คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่งสำเนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีอุทธรณ์: การส่งสำเนาคำอุทธรณ์และผลของการไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน หากไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ต่อมาเจ้าพนักงานศาลรายงานต่อศาลว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยตามภูมิลำเนาจำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้รอโจทก์แถลง แต่โจทก์ก็ไม่ได้แถลงว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อพิจารณาสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาและให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาแก่ทุกฝ่ายภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน แม้จำเลยจะไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่ง แต่เมื่อแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาฎีกาโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย 2 ฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นฎีกานั้นเอง จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8885/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ กรณีทนายจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนเดียวกัน
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก็เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสยื่นคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้องสอด แต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องสอดผู้ยื่นอุทธรณ์และทนายจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันมีผลเท่ากับว่าทนายจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้ร้องสอดได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นมาแต่ต้นและจำเลยอาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้อยู่แล้ว ศาลชั้นต้นไม่จำต้องสั่งให้ผู้ร้องสอดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้อีก ดังนั้น แม้ผู้ร้องสอดจะไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องสอดทิ้งอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ชำระค่าธรรมเนียมส่งสำเนาอุทธรณ์ ทำให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ในชั้นตรวจอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 15 วัน แต่จำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งทำการของศาลชั้นต้น แม้จะได้ความว่าตามทางปฏิบัติศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งให้ศาลจังหวัดชลบุรีที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแทนดังที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ไปชำระแก่เจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง แม้โจทก์จะได้วางเงินไว้ในขณะยื่นคำฟ้องจำนวน 5,000 บาท แต่ก็เป็นเงินที่โจทก์ต้องวางเป็นประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 11 จึงมิใช่เงินที่โจทก์ได้วางไว้เป็นการชำระค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้า หากโจทก์ประสงค์จะให้หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเป็นค่าธรรมเนียมในคดีจากเงินประกันดังกล่าว ก็ชอบที่โจทก์จะแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบและได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นก่อนเช่นดังที่โจทก์เคยปฏิบัติมาแต่ในชั้นดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยขณะยื่นฟ้องคดี ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างว่าได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายนำหมายของศาลชั้นต้นว่า ได้วางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลแล้ว และเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่าจะดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย โดยจะหักเงินค่าธรรมเนียมในการส่งจากเงินประกันดังกล่าว แม้เป็นความจริงดังที่โจทก์อ้าง แต่ก็เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบ ไม่อาจยกขึ้นอ้างเพื่อโจทก์ไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้ เมื่อโจทก์มิได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลย เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) และมาตรา 246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องและการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ไม่เกี่ยวข้อง ทำให้การพิพากษาทิ้งฟ้องอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนในที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องมาทราบคำสั่งในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541 แต่ถึงวันดังกล่าวศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งต่อมาวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2541 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์และให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ จำเลย และเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน ดังนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ส่งคำสั่งดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องโดยชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง แม้จะได้ความว่าผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ส่วนจำเลยที่ 9 ถึงที่ 15 มิได้นำส่ง ก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์
ผู้ร้องร้องขอกันส่วนอ้างว่า ส. ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแทนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และ อ. ผู้ร้องในฐานะภรรยาจำเลยที่ 2 ขอกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวกึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเห็นได้ว่าคำร้องของผู้ร้องไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 9ถึงที่ 15 ทั้งในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น ก็มิได้ส่งหมายนัดให้จำเลยที่ 9 ถึงที่ 15 แต่อย่างใด จำเลยที่ 9 ถึงที่ 15จึงไม่ใช่จำเลยอุทธรณ์ กรณีไม่จำต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 9ถึงที่ 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. เกี่ยวกับการส่งสำเนาอุทธรณ์เพื่อแก้อุทธรณ์ ทำให้ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ขับรถบรรทุกน้ำมันโดยประมาทเลินเล่อชนท้ายรถโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดในฐานะบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้และบรรยายในคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่ 2 และขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) เพื่อวินิจฉัยว่าความประมาทเลินเล่อเกิดจากฝ่ายใด และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้หมายเรียกแล้ว จำเลยร่วมที่ 2 ให้การปฏิเสธว่า จำเลยร่วมที่ 1 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว ในขณะเดียวกันก็ให้การต่อสู้โจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ซึ่งเป็นการโต้แย้งทั้งโจทก์และจำเลยทั้งห้า แสดงให้เห็นว่าทั้งสามฝ่ายต่างโต้แย้งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งห้ายังคงอุทธรณ์อ้างว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ส่วนจำเลยร่วมที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยร่วมที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมที่ 2 นอกจากจะโต้แย้งโจทก์แล้วยังโต้แย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แต่ละฝ่ายแก้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมที่ 2 โดยไม่สั่งให้จำเลยแต่ละฝ่ายส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อยื่นคำแก้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 235 เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาชอบที่จะยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย้อนสำนวนให้กลับไปดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2), 247 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้มีการยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งห้าก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาอุทธรณ์เพื่อแก้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่งผลให้การพิจารณาคดีไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดฐานละเมิดเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ขับรถบรรทุกโดยประมาทเลินเล่อชนรถโจทก์เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง ส่วนจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้และขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความอ้างว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่ 2 และเมื่อศาลอนุญาตแล้วจำเลยร่วมที่ 2 ให้การว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1แต่เพียงผู้เดียว ทั้งให้การต่อสู้โจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยทั้งห้าไม่ต้องรับผิด ส่วนจำเลยร่วมที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยร่วมที่ 2ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย อุทธรณ์ดังกล่าวนอกจากจะโต้แย้งโจทก์แล้วยังโต้แย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแก้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วย้อนสำนวนให้ดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้องตามมาตรา 243(2),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์และการส่งสำเนาคำฟ้อง/อุทธรณ์ที่ไม่สำเร็จ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
คดีแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ การที่จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ต้องเป็นผู้สั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งในตรายางประทับซึ่งมีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 6 มิถุนายน 2542 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว พนักงานเดินหมายรายงานเมื่อวันที่ 29 มีนาคม2542 ว่านำสำเนาอุทธรณ์เพื่อส่งให้แก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 2มีนาคม 2542 ไม่พบจำเลยทั้งสองจึงส่งไม่ได้ ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน2542 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้แถลงขอให้ปิดหมายและเสียค่าธรรมเนียมในการปิดหมายให้แก่เจ้าหน้าที่แล้วไม่อาจรับฟังได้เมื่อโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยด้วยตนเอง แต่ส่งให้จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2538/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วม: สิทธิในการแก้คัดค้านอุทธรณ์ต้องเท่าเทียมกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ธ. ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ พนักงานอัยการและผู้เสียหายจึงต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นนำส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่พนักงานอัยการโจทก์โดยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์ร่วมจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4326/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการส่งสำเนาและการเสียค่าธรรมเนียม
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2540 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2540 ว่า รับฎีกาของจำเลย สำเนาให้โจทก์และผู้ร้องโดยกำหนดให้จำเลยนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ ให้แถลงภายใน 15 วันนับแต่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา และทนายความจำเลยลงลายมือชื่อทราบนัดให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 มกราคม 2540 ถ้าไม่มา ให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 14 มกราคม 2540 หลังจากวันที่จำเลยยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่ทนายความจำเลยลงลายมือชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันที่ 20 มกราคม 2540 ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งโดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 20มกราคม 2540 การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ไปดำเนินการเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์และผู้ร้องจนพ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้วถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์และผู้ร้องภายในกำหนด7 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
of 7