คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่งเสริมการลงทุน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการผลิตเพื่อส่งออก
จำเลยได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิและประโยชน์แก่จำเลยโดยให้จำเลยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าว แต่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องนำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวนั้นไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก และไม่ปรากฏข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าในกรณีอื่น นอกเหนือจากข้อที่ให้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศไปทำการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกไว้ จึงต้องถือว่าจำเลยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าวเพียงกรณีเดียวเป็นเด็ดขาดกล่าวคือ จำเลยต้องนำไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเท่านั้น
พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 54 วรรคสองใช้ถ้อยคำว่า คณะกรรมการจะสั่งให้สำนักงานเตือนผู้ได้รับการส่งเสริมก่อนก็ได้ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข แสดงว่านอกจากในกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยจงใจ ซึ่งคณะกรรมการต้องเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แล้ว แม้เป็นกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข กฎหมายก็ยังให้อำนาจคณะกรรมการสามารถสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ เมื่อจำเลยนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้อง 2 ครั้งหากจำเลยไม่ใช่ผู้ได้รับการส่งเสริมโดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้องตั้งแต่ขณะนำเข้าเพราะวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ตามปกติแล้วผู้นำเข้าจะต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า เมื่อจำเลยเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้าในกรณีเช่นนี้ไปแล้ว แม้ต่อมาสินค้าดังกล่าวจะสูญหาย ถูกทำลาย หรือเกิดเหตุเพลิงไหม้เสียหายจำเลยก็หาอาจร้องขอคืนอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับสินค้าที่เสียหายไปได้ไม่
จำเลยเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับสิทธิและประโยชน์โดยไม่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้า แต่จำเลยไม่ได้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกเนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ จึงไม่อาจนำไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกรณีก็ต้องถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามเงื่อนไขบัตรส่งเสริมการลงทุน การไม่นำวัตถุดิบไปใช้ผลิตเพื่อส่งออกทำให้ต้องเสียอากรและภาษี
จำเลยเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ได้รับสิทธิและประโยชน์โดยไม่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้าตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯ แต่จำเลยไม่ได้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก เนื่องจากเกิดเพลิงไหม้จึงไม่อาจนำไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดและมีหน้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8952/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้ดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อลงทุน ไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการทำเหมืองแร่ การแต่งแร่และการถลุงแร่สังกะสี การผลิต แปรรูปหรือแปรสภาพโลหะ ZINC ALLOY การผลิตโลหะ CADMIUN ประเภทการถลุงแร่ เช่นนี้ รายได้เงินดอกเบี้ยรับจากตั๋วสัญญาใช้เงิน จากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และจากบัญชีเงินฝากประจำที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินอันเป็นรายได้อื่นที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากไว้ กับสถาบันการเงิน จึงมิใช่เงินรายได้จากการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ตามที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและ มิใช่เป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้หรือเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ตามความในมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศ สนองความต้องการ ของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน การเพิ่มรายได้ และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับ การส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น รายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็น รายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสิรมการลงทุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8952/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินฝากจากกิจการส่งเสริมการลงทุนไม่ใช่รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี, งดเบี้ยปรับเนื่องจากไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯ มาตรา 31 บัญญัติว่าผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามปีแต่ไม่เกินแปดปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบการนั้นและรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการดังกล่าวให้รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร จากบทกฎหมายข้างต้น เงินได้ของโจทก์ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการนั้น จะต้องเป็นเงินได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งรวมทั้งรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร
