พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายสะพานจากอุบัติเหตุ พิจารณาความเสียหายจริงและการไม่ซ่อมแซมเนื่องจากการปรับปรุงถนน
ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่จะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 วรรคแรก ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และ ความร้ายแรงแห่งละเมิด เมื่อความเสียหายของสะพานลอยคนข้าม ที่ถูกรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับชนเป็นรอยโก่ง ขึ้นเท่านั้น และเอกสารเสนอราคาค่าซ่อมแซมสะพานที่มีราคาสูงถึง 364,800 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่ารถยกตัวสะพานลง และขึ้นและค่าไม้สำหรับทำนั่งร้านรองรับตัวสะพาน ส่วนค่าซ่อมตัวสะพานจุดที่จะต้องตัดต่อและเปลี่ยน เหล็กโครงสร้างใหม่เป็นเงินเพียง 56,560 บาท แต่อย่างไรก็ตามโจทก์ก็ไม่ได้ทำการซ่อมแซมสะพานดังกล่าว เนื่องจากโจทก์ได้ปรับปรุงขยายถนนบริเวณดังกล่าวเป็น 10 ช่องจราจรจึงได้รื้อถอนสะพานออกไป การกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ให้โจทก์ 70,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871-4874/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะ: ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหากจำนวนเงินไม่เกิน 2 แสนบาทต่อคน และยืนยันหลักการจ่ายค่าอุปการะทั้งปัจจุบันและอนาคต
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้นจะต้องแยกชำระให้แก่โจทก์แต่ละคนตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดปรากฎว่าโจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และที่8ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นจำนวนคนละไม่เกินสองแสนบาทคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยที่1ถึงที่3ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จ่ายค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตให้โจทก์ที่8มากเกินสมควรเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะเพราะเหตุบิดามารดาบุตรหรือสามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยการทำละเมิดของบุคคลภายนอกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ชอบที่จะได้รับค่าอุปการะทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยผลแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามประกอบด้วยมาตรา1461,1563และ1564ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายกับผู้ขาดไร้อุปการะจะอุปการะกันจริงหรือไม่และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ผู้ขาดไร้อุปการะจะมีฐานะดีหรือยากจนก็ไม่ใช่ข้อสำคัญสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะคงมีอยู่เสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการเสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหายของผู้ตาย
สิทธิในการ เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการ ปลงศพเป็นสิทธิของทายาทที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้กระทำละเมิดทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายส่วนสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแก่ทรัพย์สินของเจ้ามรดกเนื่องจากการกระทำละเมิดก็เป็นสิทธิของเจ้ามรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทเช่นกันฉะนั้นเมื่อ ส. ได้รับรองโจทก์ที่2และที่3ว่าเป็นบุตรแล้วและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1627ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกของ ส. โจทก์ที่2ที่3จึงมีสิทธิฟ้อง เรียกค่าปลงศพ ส. และค่าที่รถจักรยานยนต์ของ ส.เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากละเมิด: การขาดประโยชน์จากการใช้แรงงานในอุตสาหกรรม
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชน ก. พนักงานของโจทก์ได้รับบาดเจ็บต้องหยุดงานเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลรวม 17 วัน โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้จ่ายเงินเดือนให้ในระหว่างหยุดงาน 17 วัน เป็นเงิน8,257 บาท ก. เป็นพนักงานมีหน้าที่จะต้องประกอบการงานในอุตสาหกรรมให้แก่โจทก์เป็นประจำ จึงมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ การละเมิดของจำเลยเป็นเหตุให้ก. ไม่สามารถประกอบการงานให้โจทก์ได้ตามปกติเป็นเหตุให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการงานของ ก. โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในส่วนนี้ การไฟฟ้านครหลวงโจทก์ประกอบกิจการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อหากำไร และเป็นกิจการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมาก จึงเป็นอุตสาหกรรมตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 445
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าแรงงานในครอบครัวจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดสัญญา กรณีขัดคำสั่งนายจ้าง สิทธิในการบอกกล่าวล่วงหน้าและสินไหมทดแทน
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอนระหว่างอายุสัญญาโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยคือเข้าอยู่อาศัยใน สำนักงานของจำเลยกับผู้หญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยา จำเลยให้ย้ายออก ก็ไม่ย้าย ในทันที และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของจำเลยที่ให้ลงชื่อ ในเช็คสองคนซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบในฐานะ พนักงานอาวุโสจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน หรือให้สินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 กรณีนี้ไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เรื่อง การเลิกสัญญามาใช้บังคับได้ เพราะการจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญา ในบรรพ 3 ที่มีบทบัญญัติ ไว้เป็นพิเศษในมาตรา 583 อยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าสินไหมทดแทนทางประกันภัย: การหักค่าซากรถจากค่าซ่อมหรือวงเงินประกันภัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โดยนำค่าซากรถไปหักจากค่าซ่อมรถแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระในส่วนที่เหลือ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาโดยให้นำค่าซากรถไปหักออกจากราคารถมิได้เพราะเป็นการแก้ไขจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จะพึง เรียกได้ มิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ถูกยึด
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้หายไป โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว รถนั้นถูกตำรวจยึดจากจำเลยซึ่งแลกเปลี่ยนรถกับเพิ่มเงินกับพ่อค้ารถยนต์ใช้แล้ว โดยมีทะเบียนโอนให้และราคาก็สมควร โจทก์ยังไม่ใช้ราคาแก่จำเลย จำเลยก็ยังไม่ต้องคืนรถแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิด: การคำนวณค่าเสียหายและดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุ
จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตายโจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมื่อครั้งภริยาโจทก์มีชีวิตอยู่เป็นแม่บ้านจัดการบ้านเรือนด้วยตนเอง เมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์ต้องจ้างคนทำงานแทน 2 คนโดยทำหน้าที่ซักผ้า ตักน้ำ ถางหญ้า คนหนึ่งทำครัวกวาดถู-บ้านอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค3 ประกอบด้วย มาตรา 1453
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิดและ กฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่า จำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิดจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วย จำเลยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2514)
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิดและ กฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่า จำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิดจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วย จำเลยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยลดหย่อนตามความร้ายแรง
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้นโจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนต้องเสียไปและค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคตประการหนึ่งหรือค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินอีกประการหนึ่งโจทก์เรียกค่าเสียหายในประการแรก เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าโจทก์เสียหายมากมายดังฟ้องศาลอาจคิดคำนวณค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงินก้อนโดยวินิจฉัยลดน้อยลงตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดได้