คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินบน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ซ่อนเร้นคนต่างด้าว vs. ให้สินบนเจ้าพนักงาน
ความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และความผิดฐานร่วมกันให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 144 เป็นความผิดที่ผู้กระทำการจะต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน กฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นความผิดและมีบทลงโทษสำหรับความผิดแต่ละอย่างแตกต่างกัน และลักษณะแห่งการกระทำความผิดสามารถแยกส่วนจากกันได้ แสดงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดในแต่ละการกระทำเป็นกรณีไป แม้เหตุการณ์ที่จำเลยทั้งสองถูกจับกุมจะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกับการกระทำผิดอีกฐานหนึ่งก็ตาม จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายและความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน: การพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 และ 3
เมทแอมเฟตามีน 2 ถุง จำนวน 4,000 เม็ด ฝังดินอยู่ข้างบ่อน้ำในบริเวณรั้วบ้านของจำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2 ชี้จุดที่ซุกซ่อน เมทแอมเฟตามีนให้เจ้าพนักงานตำรวจถ่ายรูปไว้ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสนอให้เงินเจ้าพนักงานตำรวจ 200,000 บาท เพื่อไม่ให้ดำเนินคดีต่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นสามีภริยาอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน แสดงพฤติการณ์ว่าต่างยอมรับการกระทำของแต่ละฝ่ายเป็นการกระทำของตน จึงเป็นตัวการกระทำความผิดด้วยกันในการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรโชกทรัพย์โดย ส.ส. - ข่มขู่ใช้ข้อมูลสินบนในสภาเพื่อเรียกเงิน - ไม่ผิด ม.149
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละตอนกันเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านว่าการสอบสวนไม่ชอบ ย่อมถือว่าการสอบสวนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ว่าการจับกุมจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมายก็ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีนี้ของโจทก์ ฎีกาของจำเลยถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
วันเกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โทรศัพท์ไปข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมมอบเงินและรถยนต์แก่ตนโดยพูดขู่เข็ญว่าจะนำเรื่องผู้บริหารของบริษัท ท. ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามข่าวในหนังสือพิมพ์ ม. ไปอภิปรายในรัฐสภาและให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์ อันเป็นการทำอันตรายต่อชื่อเสียงและทรัพย์สินของบริษัท ท. ซึ่งมี ป. เป็นประธานกรรมการบริษัทและมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ช่วยบริหารงานของบริษัท จนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมยอมจะให้เงินสด 1,000,000 บาท กับรถยนต์กระบะ 1 คันแก่จำเลยตามที่ต่อรองตกลงกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ มีหน้าที่ควบคุมการบริหารงานราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีโดยการอภิปรายและตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรีนั้น ๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับในช่วงเกิดเหตุในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา จำเลยมีสิทธิที่จะนำเรื่องที่มีข่าวในหนังสือพิมพ์ในทำนองว่าผู้บริหารบริษัท ท. ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไปอภิปรายในรัฐสภาโดยอภิปรายถึงการกระทำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งการอภิปรายจะต้องเชื่อมโยงไปถึงผู้บริหารของบริษัท ท. แต่เรื่องที่จำเลยจะนำไปอภิปรายจะต้องเป็นความจริงหรือจำเลยเชื่อว่าเป็นความจริงจำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่นำความอันเป็นเท็จไปอภิปรายในรัฐสภาได้ การที่โจทก์และโจทก์ร่วมอ้างว่าที่จำเลยพูดขู่เข็ญโจทก์ร่วมเกี่ยวกับเรื่องผู้บริหารของบริษัท ท.ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยแกล้งกล่าวหาเพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมให้เงินและรถยนต์แก่จำเลยเพื่อแลกกับการที่จำเลยจะไม่นำเรื่องดังกล่าวไปอภิปรายในรัฐสภา กรณีตามคำฟ้องไม่ใช่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งมีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐได้พบเห็นหรือรู้เห็นความผิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่รับสินบนจากผู้บริหารของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดขึ้นจริงแล้วจำเลยใช้เหตุดังกล่าวมาเป็นข้อต่อรองเรียกรับทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมโดยมิชอบ เพื่อแลกกับการที่จำเลยจะไม่นำเรื่องดังกล่าวไปอภิปรายในรัฐสภาตามตำแหน่งหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐเรียกรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพื่อนำไปจ่ายสินบนเจ้าหน้าที่ศาล ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
พยานแวดล้อมกรณีคือพยานเหตุผลที่จะทำให้ศาลเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงบางอย่างอยู่หรือไม่ซึ่งจะต้องมีการใช้เหตุผลอนุมานเอาอีกต่อหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ภาค2รับฟังคำของส.