พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก, สินสมรส, และสินเดิมระหว่างสามีภรรยาหลังการเสียชีวิตของภรรยา
คดีก่อนที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยทั้งสองมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรของ ส. และ น. หรือไม่ กับมีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. และน. หรือไม่ ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทเป็นเรื่องโจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งมรดกของ ส. จากจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของส.และน.กับเรียกมรดกของส. คืนจากจำเลยทั้งสองที่รับโอนไปโดยมิชอบคนละประเด็นกับที่ได้วินิจฉัยในคดีก่อน จึงมิใช่เป็นการรื้อฟ้องร้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ล. เป็นพี่สาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ส. เจ้ามรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(3) เมื่อ ล.ตายก่อน ส. โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ ล. จึงมีสิทธิรับมรดกของ ส. แทนที่ ล. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639 ที่ดินแปลงที่ น. ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยากับ ส.ก่อนจดทะเบียนสมรสกันย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมกันคนละส่วน เมื่อ น.ตายก่อน ส. ส่วนที่เป็นของ น. จึงเป็นมรดกตกได้แก่จำเลยที่ 1บิดาของ น. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม และ ส. คนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635(2) ส. จึงมีส่วนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว 3 ใน 4 ส่วน เมื่อ ส. และ น. ต่างฝ่ายต่างมีสินเดิม การแบ่งเงินฝากในธนาคารซึ่งเป็นสินสมรสจึงต้องแบ่งกันคนละส่วน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1625(1) ประกอบมาตรา 1517(เดิม) ส่วนของ น. ย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 1 และ ส.คนละกึ่งหนึ่งส. จึงมีส่วนในเงินฝาก3 ใน 4 ส่วน การที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินจากธนาคารไปทั้งหมด จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องแบ่งเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ส.3 ใน 4 ส่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมของภริยาและการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน
เอกสารที่โจทก์แนบมาพร้อมฎีกา โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 ศาลฎีกาไม่รับฟัง โจทก์จำเลยเป็นบุตร นาย ป. และนาง ช. ซึ่งสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. 2477 นาย ป. ถึงแก่กรรมก่อน นาง ช.แม้ นาย ป. จะถึงแก่กรรมขณะที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ใช้บังคับก็ตามแต่การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยามิใช่ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้น จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือให้คืนสินเดิมแก่แต่ละฝ่าย ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ นาง ช. มีมาก่อนสมรส อันเป็นสินเดิมของ นาง ช.จึงต้องคืนแก่นางช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกให้แก่จำเลยได้ พินัยกรรมในส่วนที่พิพาทจึงมีผลสมบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมของภริยาและสิทธิทำพินัยกรรม: ศาลยืนตามพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุตร
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องกัน บิดามารดาโจทก์จำเลยสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้บิดาโจทก์จำเลยจะถึงแก่กรรม ขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477ใช้บังคับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือให้คืนสินเดิมแก่แต่ละฝ่ายที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่มารดามีมาก่อนแต่งงานกับบิดาจึงเป็นสินเดิมของมารดา มารดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้ พินัยกรรมในส่วนที่ดินพิพาทจึงมีผลสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายฝากสินส่วนตัวในคดีล้มละลาย พิจารณาจากสินเดิมและสินส่วนตัวระหว่างสมรส
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2522 โดยมีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังนี้ ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนที่จำเลยกับล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466 เดิม บัญญัติไว้ไม่.
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ส. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1462,1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล. จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115.
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ส. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1462,1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล. จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115.
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมแปลงเป็นสินสมรส: การซื้อที่ดินด้วยเงินจากการขายสินเดิม และการสร้างสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะแต่งงานกับ ส.บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ได้ยกบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 หนึ่งแปลง บ้านและที่ดินนั้นจึงเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 เมื่อแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กินที่บ้านหลังนี้จนมีบุตร 3 คน ก็ขายบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือและปลูกบ้านอยู่ ต่อมาได้ขายที่ดินและบ้านที่ถนนสาธรเหนือนำเงินส่วนหนึ่งไปรับซื้อฝากที่ดินแปลงพิพาท และผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการได้มาโดยขายสินเดิมไปและนำเงินที่ขายได้มาซื้อที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเอามาแทนสินเดิมที่ขายไป แม้ก่อนจะนำเงินมารับซื้อฝากที่พิพาท จำเลยที่ 1 ได้นำเงินทีได้จากการขายสินเดิมไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือไว้ชั้นหนึ่งก่อน ก็ไม่ทำให้ผลในทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เพราะที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือก็ถือว่าเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 นั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 ก่อนทำการแก้ไข แต่อาคารโรงเรียนและตึกแถวจำเลยที่ 1 ออกเงินสร้างขึ้นบนที่ดินพิพาทหลังจากที่ดินดังกล่าวตกเป็นของจำเลยที่ 1 แล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินทีได้จากการขายที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือมาทำการก่อสร้างจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกทรัพย์สินระหว่างสินเดิม สินสมรส และการช่วงทรัพย์ในการแบ่งสินสมรส
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะแต่งงานกับ ส. บิดามารดาของจำเลยที่ 1ได้ยกบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 หนึ่งแปลง บ้านและที่ดินนั้น จึงเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 เมื่อแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กินที่บ้านหลังนี้จนมีบุตร 3 คน ก็ขายบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือและปลูกบ้านอยู่ ต่อมาได้ขายที่ดินและบ้านที่ถนนสาธรเหนือนำเงินส่วนหนึ่งไปรับซื้อฝากที่ดินแปลงพิพาท และผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการได้มาโดยขายสินเดิมไป และนำเงินที่ขายได้มาซื้อ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเอามาแทนสินเดิมที่ขายไป แม้ก่อนจะนำเงินมารับซื้อฝากที่พิพาทจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ได้จากการขายสินเดิมไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือไว้ชั้นหนึ่งก่อนก็ไม่ทำให้ผลในทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เพราะที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือก็ถือว่าเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 นั่นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 ก่อนทำการแก้ไข แต่อาคารโรงเรียนและตึกแถวจำเลยที่ 1 ออกเงินสร้างขึ้นบนที่ดินพิพาทหลังจากที่ที่ดินดังกล่าวตกเป็นของจำเลยที่ 1 แล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือมาทำการก่อสร้าง จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทที่สร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิของทายาทสินเดิม vs. พินัยกรรมที่ไม่มีอำนาจ
คำฟ้องได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โจทก์บรรยายตามลำดับเหตุการณ์ มิได้ขัดแย้งกันดังที่จำเลยฎีกา ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องเรียกเอาเรือนพิพาทที่เป็นทรัพย์ส่วนของโจทก์จากจำเลยซึ่งบิดาจำเลยทำพินัยกรรมยกให้จำเลยโดยไม่มีสิทธิและโจทก์ก็ได้อาศัยอยู่ในเรือนพิพาทตลอดมา จะนำเอาอายุความมรดกมาใช้บังคับไม่ได้
เรือนพิพาทเป็นสินเดิมของช. เมื่อ ช. ตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของ ช. ทุกคนรวมทั้งโจทก์และจำเลยด้วย บิดาจำเลยซึ่งเป็นสามี ช. ย่อมไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้จำเลย
ฟ้องเรียกเอาเรือนพิพาทที่เป็นทรัพย์ส่วนของโจทก์จากจำเลยซึ่งบิดาจำเลยทำพินัยกรรมยกให้จำเลยโดยไม่มีสิทธิและโจทก์ก็ได้อาศัยอยู่ในเรือนพิพาทตลอดมา จะนำเอาอายุความมรดกมาใช้บังคับไม่ได้
เรือนพิพาทเป็นสินเดิมของช. เมื่อ ช. ตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของ ช. ทุกคนรวมทั้งโจทก์และจำเลยด้วย บิดาจำเลยซึ่งเป็นสามี ช. ย่อมไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทตกทายาทโดยธรรม สินเดิมของมารดา แม้บิดามีพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นก็ไม่สมบูรณ์
คำฟ้องได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โจทก์บรรยายตามลำดับเหตุการณ์มิได้ขัดแย้งกันดังที่จำเลยฎีกา ไม่เป็น ฟ้องเคลือบคลุม ฟ้องเรียกเอาเรือนพิพาทที่เป็นทรัพย์ส่วนของโจทก์จาก จำเลยซึ่งบิดาจำเลยทำพินัยกรรมยกให้จำเลยโดยไม่มีสิทธิและโจทก์ก็ได้อาศัยอยู่ในเรือนพิพาทตลอดมา จะนำเอา อายุความมรดกมาใช้บังคับไม่ได้ เรือนพิพาทเป็นสินเดิมของช. เมื่อ ช. ตายโดยมิได้ ทำพินัยกรรมไว้ กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของ ช. ทุกคนรวมทั้งโจทก์และจำเลยด้วยบิดาจำเลยซึ่งเป็นสามี ช. ย่อมไม่มีอำนาจทำพินัยกรรม ยกเรือนพิพาทให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการตายของคู่สมรสกรณีไม่มีสินเดิมและก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ล. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้โจทก์และ ล.แยกกันอยู่แต่ไม่ปรากฏว่าได้หย่าขาดจากกัน ทั้งโจทก์และ ล. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน ดังนั้นเมื่อ ล. ตายสินสมรสต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วน ล. ได้ 2 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 655/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการเสียชีวิตของสามี โดยภริยาไม่มีสินเดิม และก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ล. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้โจทก์และ ล.แยกกันอยู่แต่ไม่ปรากฏว่าได้หย่าขาดจากกัน ทั้งโจทก์และ ล. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน ดังนั้นเมื่อ ล.ตายสินสมรสต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วนล. ได้ 2 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 655/2495)