พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตพิจารณาคดีใหม่และการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยตามคำร้องลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 เป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยตามคำร้องลงวันที่ 23 สิงหาคม 2544 และวันที่ 9 มกราคม 2546 ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาของคำร้องทั้งสองฉบับแล้วว่าไม่ครบหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสองและมาตรา 199 เบญจ วรรคสอง การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง ดังนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะมีคำพิพากษาเป็นประการใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุด ตามมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญา ทำให้เจ้าของสิทธิสิ้นสุดการเรียกร้องในมูลละเมิด
บันทึกตกลงช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมีข้อความว่า จำเลยตกลงนำรถยนต์ของนายมนูที่เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ไปทำการตรวจซ่อมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ โดยจะทำการซ่อมให้เสร็จภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่รับรถไปจากพนักงานสอบสวน และตกลงช่วยเหลือเป็นค่าสินไหมให้แก่นายมนูที่ได้รับบาดเจ็บเป็นเงิน 1,000 บาท กับค่าสิ่งของที่นายมนูซื้อนำมากับรถและได้รับความเสียหายเป็นเงิน 10,000 บาท และตอนท้ายมีข้อความว่า คู่กรณีจะไม่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องค่าเสียหายใด ๆ อันเกิดจากเรื่องนี้อีกทั้งทางแพ่งและอาญา มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้เชิดให้นายมนูเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำบันทึกดังกล่าว โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลละเมิดจากจำเลย คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8533/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่และการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์ฎีกาภายหลัง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 ภายหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199 เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม คดีนี้จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยพินัยกรรมและสัญญาประนีประนอมยอมความ การสิ้นสุดสิทธิในทรัพย์สินที่ได้แบ่งแล้ว
โจทก์และ ส. ได้ตกลงแบ่งมรดกของเจ้ามรดกทั้งที่มีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งระบุว่าโจทก์ยอมสละที่ดินโฉนดเลขที่ 2893,68903,184852 และที่ 184853 พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินโฉนดเลขที่ 2893 แก่ ส. จึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสองเมื่อโจทก์และ ส. ลงลายมือชื่อไว้จึงต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามที่โจทก์ฟ้องได้แบ่งปันไปเสร็จสิ้นแล้วโจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอีกไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้จัดการมรดกที่จะใช้สิทธิขอแบ่งหรือมีอำนาจจัดการอีกต่อไปไม่ ดังนั้น หากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2893 ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ประการใด ก็เป็นเรื่องของเจ้าของที่ดินจะไปว่ากล่าวแก่จำเลยต่างหาก หาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าและสัญญาแบ่งผลประโยชน์ส่วนจำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์แกล้งฟ้องจำเลย เพื่อให้จำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางแก่ อ. ภริยาของ ส. จากประเทศเบลเยี่ยมเพื่อมาต่อสู้คดีในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย และโจทก์รบกวนผู้เช่าจนผู้เช่ายกเลิกการเช่าและไม่เช่าพื้นที่เพิ่ม ทำให้จำเลยขาดประโยชน์อันเป็นการฟ้องแย้งในมูลละเมิดฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาไปกับคำฟ้องเดิมได้ จำเลยชอบที่จะไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าและสัญญาแบ่งผลประโยชน์ส่วนจำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์แกล้งฟ้องจำเลย เพื่อให้จำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางแก่ อ. ภริยาของ ส. จากประเทศเบลเยี่ยมเพื่อมาต่อสู้คดีในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย และโจทก์รบกวนผู้เช่าจนผู้เช่ายกเลิกการเช่าและไม่เช่าพื้นที่เพิ่ม ทำให้จำเลยขาดประโยชน์อันเป็นการฟ้องแย้งในมูลละเมิดฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาไปกับคำฟ้องเดิมได้ จำเลยชอบที่จะไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองและการสิ้นสุดสิทธิปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
ตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน ระบุว่าบรรดาหนังสือ จดหมาย คำบอกกล่าว และเอกสารใด ๆ ของผู้รับจำนอง หากได้ส่งไปยังสถานที่ที่ผู้จำนองระบุว่าเป็นภูมิลำเนาของผู้จำนองตามสัญญาฉบับนี้ หรือสถานที่แห่งอื่นที่ผู้จำนองแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าผู้รับจำนองจะได้นำส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ และไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่ก็ตาม ผู้จำนองยินยอมให้ถือว่า บรรดาหนังสือหรือเอกสารดังกล่าว ได้จัดส่งให้แก่ผู้รับจำนองโดยชอบแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวไปให้จำเลยตามที่อยู่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาที่จำเลยระบุไว้ในสัญญาจำนอง จึงเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปให้แก่จำเลยที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอีกด้วย การส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองถึงจำเลยทั้งสองแห่งดังกล่าว เป็นทางการโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและส่งถึงสถานที่อยู่ทั้งสองแห่งแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้รับและทราบหนังสือที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง และการที่โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในกำหนดอันเป็นเวลาพอสมควรก่อนที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำนองโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 728
เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทแล้ว จำเลยผิดนัด โจทก์จึงมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองภายในวันที่กำหนด อันเป็นระยะเวลาอันสมควร แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินโดยเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว ดังนั้นความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมสิ้นสุดไปด้วยภายในวันที่กำหนด และปรากฏว่าในวันที่ดังกล่าวตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น ดังนี้โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อในขณะฟ้องคดีที่ให้โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 25ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้สิ้นผลไปก่อนแล้ว
เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทแล้ว จำเลยผิดนัด โจทก์จึงมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองภายในวันที่กำหนด อันเป็นระยะเวลาอันสมควร แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินโดยเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว ดังนั้นความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมสิ้นสุดไปด้วยภายในวันที่กำหนด และปรากฏว่าในวันที่ดังกล่าวตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น ดังนี้โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อในขณะฟ้องคดีที่ให้โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 25ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้สิ้นผลไปก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะเจ้าของกรรมสิทธิ์ การสิ้นสุดสิทธิการใช้ประโยชน์ส่งผลต่ออำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงแต่ผู้ได้รับอนุญาตจากทางสุขาภิบาลป่าตองให้ทำการก่อสร้างอาคารชั้นเดียวจำนวน 15 คูหา รวมทั้งห้องพิพาทลงบนที่ดิน ซึ่งที่ดินดังกล่าวยังมีคดีพิพาทกันอยู่ระหว่างนางสาว จ. เจ้าของที่ดินกับนาย อ. นางสาว จ. อนุญาตให้โจทก์ใช้ที่ดินอยู่จนถึงเมื่อศาลฎีกาในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษา เมื่อคดีได้ความว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 โจทก์จึงต้องคืนการใช้ที่ดินและยกสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งห้องพิพาทให้แก่นางสาว จ. ตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น สิ่งก่อสร้างบนพื้นดินย่อมตกเป็นของนางสาว จ. ตามหลักเรื่องส่วนควบตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2537 เป็นต้นไป ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของห้องพิพาท จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537 หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วจำเลยก็มิได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์อีก โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 ซึ่งขณะที่ฟ้องโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของห้องพิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งอนุญาตลาออกของอธิการบดี, การสิ้นสุดสิทธิลูกจ้าง, และการบังคับใช้กฎหมายตามระยะเวลา
คำฟ้องของโจทก์กล่าวเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2530 จำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานจำเลยที่ 1ในตำแหน่งอธิการบดี จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวไม่จ่ายเงินเดือนและเงินช่วยเหลือบุตรให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการของจำเลยที่ 1ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวเพราะเหตุใดโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวด้วยนั้น เป็นการนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507มาตรา 3, 4 ประกอบกับข้อ 10 ข้อ 24 (2) แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519)ออกตามความใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507และมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 กำหนดให้อธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ 9ลงมาออกจากราชการได้ และข้อ 7 วรรคสี่ แห่งกฎทบวงดังกล่าวกำหนดว่าอ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎทบวงนี้ และมีหน้าที่ช่วย ก.ม.ปฏิบัติการตามที่ ก.ม.มอบหมาย ข้อ 8 อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมอบหมาย แสดงว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีอำนาจตั้งบุคคลอื่นปฏิบัติการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมายได้เมื่อที่การประชุม อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีมติอนุมัติในหลักการมอบอำนาจให้อธิการบดี ประธาน อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาลาออกจากราชการแทน อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการได้
