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายและสูญหายของสินค้า
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ประกันภัย รับช่วงสิทธิ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลททาง online ++
++
++
++
++ คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยจำนวน 582,295.18บาท และรับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนลโปรดักส์ ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่งจำนวน 35,390.02 บาท มาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นคดีเดียวกัน
++ การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในการรับช่วงสิทธิแต่ละรายแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์มาฟ้องเป็นคดีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท คดีในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
++ อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า กากเม็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายและไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
++
++ สำหรับกรณีโจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัดนั้น ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยกากถั่วเหลืองจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ที่จำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยใช้เรือเตาฮัวหลิงจากเมืองแดนดอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังท่าเรือในประเทศไทย เพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงท่าเรือในประเทศไทย ปรากฏว่าบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ได้รับมอบกากถั่วเหลืองไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 โดยขาดไป 123.57เมตริกตัน โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน582,295.15 บาท ให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 และรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลอันจะทำให้จำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดสำหรับความสูญหายดังกล่าวต่อบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งหรือไม่ เพียงใด
++ เห็นว่า โจทก์มีใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16ถึง จ.19 ใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง 11 และหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงว่าบริษัทเซรอยฟู๊ด เลียนนิ่ง เซรีลส์ แอนด์ ออยล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ตจำกัด ผู้ส่งได้ส่งกากถั่วเหลืองจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน มาให้บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ทางเรือเดินทะเลชื่อเตาฮัวหลิง โดยผู้แทนเรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งได้ลงชื่อออกใบตราส่งเอกสารหมายจ.16 ถึง จ.19 ระบุว่า กากถั่วเหลืองดังกล่าวได้บรรทุกบนเรือในลักษณะเทกอง (IN BULK) รวมน้ำหนัก 4,773.150 เมตริกตัน ตั้งแต่วันที่28 กันยายน 2536 แม้จะได้ความว่า การขนส่งรายนี้เป็นการขนส่งแบบF.I.O.S.T. ซึ่งผู้ส่งมีหน้าที่บรรทุกของลงเรือด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองก็ตาม แต่ก่อนการบรรทุกกากถั่วเหลืองลงเรือก็ได้มีการตรวจสอบน้ำหนักของกากถั่วเหลืองโดยนำไปชั่งน้ำหนักบนตาชั่งที่ตรวจสอบแล้วและชั่งน้ำหนักได้ 4,773.150 เมตริกตัน ปรากฏตามหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักของสำนักงานตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนสาขาเลียนนิ่ง เอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 การที่เรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 ให้แก่ผู้ส่งสินค้าโดยระบุว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งกากถั่วเหลืองลงเรือแล้วในลักษณะเทกอง และระบุจำนวนน้ำหนักไว้ชัดเจนว่ากากถั่วเหลืองมีน้ำหนักจำนวน4,773.150 เมตริกตัน ตรงกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 และใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.11 ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ระบุโดยผู้ส่ง
++ จึงเชื่อได้ว่าผู้ส่งของได้ส่งมอบกากถั่วเหลืองลงเรือเตาฮัวหลิงครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งคือจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน แต่ต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงประเทศไทย นายสราวุธ ภู่เจริญยศ พนักงานของบริษัท พี แอนด์ เอ แอดจัสเม้นท์ จำกัด ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้สำรวจความเสียหายของสินค้าพยานโจทก์เบิกความว่า นายสราวุธได้ทำการสำรวจกากถั่วเหลืองแล้ว ปรากฏว่ากากถั่วเหลืองที่ขนถ่ายออกจากเรือทั้งหมดมีน้ำหนัก 4,649.58 เมตริกตัน ขาดจำนวนจากใบตราส่งไป123.57 เมตริกตัน หรือร้อยละ 2.59 ตามรายงานการสำรวจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24
++ นายสราวุธเป็นพนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับจ้างสำรวจความสูญหายและเสียหายของสินค้าไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด คำเบิกความจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
++ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายขาดจำนวนไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลซึ่งจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยทางทะเลไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิดังกล่าวของผู้เอาประกันมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่งสินค้านั้นได้
++ ส่วนปัญหาว่า เรียกร้องได้เพียงใดนั้น
