พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9079/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในกองมรดกของผู้สืบสิทธิทายาทโดยธรรม: การถอดถอนผู้จัดการมรดก
ตามคำร้องของผู้คัดค้านอ้างว่า นาย อ. เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย นาย อ. จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ส่วนหนึ่ง ต่อมาเมื่อนาย อ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของนาย อ. ซึ่งตามกฎหมายย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งมีผู้คัดค้านซึ่งอ้างว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย อ. รวมอยู่ด้วย ทั้งผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายยังมีทายาทลำดับอื่นก่อนผู้ร้องซึ่งยังมีชีวิตอยู่ และผู้ร้องยังประพฤติตนไม่เหมาะสม ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย สมควรถูกถอดออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หากเป็นจริงตามข้ออ้างของผู้คัดค้านดังกล่าว ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้สืบสิทธิของนาย อ. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7605/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สิทธิครอบครอง: ทายาทสืบสิทธิจากคดีเดิมห้ามฟ้องอีก, ผู้ครอบครองเดิมมีสิทธิเหนือผู้รับมรดก
ช. ฝ่ายหนึ่ง และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 กับพวกอีกฝ่ายหนึ่งพิพาทกันในสิทธิครอบครองที่ดิน ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าที่ดินพิพาทเฉพาะพื้นที่นอกแนวเขตของพื้นที่ที่ ช. ครอบครองปลูกบ้านเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินเฉพาะส่วนโดย ช. ยกให้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทในคดีก่อน เพียงแต่อ้างจำนวนเนื้อที่มากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมของ ช. และได้เป็นผู้เข้ารับมรดกความแทน จึงเป็นผู้สืบสิทธิมาจาก ช. ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิรื้อร้องฟ้องเป็นคดีนี้อีกต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาเช่าซื้อหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ทายาทสืบสิทธิได้ในฐานะผู้จัดการมรดก
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปันให้ทายาทต่อไปได้
หลังจาก อ.ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ.ผู้ตาย และอ.มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก อ.เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ.อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อ อ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคสาม
หลังจาก อ.ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ.ผู้ตาย และอ.มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก อ.เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ.อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อ อ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าซื้อและการสืบสิทธิหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้และแบ่งปันทรัพย์มรดก
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิ ที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปัน ให้ทายาทต่อไปได้ หลังจาก อ. ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ. ผู้ตายและ อ. มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดกอ. เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ. ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ. อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่ออ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่าอ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5909/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้สืบสิทธิไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 จึงต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311 และจำเลยผู้สืบสิทธิของเจ้าของเดิมผู้ปลูกสร้างบ้านโดยไม่สุจริตย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และการสืบสิทธิมรดก
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งเมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่หนึ่งและป. บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมกันหาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าป. หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิในมรดก: พยานหลักฐานขัดแย้ง การเบิกความยอมรับข้อเท็จจริง และอายุความ
แม้โจทก์จะเบิกความว่าโจทก์เป็นบุตรของ ถ. ตามสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิของโรงเรียนประชาบาลและใบสำคัญทหารนอกประจำการประเภทที่ 2 และตามเอกสารดังกล่าวระบุว่า บิดาโจทก์ชื่อ ถ. ก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบอ้างอิงมายันจำเลยเท่านั้น จะถือตามเอกสารดังกล่าวโดยเด็ดขาดหาได้ไม่ เพราะการที่ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ.หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย โจทก์เบิกความยอมรับว่า ถ. ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของโจทก์บิดามารดาที่แท้จริงของโจทก์ คือ น. กับ ก. การที่โจทก์ฎีกาว่า เหตุที่โจทก์เบิกความไปเช่นนั้นเพราะโจทก์ถูกข่มขู่จากบุคคลภายนอกก่อนเข้าเบิกความ โจทก์รู้สึกกลัวและเกิดความประหม่าและฟังคำถามค้านทนายความจำเลยไม่ชัดเจนจึงตอบหลงผิดไปนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเท่านั้น เมื่อเป็นข้อที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิสัญญาเช่าและขอบเขตการอุทธรณ์ค่าเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่า หากโจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามอัตรานั้นเดือนละ 10,000 บาท ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น
ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันได้ความว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ ค.ผู้เช่าเดิมตกลงอัตราค่าเช่าปีละ 10,000 บาทและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค.สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผูกพันถึงทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นมรดกแก่จำเลยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าจาก ค. และต้องฟังว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องปีละ 10,000 บาท จึงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์หามีผลบังคับแก่คดีไม่ การที่ฎีกาจำเลยฎีกาต่อมาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาจำเลย
ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันได้ความว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ ค.ผู้เช่าเดิมตกลงอัตราค่าเช่าปีละ 10,000 บาทและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค.สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผูกพันถึงทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นมรดกแก่จำเลยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าจาก ค. และต้องฟังว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องปีละ 10,000 บาท จึงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์หามีผลบังคับแก่คดีไม่ การที่ฎีกาจำเลยฎีกาต่อมาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในหนี้ตามเช็คและการสืบสิทธิหนี้เมื่อผู้ทำเช็คถึงแก่กรรม
จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์ 2 ฉบับ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อ จ. ถึงแก่กรรม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังคู่ความถึงแก่กรรม: ปกปักรักษาประโยชน์จนกว่าจะมีผู้สืบสิทธิ
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้ แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฎต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42