เมื่อตามบัตรส่งเสริมการลงทุน โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการทำเหมืองแร่ การแต่งแร่ และการถลุงแร่สังกะสี การผลิตแปรรูปหรือแปรสภาพโลหะ ZINCALLOY การผลิตโลหะ CADMIUMประเภทการถลุงแร่ เช่นนี้ รายได้เงินดอกเบี้ยรับจากตั๋วสัญญาใช้เงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และบัญชีเงินฝากประจำที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินอันเป็นรายได้อื่นที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากไว้กับสถาบันการเงิน จึงมิใช่เงินรายได้จากการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ตามที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและมิใช่เป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้หรือเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯและแม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะไม่มีคำจำกัดความคำว่า "รายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม" ไว้โดยเฉพาะ แต่วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศสนองความต้องการของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงานการเพิ่มรายได้และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนโดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้นรายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็นรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ตามพฤติการณ์แห่งคดี กรณีเป็นเรื่องโจทก์แปลความหรือเข้าใจความหมายของรายได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีผิดไป เมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางว่า ในชั้นเรียกตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมือมอบเอกสาร มอบบัญชี และหลักฐานต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วยดีตลอดมา แสดงถึงโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี เบี้ยปรับเป็นบทลงโทษผู้ที่ชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ อันเป็นพฤติการณ์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรเมื่อโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร โจทก์จึงสมควรได้รับการงดเบี้ยปรับทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรจากการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน การประเมินภาษี และการชำระภาษีค้างชำระ
แม้จะฟังว่าตามใบขนสินค้าขาเข้าในคำฟ้องของโจทก์ จำเลยนำเข้ามาเกินกว่า 10 ปี นับถึงวันฟ้องแล้วก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคท้าย ให้เริ่มนับอายุความเมื่อพ้นหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งคำสั่งดังกล่าวก็คือคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา 55 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยทราบคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2528 การนับอายุความจึงเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่ง คิดถึงวันฟ้องยังไม่ครบสิบปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรเพื่อผลิตกล่องบรรจุตลับเทปคาสเซทและตลับเทปคาสเซท ต่อมาวันที่ 28 มีนาคม 2528 จำเลยถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดโดยเหตุไม่ส่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยไม่เคยได้รับยกเว้นภาษีอากรมาแต่ต้น ดังนั้นจำเลยจึงต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรโดยถือสภาพของราคา และอัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรแก่โจทก์ทั้ง 17 ใบขนที่จำเลยยังไม่นำเงินมาชำระตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55วรรคหนึ่ง
หลังจากกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ได้รับหนังสือจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่าได้เพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่จำเลยทั้งหมดโดยให้เรียกเก็บภาษีอากรที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประเมินอากร หน่วยส่งเสริมการลงทุนของโจทก์ที่ 1 จัดเก็บภาษีจากจำเลย เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รวบรวมเอกสารใบขนสินค้าได้จำนวน 20 ใบขนประเมินภาษีอากรแล้วได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้มาชำระภาษีพร้อมกับได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรโดยได้แจ้งภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าขณะนำสินค้าเข้ามาโดยแจ้งให้จำเลยมาชำระค่าภาษีภายใน 15 วัน นับแต่จำเลยได้รับหนังสือกรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามป.รัษฎากร มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87 (2) แล้ว หากจำเลยเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อนแต่จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์ต่อโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ตามที่ ป.รัษฎากรบัญญัติไว้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากจำเลยย่อมถึงที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
จำเลยต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับ รวมทั้งสิ้น 17 ฉบับ ให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยยังมิได้ชำระ จำเลยจึงต้องชำระเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรขาเข้าที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับแต่วันที่ได้ส่งมอบของให้จำเลยรับไปจนกว่าจำเลยชำระให้เสร็จสิ้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา นอกจากนี้จำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษีจนกว่าจะชำระให้เสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้เงินเพิ่มภาษีการค้านี้จะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ และจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลอีกร้อยละสิบของเงินเพิ่มภาษีการค้าที่ต้องชำระตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนและผลกระทบต่อการยกเว้นภาษีอากร
ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อาศัยอำนาจตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้ให้แก่จำเลยเท่าที่เหลืออยู่ตามบัตรส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน2532 ซึ่งเป็นการเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรที่ได้ให้แก่จำเลยบางส่วน ดังนั้นแม่พิมพ์และวัตถุดิบที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่ 12 ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนวันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 ย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนและการบังคับใช้สิทธิในการชำระหนี้ภาษีอากรที่เกิดขึ้นก่อนการเพิกถอน
ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอาศัยอำนาจตามมาตรา54แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้ให้แก่จำเลยเท่าที่เหลืออยู่ตามบัตรส่งเสริมตั้งแต่วันที่28พฤศจิกายน2532ซึ่งเป็นการเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรที่ได้ให้แก่จำเลยบางส่วนดังนั้นแม่พิมพ์และวัตถุดิบที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่12ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนวันที่28พฤศจิกายน2532ย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520มาตรา55วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ต้องได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 เมื่อมาขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มขึ้นตาม พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 มาตรา 31 วรรคสาม จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนก่อนจึงจะได้รับสิทธิและประโยชน์ที่ขอรับนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการประเมินภาษี
แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17ดังนั้น เมื่อศาลภาษีอากรพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยย่อมอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรว่าข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองไม่มีมูลให้ชนะคดีได้ ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 24 ประกอบมาตรา 29
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นประเด็นที่จำเลยจะต้องให้การไว้ คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ถูกยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะจำเลยที่ 1เลิกกิจการ มิใช่ถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2522 ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากร ตามมาตรา 55 วรรคแรก
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งได้บัญญัติเรื่องผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันเลิก รวมหรือโอนกิจการ ส่วนวรรคสองเป็นเรื่องที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่ร่วมกันขึ้นใหม่ หรือโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ก็ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ก็ให้สั่งให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามมาตรา 56 วรรคสองมิได้บัญญัติถึงเรื่องการเลิกกิจการ อันจะถือเท่ากับว่าสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนแล้วไม่
ปัญหาเรื่องบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะมีการเลิกกิจการสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเคยได้รับโดยเฉพาะเรื่องภาษีอากรนี้จะเรียกเก็บอย่างไร มิได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ จึงต้องบังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2528 มิใช่บังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2530 เพราะจำเลยที่ 1 เลิกกิจการและสำนักงานส่งเสริมการลงทุน ประกาศยกเลิกบัตรส่งเสริมของจำเลยที่ 1 ก่อนที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 จะมีผลใช้บังคับ
ตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10วรรคหนึ่ง ของนำเข้าใดเคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร ถ้าสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากรโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรต้องไปดำเนินการเพื่อชำระอากรตามที่กำหนดไว้ ส่วนในช่วงก่อนที่สิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจะสิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไป และน่ายังถือว่าเป็นสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว หากผู้นำของเข้าหมดสิทธิที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปมิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น คือ มิได้ดำเนินการเพื่อชำระอากรดังกล่าว ก็ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้อง อันอาจถูกพนักงานศุลกากรกักยึดเพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากร รวมทั้งต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา เท่านั้น แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นของที่ต้องเสียภาษีอากรโดยทั้งสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรสิ้นสุดลงตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 อยู่ หาได้หมายความว่า เมื่อผู้นำของเข้ามิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นแล้ว ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้าโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้องตามสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำเข้าไม่
หลังจากจำเลยได้รับแจ้งประเมินให้เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งรวมถึงหมดสิทธิที่จะฟ้องหรือยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินดังกล่าวมิชอบด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระอากรและเงินเพิ่มหลังเพิกสิทธิส่งเสริมการลงทุน จำเลยต้องชำระตามกฎหมายศุลกากร
กรณีของจำเลยไม่อาจบังคับตามมาตรา 54 วรรคสอง และมาตรา 55 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 เพราะคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมิได้มีคำเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขตามมาตรา 54 วรรคสอง แต่คณะกรรมการใช้อำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แก่จำเลย ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง และได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีอากรและภาษีอากรเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 55 วรรคสาม แต่จำเลยมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จัตวา ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์คิดเงินเพิ่มจากจำเลยเกินเงินภาษีอากร เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคสี่นั้น จำเลยมิได้กล่าวอ้างความข้อนี้มาในคำให้การ ทั้งยังเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย เพราะศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาหาใช่ต้องชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 55 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ไม่
of 3