++ แม้จะได้ความจากคำเบิกความของนายสราวุธประกอบรายงานการสำรวจเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24 ว่า ในการขนถ่ายสินค้าใช้เครื่องตักก้ามปูตักกากถั่วเหลืองจากเรือลงรถยนต์บรรทุกแล้วแล่นไปชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การขนถ่ายโดยวิธีการใช้เครื่องตักดังกล่าวทำให้กากถั่วเหลืองร่วงหล่นสูญเสียไปบ้างเล็กน้อยซึ่งผู้รับตราส่งต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนนี้เอง เพราะเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือตามข้อตกลงในการขนส่งแบบ F.I.O.S.T. ก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้หักค่าเสียหายส่วนนี้ให้แล้ว โดยหักเป็นความเสียหายส่วนแรกที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามเงื่อนไขการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.7 จำนวนร้อยละ 1 ของน้ำหนักสินค้าทั้งหมดซึ่งคิดเป็นจำนวน 47.731 เมตริกตัน ออกจากน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนทั้งหมด คงเหลือน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนสุทธิ 75.839 เมตริกตัน คำนวณเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งสิ้น 582,295.15 บาท รายละเอียดปรากฏตามหนังสือเรียกร้องเอกสารหมาย จ.29 และ จ.30 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลททาง online ++
++
++
++
++ คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยจำนวน 582,295.18บาท และรับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนลโปรดักส์ ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่งจำนวน 35,390.02 บาท มาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นคดีเดียวกัน
++ การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในการรับช่วงสิทธิแต่ละรายแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์มาฟ้องเป็นคดีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท คดีในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
++ อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า กากเม็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายและไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
++
++ สำหรับกรณีโจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัดนั้น ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยกากถั่วเหลืองจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ที่จำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยใช้เรือเตาฮัวหลิงจากเมืองแดนดอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังท่าเรือในประเทศไทย เพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงท่าเรือในประเทศไทย ปรากฏว่าบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ได้รับมอบกากถั่วเหลืองไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 โดยขาดไป 123.57เมตริกตัน โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน582,295.15 บาท ให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 และรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลอันจะทำให้จำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดสำหรับความสูญหายดังกล่าวต่อบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งหรือไม่ เพียงใด
++ เห็นว่า โจทก์มีใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16ถึง จ.19 ใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง 11 และหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงว่าบริษัทเซรอยฟู๊ด เลียนนิ่ง เซรีลส์ แอนด์ ออยล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ตจำกัด ผู้ส่งได้ส่งกากถั่วเหลืองจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน มาให้บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ทางเรือเดินทะเลชื่อเตาฮัวหลิง โดยผู้แทนเรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งได้ลงชื่อออกใบตราส่งเอกสารหมายจ.16 ถึง จ.19 ระบุว่า กากถั่วเหลืองดังกล่าวได้บรรทุกบนเรือในลักษณะเทกอง (IN BULK) รวมน้ำหนัก 4,773.150 เมตริกตัน ตั้งแต่วันที่28 กันยายน 2536 แม้จะได้ความว่า การขนส่งรายนี้เป็นการขนส่งแบบF.I.O.S.T. ซึ่งผู้ส่งมีหน้าที่บรรทุกของลงเรือด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองก็ตาม แต่ก่อนการบรรทุกกากถั่วเหลืองลงเรือก็ได้มีการตรวจสอบน้ำหนักของกากถั่วเหลืองโดยนำไปชั่งน้ำหนักบนตาชั่งที่ตรวจสอบแล้วและชั่งน้ำหนักได้ 4,773.150 เมตริกตัน ปรากฏตามหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักของสำนักงานตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนสาขาเลียนนิ่ง เอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 การที่เรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 ให้แก่ผู้ส่งสินค้าโดยระบุว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งกากถั่วเหลืองลงเรือแล้วในลักษณะเทกอง และระบุจำนวนน้ำหนักไว้ชัดเจนว่ากากถั่วเหลืองมีน้ำหนักจำนวน4,773.150 เมตริกตัน ตรงกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 และใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.11 ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ระบุโดยผู้ส่ง
++ จึงเชื่อได้ว่าผู้ส่งของได้ส่งมอบกากถั่วเหลืองลงเรือเตาฮัวหลิงครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งคือจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน แต่ต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงประเทศไทย นายสราวุธ ภู่เจริญยศ พนักงานของบริษัท พี แอนด์ เอ แอดจัสเม้นท์ จำกัด ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้สำรวจความเสียหายของสินค้าพยานโจทก์เบิกความว่า นายสราวุธได้ทำการสำรวจกากถั่วเหลืองแล้ว ปรากฏว่ากากถั่วเหลืองที่ขนถ่ายออกจากเรือทั้งหมดมีน้ำหนัก 4,649.58 เมตริกตัน ขาดจำนวนจากใบตราส่งไป123.57 เมตริกตัน หรือร้อยละ 2.59 ตามรายงานการสำรวจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24
++ นายสราวุธเป็นพนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับจ้างสำรวจความสูญหายและเสียหายของสินค้าไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด คำเบิกความจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
++ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายขาดจำนวนไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลซึ่งจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยทางทะเลไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิดังกล่าวของผู้เอาประกันมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่งสินค้านั้นได้
