คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินบริคณห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ระหว่างสมรส และผลของการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์กับ ช. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2480 ตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ช. ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1466 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ ตามมาตรา 1462 วรรคสอง เดิม ช. ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทตั้งแต่ปี 2509 และปี 2529 ช. ได้จดทะเบียนให้จำเลยเช่า 30 ปี ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตกลงเป็นอย่างอื่น ช. จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการตึกแถวพิพาทได้ฝ่ายเดียวมาแต่แรกตามมาตรา 1468 เดิม และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ท้าย พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบรรพ 5 ใหม่นี้ ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้จัดการสินบริคณห์แต่ฝ่ายเดียวให้ถือว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ยินยอมให้คู่สมรสนั้นจัดการสินสมรสด้วย ช. เพียงฝ่ายเดียวจึงมีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 เดิม นิติกรรมการเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ของสามีภายใต้กฎหมายที่ใช้บังคับก่อนและหลังการตรวจชำระ
โจทก์กับ ป.อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ใช้บังคับ จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับ ป.ได้มาเมื่อปี 2491 เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.พ.ศ.2477มาตรา 1468, 1473 และมาตรา 1462 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ป.ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้ แม้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 จะบัญญัติว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน และมาตรา1480 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตาม แต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 ป.สามีโจทก์ จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 บัญญัติไว้ และอำนาจจัดการนั้น มาตรา 1477 ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่า ให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย
ป.สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป.กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน
การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกันตาม ป.พ.พ.ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสก่อนและหลังการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับปรับปรุง
โจทก์กับป. อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ใช้บังคับจึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับป. ได้มาเมื่อปี2491เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1468,1473และมาตรา1462อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมาที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นป. ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1476จะบัญญัติว่านอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นสามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันและมาตรา1480วรรคสองบัญญัติว่าในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตามแต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา7ของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ป. สามีโจทก์จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา7ของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519บัญญัติไว้และอำนาจจัดการนั้นมาตรา1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่าให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ป. สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างป. กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน การสมรสระหว่างโจทก์กับป. ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้วแม้ต่อมาโจทก์กับป. ได้จดทะเบียนสมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปี2522ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับป. ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจำหน่ายสินสมรส: สามีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยาผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี2513ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466,1462วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับผ. ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ.จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1468,1473วรรคหนึ่งเดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วบรรพ5ที่แก้ไขใหม่ในปี2519พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของผ. ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่ และการแบ่งสินสมรสหลังการขาย
ที่พิพาทเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ของโจทก์ และจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 อำนาจจัดการนั้นตามมาตรา 1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้รวมถึงกรณีจำหน่ายด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่พิพาทในวันที่ 24 เมษายน 2533 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ไม่อาจเพิกถอน การโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้เท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งของโจทก์ในสินสมรส ซึ่งการแบ่งสินสมรสจะมีได้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่พิพาทแก่โจทก์ กฎหมายก็ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากัน และศาลมิได้มีคำสั่งให้แยกสินสมรส จึงยังไม่มีการแบ่งสินสมรสกัน โจทก์จึงยังไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสและการจำหน่ายที่ดิน: อำนาจของสามีในการจำหน่ายสินบริคณห์ที่ได้มาก่อนใช้กฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1477บัญญัติว่าอำนาจจัดการสินสมรส รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้นที่มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สามีซึ่งมีอำนาจจัดการสินบริคณห์หาแต่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ คงมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ต่อไปภายหลังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว หากการจำหน่ายสินบริคณห์นั้นไม่ใช่กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดิน สินบริคณห์ และความยินยอมในการทำนิติกรรม การสัตยาบันหนี้ และการดำเนินกระบวนพิจารณา
การที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์และผู้ร้องทราบนัดแล้วไม่ไปศาลตามนัดโดยศาลมิได้สั่งงดสืบพยาน ศาลจึงดำเนินกระบวนพิจารณาไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดระเบียบ
เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอกันส่วนแล้วไม่คัดค้าน กรณีเป็นเรื่องพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ ศาลไม่ต้องนัดสืบพยานจำเลย
คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้นไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้วก็นำไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินได้ หาเป็นโมฆะไม่
การที่ผู้ร้องทำหนังสือระบุว่า ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนอง รวมทั้งกิจการอื่นที่กระทำไปโดยผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้น เสมือนผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ถือว่า ผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ก่อหนี้กับผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การจัดการสินบริคณห์, และขอบเขตความรับผิดของประกันภัย
คำฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิดได้บรรยายชัดแจ้งพอสมควรว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร ค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะหลักฐานและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นเรื่องที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมสามีเป็นผู้จัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาหรือการใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ โจทก์สมรสกับภริยาก่อนใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด เพื่อความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ได้ เพราะบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสได้มีอยู่แล้ว
โจทก์จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดมือและเท้าอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้การได้เป็นปกติ แต่โจทก์กะประมาณค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโดยปราศจากพยานสนับสนุน เป็นการพ้นวิสัยที่ศาลจะหยั่งรู้ได้แน่นอนความเสียหายมีเพียงใด ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ และสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 วรรคสอง
จำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลย ที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญา แต่จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลย ที่ 2 กับจำเลย ที่ 3 หาได้ไม่
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลดค่าเสียหายซึ่งจำเลย ที่ 2 จะต้องชดใช้ให้โจทก์น้อยลง และการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลย ที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการขับรถประมาท, ค่าเสียหาย, การจัดการสินบริคณห์, การรับประกันภัย, และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้อง
คำฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิดได้บรรยายชัดแจ้งพอสมควรว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร ค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเงินเท่าใดจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะหลักฐานและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นเรื่องที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมสามีเป็นผู้จัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาหรือการใดๆเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ โจทก์สมรสกับภริยาก่อนใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดเพื่อความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ได้เพราะบทบัญญัติบรรพ5ที่ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสได้มีอยู่แล้ว โจทก์จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดมือและเท้าอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้การได้เป็นปกติแต่โจทก์กะประมาณค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโดยปราศจากพยานสนับสนุนเป็นการพ้นวิสัยที่ศาลจะหยั่งรู้ได้แน่นอนความเสียหายมีเพียงใดศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้และสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 วรรคสอง จำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลย ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลย ที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญาแต่จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลย ที่ 2 กับจำเลย ที่ 3 หาได้ไม่ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลดค่าเสียหายซึ่งจำเลย ที่ 2 จะต้องชดใช้ให้โจทก์น้อยลงและการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้จึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลย ที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ของสามี และอายุความการบังคับตามสิทธิเรียกร้องหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
สามีมีอำนาจจัดการและจำหน่ายที่ดินอันเป็นสินบริคณห์ส่วนของภริยาได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468,1473(เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก่อนถึงกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม มาตรา 1754 วรรคสาม
of 15