การที่โจทก์ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่เริ่มรับราชการในหนังสือขอลาออกจากราชการ เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ทำให้หนังสือขอลาออกของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด ส่วนหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้กำหนดขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งประสงค์จะขอลาออกจากราชการปฏิบัติเพื่อให้ระยะเวลาสำหรับผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาการสั่งอนุญาตการลาออกว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้ขอลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกโดยดำเนินการ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเป็นสำคัญ ฉะนั้น แม้ผู้ขอลาออกจะไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตสละประโยชน์แห่งระยะเวลาดังกล่าวโดยสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการตามความประสงค์ของผู้ขอลาออกแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ โดยไม่จำต้องแจ้งคำสั่งอนุญาตการลาออกให้โจทก์ทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน ตามระเบียบดังกล่าว และที่และเมื่อระเบียบดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 94 (4)และ (5) เท่านั้น ส่วนกรณีของโจทก์ โจทก์ออกจากราชการตามมาตรา 94 (3)กล่าวคือ โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรา 95 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ดังนี้ ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตการลาออกอนุญาตให้โจทก์ออกจากราชการในวันที่ 15มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอลาออก ย่อมมีผลให้โจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันขอลาออก ส่วนกรณีที่โจทก์ยังคงรับราชการต่อมาเพราะยังไม่ทราบคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการก็มีผลเพียงทำให้โจทก์ได้รับสิทธิตามพ.ร.ฎ.การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2522 มาตรา 18 (1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ไว้เท่านั้น
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535มาตรา 18 ที่บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2535 และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 4 มิถุนายน2535 ดังนี้ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88เดิม ซึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507มาตรา 3, 4 ประกอบกับข้อ 10 ข้อ 24 (2) แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519)ออกตามความใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507และมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 กำหนดให้อธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ 9ลงมาออกจากราชการได้ และข้อ 7 วรรคสี่ แห่งกฎทบวงดังกล่าวกำหนดว่าอ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎทบวงนี้ และมีหน้าที่ช่วย ก.ม.ปฏิบัติการตามที่ ก.ม.มอบหมาย ข้อ 8 อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมอบหมาย แสดงว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีอำนาจตั้งบุคคลอื่นปฏิบัติการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมายได้เมื่อที่การประชุม อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีมติอนุมัติในหลักการมอบอำนาจให้อธิการบดี ประธาน อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาลาออกจากราชการแทน อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการได้
การที่โจทก์ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่เริ่มรับราชการในหนังสือขอลาออกจากราชการ เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ทำให้หนังสือขอลาออกของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด ส่วนหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้กำหนดขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งประสงค์จะขอลาออกจากราชการปฏิบัติเพื่อให้ระยะเวลาสำหรับผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาการสั่งอนุญาตการลาออกว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้ขอลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกโดยดำเนินการ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเป็นสำคัญ ฉะนั้น แม้ผู้ขอลาออกจะไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตสละประโยชน์แห่งระยะเวลาดังกล่าวโดยสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการตามความประสงค์ของผู้ขอลาออกแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ โดยไม่จำต้องแจ้งคำสั่งอนุญาตการลาออกให้โจทก์ทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน ตามระเบียบดังกล่าว และที่และเมื่อระเบียบดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 94 (4)และ (5) เท่านั้น ส่วนกรณีของโจทก์ โจทก์ออกจากราชการตามมาตรา 94 (3)กล่าวคือ โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรา 95 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ดังนี้ ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตการลาออกอนุญาตให้โจทก์ออกจากราชการในวันที่ 15มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอลาออก ย่อมมีผลให้โจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันขอลาออก ส่วนกรณีที่โจทก์ยังคงรับราชการต่อมาเพราะยังไม่ทราบคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการก็มีผลเพียงทำให้โจทก์ได้รับสิทธิตามพ.ร.ฎ.การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2522 มาตรา 18 (1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ไว้เท่านั้น
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535มาตรา 18 ที่บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2535 และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 4 มิถุนายน2535 ดังนี้ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88เดิม ซึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสภาเทศบาลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาล
เมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบ เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็นเทศบาลเมืองวารินชำราบเทศบาลตำบลวารินชำราบ จึงพ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิมประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ โดยกำหนดวันรับสมัครตั้งแต่วันวันเดียวกันนั้นเป็นอันสิ้นผลไปในตัว และการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ จึงเป็นอันสิ้นผลไปด้วยไม่มีทางที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ ได้ ไม่ว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจจำเลยทั้งสามที่จะวินิจฉัยสั่งการยกเลิกหรือถอนการสมัครรับเลือกตั้งของ โจทก์ทั้งสองไว้โดยตรงหรือไม่ก็ตาม ความเสียหายของโจทก์ทั้งสองที่อ้างว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งเพิ่มขึ้นโจทก์ทั้งสองอยู่ในฐานะจะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ โดยไม่ต้องลงคะแนน ต้องขาดประโยชน์ที่จะพึงได้รับเดือนละ 3,100 บาท เป็นเวลา 5 ปี หาเป็นผลมาจากการวินิจฉัยสั่งการของจำเลยทั้งสามไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ท. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาล
เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานีพ.ศ.2538เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็นเทศบาลเมืองวารินชำราบประกาศใช้ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่25กันยายน2538ดังนั้นตั้งแต่วันที่25กันยายน2538เป็นต้นไปเทศบาลตำบลวารินชำราบ จึงเป็นอันพ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิมตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา13วรรคสองการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ กำหนดวันรับสมัครตั้งแต่วันที่25กันยายน2538จึงเป็นอันสิ้นผลไปในตัวเมื่อโจทก์ทั้งสองสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ ในวันที่25กันยายน2538ตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีแต่สภาเทศบาลตำบลวารินชำราบพ้นสภาพไปในวันนั้นแล้วการสมัครของโจทก์ทั้งสองเป็นอันสิ้นผลไปด้วยไม่มีทางที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบไปได้ไม่ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจจำเลยทั้งสามที่จะวินิจฉัยสั่งการยกเลิกหรือถอนการสมัครรับเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสองไว้โดยตรงหรือไม่ก็ตามความเสียหายของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องก็หาเป็นผลมาจากการวินิจฉัยสั่งการของจำเลยทั้งสามเช่นนั้นไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7484/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องหลังบริษัทถูกเลิก และการรับช่วงสิทธิจากผู้รับประกันภัย
นายทะเบียนบริษัทแห่งประเทศอังกฤษและเวลส์ได้จำหน่ายชื่อบริษัทโจทก์ออกจากทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2530 ตามมาตรา 652 (5)แห่ง พ.ร.บ.บริษัท ค.ศ.1985 และได้เลิกบริษัทไปโดยลงแจ้งความในราชกิจจา-นุเบกษาแห่งกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2530 และมีบริษัท ส.เป็นผู้ชำระบัญชี แต่ผู้ชำระบัญชีมิได้เข้ามาว่าต่างในนามของโจทก์ในคดีนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1259 (1) อีกทั้งบริษัท อ.ซึ่งได้รับประกันภัยสินค้าของโจทก์และเป็นตัวแทนของโจทก์ก็ยังมีสิทธิในหนี้รายนี้อยู่เพราะได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไปแล้วหลังจากที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ บริษัท อ.ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเอาจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่โจทก์จากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคแรก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระหนี้รายนี้ได้อีก