++ ส่วนปัญหาว่า เรียกร้องได้เพียงใดนั้น
++ แม้จะได้ความจากคำเบิกความของนายสราวุธประกอบรายงานการสำรวจเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24 ว่า ในการขนถ่ายสินค้าใช้เครื่องตักก้ามปูตักกากถั่วเหลืองจากเรือลงรถยนต์บรรทุกแล้วแล่นไปชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การขนถ่ายโดยวิธีการใช้เครื่องตักดังกล่าวทำให้กากถั่วเหลืองร่วงหล่นสูญเสียไปบ้างเล็กน้อยซึ่งผู้รับตราส่งต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนนี้เอง เพราะเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือตามข้อตกลงในการขนส่งแบบ F.I.O.S.T. ก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้หักค่าเสียหายส่วนนี้ให้แล้ว โดยหักเป็นความเสียหายส่วนแรกที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามเงื่อนไขการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.7 จำนวนร้อยละ 1 ของน้ำหนักสินค้าทั้งหมดซึ่งคิดเป็นจำนวน 47.731 เมตริกตัน ออกจากน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนทั้งหมด คงเหลือน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนสุทธิ 75.839 เมตริกตัน คำนวณเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งสิ้น 582,295.15 บาท รายละเอียดปรากฏตามหนังสือเรียกร้องเอกสารหมาย จ.29 และ จ.30 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหายและราคาสินค้าที่แท้จริง การบังคับคดีดอกเบี้ยเกินคำฟ้อง
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางอากาศ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ส่งสินค้าซึ่งทำด้วยทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น ไปให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ลูกค้าที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทางเครื่องบินของจำเลยที่ 2 เมื่อเครื่องบินขนสินค้ามาถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 30 สิงหาคม 2540 ปรากฏว่าสินค้าได้สูญหายไปทั้งหีบห่อ โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ขอชดใช้ให้เป็นเงินจำนวน 15,000 บาท มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ประเด็นแรกว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องไว้จากบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วหรือไม่ ในประเด็นนี้นางสาวมาลีตันฑ์วณิช ผู้จัดการฝ่ายรับประกันวินาศภัยของโจทก์เบิกความว่า โจทก์รับประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น จากบริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ซึ่งจะขนสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยทางเครื่องบิน โดยรับประกันภัยไว้เป็นเงินจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ขายได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์โดยทางเครื่องบินเพื่อส่งมอบให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าดังกล่าว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1ได้รับสินค้าไว้เรียบร้อยครบจำนวนแล้วได้ออกใบตราส่งทางอากาศให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งตามเอกสารหมาย จ.6 จากนั้นจำเลยที่ 1ได้จ้างจำเลยที่ 2 อีกทอดหนึ่งให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์ เครื่องบินลำที่ขนส่งสินค้าดังกล่าวไปถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2540 แต่ปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวสูญหายไปทั้งหีบห่อในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 เมื่อสินค้าสูญหายบริษัทผู้เอาประกันภัยได้เรียกร้องค่าเสียหายไปยังจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองไม่ชดใช้ให้ บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยจึงเรียกร้องมายังโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย โจทก์พิจารณาเห็นว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายไปทั้งหมดจริง จึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัทดังกล่าวไปจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเงินไทยเท่ากับ307,294 บาท เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2541 แล้วบริษัทผู้เอาประกันภัยดังกล่าวได้ออกใบรับช่วงสิทธิให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามเอกสารหมาย จ.9เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้รับประกันภัยจากบริษัทเอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด พร้อมทั้งมีกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.4 มาแสดง นอกจากนั้นเมื่อสินค้าได้สูญหายและโจทก์ได้ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว บริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียลงวันที่ 15 มกราคม 2541 ตามเอกสารหมาย จ.9 ให้โจทก์ ซึ่งถ้าหากมิได้มีการประกันภัยสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 817 ชิ้นที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องกันไว้และมิได้มีการใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กันจริง โจทก์ก็คงจะไม่ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่แฟคตอรี่ จำกัด และบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ก็คงจะไม่ออกใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียให้โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่พอให้เชื่อว่าโจทก์ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด โดยไม่ได้มีการประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แล้วโจทก์สมคบกันกับบริษัทดังกล่าวโดยทุจริตยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทนั้นไปเพียงเพื่อจะได้เข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทนั้นมาฟ้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งแต่อย่างใด เชื่อว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องและได้จ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจริงส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างในอุทธรณ์ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้รับประกันภัยก่อนขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้นั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายโจทก์ถามติงว่า