เจ้าของบ้านอันเป็นสถานที่ที่มีการเรียกเงินและเป็นผู้แนะนำให้หาผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความให้กับคำของท. เพื่อนบ้านของผู้กล่าวหาซึ่งผู้กล่าวหายืมเงิน40,000บาทเพื่อนำไปให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาจึงมารู้เห็นเหตุการณ์อันเป็นพยานแวดล้อมที่มีรายละเอียดประกอบชอบด้วยเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่ามีข้อเท็จจริงบางอย่างอยู่จึงไม่ขัดต่อวิธีพิจารณาความ พยานคู่กันนั้นไม่จำเป็นต้องรู้เห็นเหตุการณ์หรือเบิกความได้ตรงกันหมดทุกตอนจึงจะรับฟังได้พยานอาจเบิกความสนับสนุนบางตอนเท่าที่ตนรู้เห็นจริงซึ่งขึ้นอยู่กับศิลปะในการซักถามพยานของพนักงานอัยการหรือทนายความผู้ว่าคดีด้วยในเมื่อพยานเบิกความในสาระสำคัญตรงกันว่าผู้ถูกกล่าวหาได้เรียกเงินจากผู้กล่าวหาโดยอ้างว่าจะเอาไปให้พนักงานอัยการและผู้พิพากษาโดยเฉพาะคำเบิกความของพยานทุกปากไม่มีทนายความช่วยเหลือซักถามเป็นการเบิกความเล่าเรื่องต่อศาลเองแต่ยังคงได้ความในสาระสำคัญตรงกันเช่นนี้ย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือว่ามีการอ้างว่าจะเอาเงินไปให้พนักงานอัยการและผู้พิพากษาจริง แม้การอ้างว่าจะเอาเงินไปให้ผู้พิพากษาจะกระทำนอกบริเวณศาลแต่การอ้างเช่นว่านั้นก็เพื่อเป็นอามิสสินจ้างในการดำเนินคดีในศาลผลที่เกิดขึ้นจึงมุ่งหมายให้มีผลในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลโดยเฉพาะคดีนี้ยังมีการทวงถามเงินดังกล่าวในบริเวณศาลอันเป็นการกระทำต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการเรียกเงินจากผู้กล่าวหาด้วยจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5973/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับสินบนละเว้นการจับกุม ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา เมื่อได้พบและกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมและนายสุเธียรมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอันมิใช่การแกล้งกล่าวหา การที่จำเลยที่ 1 ไม่จับกุมแต่กลับขู่เข็ญเรียกเงินแล้วละเว้นไม่จับกุมโจทก์ร่วมและนายสุเธียร จึงไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะมาด้วย ก็ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปและเป็นบทที่โจทก์ฟ้องมาได้ สำหรับจำเลยที่ 2 มิใช่เจ้าพนักงานแต่ร่วมกระทำผิดฐานนี้ด้วย จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความร้องทุกข์คดีฉ้อโกง - การให้เงินเพื่อประกันตัว/ค่าทนาย vs. สินบนเจ้าพนักงาน
จำเลยพูดขอเงินจากโจทก์ร่วมจำนวน 600,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกันตัวบุตรของโจทก์ร่วมและจำเลยจะหาทนายความให้โจทก์ร่วมต่อรองจำนวนเงินลงเหลือ 400,000 บาท จำเลยตกลง ข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังได้เพียงว่าโจทก์ร่วมให้เงินจำเลยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยในการที่จะหาทนายความให้บุตรของโจทก์ร่วม และเป็นค่าใช้จ่ายในการขอปล่อยชั่วคราวบุตรของโจทก์ร่วมเท่านั้น ยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าโจทก์ร่วมให้เงินจำเลยนำเงินไปให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยจะนำสินบนไปให้เจ้าพนักงานอันเป็นการใช้ให้จำเลยกระทำผิด โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย ความผิดอันยอมความกันได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจรับสินบนละเว้นการแจ้งข้อหาความผิดน้ำหนักบรรทุกเกินกฎหมาย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายจำเลยพบ อ. ขับรถยนต์บรรทุกเกินน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด จำเลยได้จับกุม อ. ย่อมถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจตามตำแหน่งหน้าที่แล้ว เมื่อจำเลยรับเงินจากผู้เสียหายแล้ว จำเลยกลับละเว้นไม่กระทำการในตำแหน่งหน้าที่ที่จะต้องแจ้งข้อหาแก่ อ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ให้สินบน: แม้จะได้รับความเสียหาย แต่หากร่วมกระทำผิดให้สินบนกับจำเลย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อนำไปมอบให้พนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งช่วยเหลือให้โจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินสินบน ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้ใช้ให้จำเลยไปกระทำความผิดแม้จำเลยรับเงินไปแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนนำจับตาม พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด สิทธิเป็นของผู้แจ้งเท่านั้น
พระราชบัญญัติ ญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2477 มาตรา 3 กำหนดให้ผู้กระทำผิดตามมาตราที่ระบุไว้ เมื่อถูกศาลพิพากษาลงโทษแล้วต้องผูกพันในการจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้จับ นำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานด้วย แต่ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนแก่บุคคลดังกล่าวได้ ส่วนมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติ มาตรา ชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องเพื่อเอาโทษแก่ผู้กระทำผิด แต่การชำระเงินค่าสินบนมิใช่โทษจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 39 ที่ให้อำนาจพนักงานอัยการร้องขอให้บังคับผู้กระทำผิดได้ กรณีเป็นเรื่องที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จับนำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานเท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาลพนักงานอัยการไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบเงินเพื่อฝากความหวังในการบรรจุงานราชการ ไม่ถือเป็นความร่วมมือในการให้สินบน
จำเลยกับพวกเรียกเงินจากผู้เสียหายโดยบอกว่าจะนำไปมอบให้พลตำรวจโทส. เป็นค่าตอบแทนในการที่จะให้บุตรชายของผู้เสียหายบรรจุเข้าเป็นนายตำรวจโดยไม่ต้องสอบ จะบรรจุเป็นการภายในเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนอะไรผู้เสียหายไม่ทราบเป็นเรื่องที่ฝ่ายจำเลยจะนำไปจัดการ ต่อมาบุตรชายผู้เสียหายไม่ได้เข้ารับราชการกรมตำรวจ ดังนี้ การที่ผู้เสียหายมอบเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยกับพวกเรียกจากผู้เสียหายในลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องยังไม่แน่ชัดว่าผู้เสียหายให้เงินไปเพื่อให้จำเลยกับพวกนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆ โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย หรือโดยอิทธิพลของจำเลยกับพวกให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่บุตรชายผู้เสียหาย จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร่วมกับจำเลยและพวกนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ผู้เสียหายย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
of 11