เหตุที่วันที่ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นวันหลังจากวันที่ออกใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 เพราะโจทก์ตกลงกับบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ซึ่งเป็นนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ว่า ให้ออกเอกสารแสดงการรับประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยไปก่อนและรวบรวมส่งให้โจทก์เป็นรายเดือน แล้วโจทก์ก็จะนำไปออกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับสมบูรณ์คือเอกสารหมาย จ.4 ในเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 แผ่นแรก ก็ระบุถึงวันที่บริษัทนายหน้าออกเอกสารไว้ว่า วันที่ 29 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ทำการขนส่งดังที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.6จากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเชื่อว่าบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัดรับประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องไว้แทนโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2540ก่อนที่จะเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่เอาประกันภัย ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพันต่อผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้านั้นที่จะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องที่ต้องสูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางอากาศของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2ผู้ขนส่งซึ่งต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ และที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นเพียงสำเนาเอกสาร รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามกฎหมายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านไว้แล้วนั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4มีเอกสารแนบท้ายซึ่งเป็นของบริษัทนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ เอกสารที่แนบท้ายเอกสารดังกล่าวมีเพียงฉบับเดียว ดังปรากฏตามที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้น กรมธรรม์ประกันภัยทำเป็นคู่ฉบับ ซึ่งเป็นต้นฉบับ 2 ฉบับ และทำสำเนาหลายฉบับ ส่งไปให้ผู้เอาประกันภัย 1 ฉบับ และตัวแทนรับประกันภัยของโจทก์ 1 ฉบับ ด้วยอันแสดงว่าเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 บริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้นเพียงฉบับเดียว ดังนั้น ต้นฉบับจึงต้องอยู่กับผู้เอาประกันภัย คือบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัดเพราะโจทก์ต้องส่งต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยพร้อมเอกสารแนบท้ายไปให้ผู้เอาประกันภัยด้วย โจทก์จึงเหลือเพียงต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยตามเอกสารหมาย จ.4 อีก 1 ฉบับ และสำเนาเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ที่โจทก์ทำไว้เท่านั้น เหตุที่ต้นฉบับเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 มิได้อยู่ที่โจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาสืบ และรับฟังสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า สินค้าที่ขนส่งมีราคาเท่าใด และจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดหรือไม่เพียงใดนั้น เห็นว่า ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 ในช่องลักษณะและจำนวนของสินค้า (รวมทั้งขนาดวัดและความจุ) แจ้งรายละเอียดว่าเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอย สินค้ามีขนาดวัด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ต้นกำเนิดประเทศไทย ใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็ม เอ 004/97 และเมื่อพิจารณาประกอบกับใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็มเอ 004/97 ตามเอกสารหมาย จ.5แล้วปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวระบุรายละเอียดว่า รวมราคาสินค้าส่งถึงบนเครื่องบิน กรุงเทพฯ จำนวน 817 ชิ้น น้ำหนัก 1,931 กรัม จำนวน1,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเชื่อว่าราคาสินค้าที่ขนส่งเป็นเงินจำนวน11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จริง ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมายจ.6 ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าสินค้ามีราคาเพียง15,000 บาท ตามราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอชดใช้ให้โจทก์นั้น ปรากฏว่าสินค้าที่สูญหายไปเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยซึ่งเป็นของมีค่าและมีจำนวน817 ชิ้น มีน้ำหนักถึง 1,931 กรัม ซึ่งย่อมจะต้องมีราคาสูง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงรับฟังไม่ได้เพราะขัดต่อเหตุผล เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ทำให้สินค้าอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งซึ่งเอาประกันภัยสินค้านั้นไว้แก่โจทก์ตามราคาสินค้าที่ขนส่งที่แท้จริง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษามาชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มกราคม 2541 อันเป็นวันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์นั้นปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปคือวันที่ 15 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันฟ้องเป็นเวลา 7 เดือนเศษ แต่โจทก์ขอคิดเพียง 7 เดือน ไม่ขอคิดดอกเบี้ยในเศษ 13 วัน ด้วย เป็นเงินดอกเบี้ยจำนวน 13,444.11 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 320,738.11 บาท และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 320,738.11 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี ในต้นเงินจำนวน 307,294 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาท เป็นเวลา 13 วัน ซึ่งโจทก์มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 ชำระรวมเข้าไปด้วย อันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 320,738.11บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง.
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ส่งสินค้าซึ่งทำด้วยทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น ไปให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ลูกค้าที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทางเครื่องบินของจำเลยที่ 2 เมื่อเครื่องบินขนสินค้ามาถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 30 สิงหาคม 2540 ปรากฏว่าสินค้าได้สูญหายไปทั้งหีบห่อ โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ขอชดใช้ให้เป็นเงินจำนวน 15,000 บาท มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ประเด็นแรกว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องไว้จากบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วหรือไม่ ในประเด็นนี้นางสาวมาลีตันฑ์วณิช ผู้จัดการฝ่ายรับประกันวินาศภัยของโจทก์เบิกความว่า โจทก์รับประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น จากบริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ซึ่งจะขนสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยทางเครื่องบิน โดยรับประกันภัยไว้เป็นเงินจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ขายได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์โดยทางเครื่องบินเพื่อส่งมอบให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าดังกล่าว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1ได้รับสินค้าไว้เรียบร้อยครบจำนวนแล้วได้ออกใบตราส่งทางอากาศให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งตามเอกสารหมาย จ.6 จากนั้นจำเลยที่ 1ได้จ้างจำเลยที่ 2 อีกทอดหนึ่งให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์ เครื่องบินลำที่ขนส่งสินค้าดังกล่าวไปถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2540 แต่ปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวสูญหายไปทั้งหีบห่อในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 เมื่อสินค้าสูญหายบริษัทผู้เอาประกันภัยได้เรียกร้องค่าเสียหายไปยังจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองไม่ชดใช้ให้ บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยจึงเรียกร้องมายังโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย โจทก์พิจารณาเห็นว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายไปทั้งหมดจริง จึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัทดังกล่าวไปจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเงินไทยเท่ากับ307,294 บาท เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2541 แล้วบริษัทผู้เอาประกันภัยดังกล่าวได้ออกใบรับช่วงสิทธิให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามเอกสารหมาย จ.9เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้รับประกันภัยจากบริษัทเอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด พร้อมทั้งมีกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.4 มาแสดง นอกจากนั้นเมื่อสินค้าได้สูญหายและโจทก์ได้ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว บริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียลงวันที่ 15 มกราคม 2541 ตามเอกสารหมาย จ.9 ให้โจทก์ ซึ่งถ้าหากมิได้มีการประกันภัยสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 817 ชิ้นที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องกันไว้และมิได้มีการใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กันจริง โจทก์ก็คงจะไม่ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่แฟคตอรี่ จำกัด และบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ก็คงจะไม่ออกใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียให้โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่พอให้เชื่อว่าโจทก์ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด โดยไม่ได้มีการประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แล้วโจทก์สมคบกันกับบริษัทดังกล่าวโดยทุจริตยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทนั้นไปเพียงเพื่อจะได้เข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทนั้นมาฟ้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งแต่อย่างใด เชื่อว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องและได้จ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจริงส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างในอุทธรณ์ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้รับประกันภัยก่อนขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้นั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายโจทก์ถามติงว่า เหตุที่วันที่ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นวันหลังจากวันที่ออกใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 เพราะโจทก์ตกลงกับบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ซึ่งเป็นนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ว่า ให้ออกเอกสารแสดงการรับประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยไปก่อนและรวบรวมส่งให้โจทก์เป็นรายเดือน แล้วโจทก์ก็จะนำไปออกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับสมบูรณ์คือเอกสารหมาย จ.4 ในเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 แผ่นแรก ก็ระบุถึงวันที่บริษัทนายหน้าออกเอกสารไว้ว่า วันที่ 29 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ทำการขนส่งดังที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.6จากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเชื่อว่าบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัดรับประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องไว้แทนโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2540ก่อนที่จะเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่เอาประกันภัย ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพันต่อผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้านั้นที่จะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องที่ต้องสูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางอากาศของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2ผู้ขนส่งซึ่งต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ และที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นเพียงสำเนาเอกสาร รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามกฎหมายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านไว้แล้วนั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4มีเอกสารแนบท้ายซึ่งเป็นของบริษัทนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ เอกสารที่แนบท้ายเอกสารดังกล่าวมีเพียงฉบับเดียว ดังปรากฏตามที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้น กรมธรรม์ประกันภัยทำเป็นคู่ฉบับ ซึ่งเป็นต้นฉบับ 2 ฉบับ และทำสำเนาหลายฉบับ ส่งไปให้ผู้เอาประกันภัย 1 ฉบับ และตัวแทนรับประกันภัยของโจทก์ 1 ฉบับ ด้วยอันแสดงว่าเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 บริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้นเพียงฉบับเดียว ดังนั้น ต้นฉบับจึงต้องอยู่กับผู้เอาประกันภัย คือบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัดเพราะโจทก์ต้องส่งต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยพร้อมเอกสารแนบท้ายไปให้ผู้เอาประกันภัยด้วย โจทก์จึงเหลือเพียงต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยตามเอกสารหมาย จ.4 อีก 1 ฉบับ และสำเนาเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ที่โจทก์ทำไว้เท่านั้น เหตุที่ต้นฉบับเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 มิได้อยู่ที่โจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาสืบ และรับฟังสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า สินค้าที่ขนส่งมีราคาเท่าใด และจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดหรือไม่เพียงใดนั้น เห็นว่า ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 ในช่องลักษณะและจำนวนของสินค้า (รวมทั้งขนาดวัดและความจุ) แจ้งรายละเอียดว่าเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอย สินค้ามีขนาดวัด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ต้นกำเนิดประเทศไทย ใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็ม เอ 004/97 และเมื่อพิจารณาประกอบกับใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็มเอ 004/97 ตามเอกสารหมาย จ.5แล้วปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวระบุรายละเอียดว่า รวมราคาสินค้าส่งถึงบนเครื่องบิน กรุงเทพฯ จำนวน 817 ชิ้น น้ำหนัก 1,931 กรัม จำนวน1,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเชื่อว่าราคาสินค้าที่ขนส่งเป็นเงินจำนวน11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จริง ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมายจ.6 ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าสินค้ามีราคาเพียง15,000 บาท ตามราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอชดใช้ให้โจทก์นั้น ปรากฏว่าสินค้าที่สูญหายไปเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยซึ่งเป็นของมีค่าและมีจำนวน817 ชิ้น มีน้ำหนักถึง 1,931 กรัม ซึ่งย่อมจะต้องมีราคาสูง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงรับฟังไม่ได้เพราะขัดต่อเหตุผล เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ทำให้สินค้าอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งซึ่งเอาประกันภัยสินค้านั้นไว้แก่โจทก์ตามราคาสินค้าที่ขนส่งที่แท้จริง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษามาชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มกราคม 2541 อันเป็นวันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์นั้นปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปคือวันที่ 15 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันฟ้องเป็นเวลา 7 เดือนเศษ แต่โจทก์ขอคิดเพียง 7 เดือน ไม่ขอคิดดอกเบี้ยในเศษ 13 วัน ด้วย เป็นเงินดอกเบี้ยจำนวน 13,444.11 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 320,738.11 บาท และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 320,738.11 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี ในต้นเงินจำนวน 307,294 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาท เป็นเวลา 13 วัน ซึ่งโจทก์มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 ชำระรวมเข้าไปด้วย อันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 320,738.11บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลในกรณีสินค้าสูญหายจากการเปลี่ยนตราผนึกตู้สินค้า
การขนส่งสินค้าระบบ ซีวาย/ซีวาย เป็นการขนส่งที่ผู้ส่งสินค้าต้นทางจะเป็นผู้ไปรับตู้สินค้าจากผู้ขนส่งไปบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าที่โกดังของผู้ส่งสินค้า แล้วนำตู้สินค้ามามอบให้แก่ผู้ขนส่ง เมื่อขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วผู้รับตราส่งจะเป็นผู้รับตู้สินค้าไปเปิดตรวจนับสินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเอง เมื่อใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกระบุไว้ว่าสถานที่รับสินค้า โตเกียว ซีวาย สถานที่ส่งมอบสินค้า กรุงเทพ ซีวาย แสดงว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับตู้สินค้าจากบริษัท ค. ที่ท่าเรือโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนถึงท่าเรือกรุงเทพ แล้ว บริษัท ค. จะเป็นผู้รับสินค้าไปตรวจนับสินค้าเอง หากสภาพตู้สินค้าและตราผนึกประตูตู้สินค้าอยู่ในสภาพปกติก็ย่อมแสดงว่าสินค้ามิได้สูญหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าก็หาต้องรับผิดในกรณีสินค้าใน ตู้สินค้าสูญหายไปไม่ แต่ตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่งได้ความว่า ตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าพิพาทที่โจทก์รับประกันภัยระบุตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล 27209 ครั้นจำเลยร่วมขนส่งตู้สินค้า ดังกล่าวมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ปรากฏว่าตู้สินค้ามีตราผนึกประตูตู้สินค้าเป็นหมายเลข เอสพีไอซี 051682 ซึ่งไม่ปรากฏว่าเหตุใดตราผนึกประตูตู้สินค้าที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น การที่จำเลยร่วมออก ใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อรับมอบตู้สินค้า แม้จะได้ระบุหมายเลขตู้สินค้า แต่มิได้ระบุว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าคือหมายเลขใด กรณีที่ยังไม่แน่ชัดว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล 27209 ถูกเปลี่ยนเป็นหมายเลข เอสพีไอซี 051682 ก่อนหรือภายหลังจากที่จำเลยร่วมรับมอบตู้สินค้าจากท่าเรือสิงคโปร์ เมื่อประตูตู้สินค้าได้ถูกเปิดออกในระหว่างการขนส่งสินค้าจากท่าเรือโตเกียวช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่จะถึงท่าเรือกรุงเทพและสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้รับประกันภัยสูญหายไป จึงถือได้ว่าความสูญหายเกิดขึ้นขณะที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชอบในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ให้คำนิยาม "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และให้คำนิยาม "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง แต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อันหรือหน่วยที่เรียกอย่างอื่น ดังนั้น คำว่า "ตู้" ที่ยกตัวอย่างในคำนิยาม ย่อมหมายความรวมถึงตู้สำหรับบรรจุสินค้าหรือของอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กต่างจากตู้สินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและสามารถบรรจุภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าขนาดเล็กดังกล่าวได้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ดังนั้น ตู้สินค้าซึ่งเรียกกันในวงการว่า ตู้คอนเทนเนอร์ จึงเป็นภาชนะขนส่ง ส่วน ตู้ เป็นหน่วยการขนส่งดังมาตรา 3 บัญญัติให้คำนิยามไว้โดยชัดแจ้งแล้ว มิใช่ว่า ตู้ หรือ ตู้สินค้ามีความหมายเป็นได้ทั้งหน่วยการขนส่งและภาชนะขนส่ง เมื่อ ตู้สินค้า ไม่ใช่หน่วยการขนส่ง 1 หน่วย จึงไม่อาจที่จะจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่เกิน 10,000 บาท ได้
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ให้คำนิยาม "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และให้คำนิยาม "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง แต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อันหรือหน่วยที่เรียกอย่างอื่น ดังนั้น คำว่า "ตู้" ที่ยกตัวอย่างในคำนิยาม ย่อมหมายความรวมถึงตู้สำหรับบรรจุสินค้าหรือของอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กต่างจากตู้สินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและสามารถบรรจุภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าขนาดเล็กดังกล่าวได้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ดังนั้น ตู้สินค้าซึ่งเรียกกันในวงการว่า ตู้คอนเทนเนอร์ จึงเป็นภาชนะขนส่ง ส่วน ตู้ เป็นหน่วยการขนส่งดังมาตรา 3 บัญญัติให้คำนิยามไว้โดยชัดแจ้งแล้ว มิใช่ว่า ตู้ หรือ ตู้สินค้ามีความหมายเป็นได้ทั้งหน่วยการขนส่งและภาชนะขนส่ง เมื่อ ตู้สินค้า ไม่ใช่หน่วยการขนส่ง 1 หน่วย จึงไม่อาจที่จะจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่เกิน 10,000 บาท ได้