คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่วนรู้เห็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5713/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคดียาเสพติด: จำเลยต้องพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเหตุอันควรสงสัยในการกระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 วรรคสาม จำเลยที่ 3ผู้ขอคืนของกลางมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้ได้ว่า จำเลยที่ 3ไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของกลางดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด ศาลจึงจะไม่ริบของกลาง แต่จำเลยที่ 3นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของของกลาง และไม่ได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดเท่านั้นโดยไม่สามารถพิสูจน์ข้ออ้างตามกฎหมายดังกล่าวได้ จึงไม่เพียงพอตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวและข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานโจทก์ได้ความว่า จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ใกล้ชิดกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโทรศัพท์มือถือและรถยนต์กระบะเป็นเครื่องมือและยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและมีการประกาศหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันตามกฎหมายแล้ว จึงต้องริบของกลางดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด: พฤติการณ์เชื่อได้ว่ามีส่วนรู้เห็นและมีส่วนร่วม
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับของเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปล่อซื้อ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นตัวจำเลยที่ 2 พบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ดอยู่ในกระเป๋าด้านหน้าข้างขวาที่จำเลยที่ 2 สวมใส่อยู่เมื่อจำเลยที่ 2ยืนอยู่กับจำเลยที่ 1 ในขณะที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ทั้งในตัวของจำเลยที่ 2 ยังมีเมทแอมเฟตามีนถึง 10 เม็ดเช่นนี้พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 1ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสอง บัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนก็ตาม ก็ไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเหตุอันควรสงสัย
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 ได้บัญญัติให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ริบเป็นทรัพย์สินของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และพิสูจน์ว่าผู้ที่ร้องเข้ามาไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิดดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ตามมาตรา 30,31 ต่อมาได้มีการประกาศ ในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็น เจ้าของทรัพย์สินของกลางดังกล่าวซึ่งมีความประสงค์ จะคัดค้านได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีแล้ว และศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้นัดไต่สวนพร้อมไปกับสืบพยานโจทก์และจะมีคำสั่ง ในคำพิพากษา ซึ่งในคดีดังกล่าวผู้ร้องซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 2 ได้ให้การปฏิเสธและนำสืบพยานว่ารถยนต์ของกลาง เป็นของจำเลยที่ 2(ผู้ร้อง) จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการ ขอให้ริบรถยนต์ของผู้ร้องตาม พระราชบัญญัติมาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31 และผู้ร้องได้เข้ามา ในกระบวนการที่กำหนดในมาตรา 30 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว การจะริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ ที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ ถ้าเป็น ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ก็ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่ปรากฏเจ้าของแต่เจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดและจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสองดังนั้น เมื่อต่อมาในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารถยนต์ของกลางของผู้ร้องเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องแล้วผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นคดีนี้อีก ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6895-6896/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทต้องรับผิดร่วมกับบริษัท หากมิได้พิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า
เจ้าพนักงานยึดสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าปลอมได้จากบริษัทจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบหรือฎีกาว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บริษัทรับซื้อไม้ที่ได้มาจากการลักทรัพย์ มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ ถือเป็นความผิดฐานรับของโจร
นาย ก. ได้ชักลากไม้ของกลางที่ถูกคนร้ายลักมาเข้าไปในบริษัทจำเลยที่ 1 แล้วเลื่อยตัดเป็นท่อนเพื่อดำเนินการผลิตไม้บางวีเนียร์ โดยมีคนงานถึง 10 คน และใช้เครื่องมือของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นเวลานอกเวลาปฏิบัติงานตามปกติ แต่จำเลยที่ 1ก็มียามตรวจตราอยู่ตลอดเวลา ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้คนหลายคนลักลอบเข้าไปใช้เครื่องมือของจำเลยที่ 1 ได้ การที่นาย ก.เข้าไปดำเนินการในบริษัทจำเลยที่ 1 ได้น่าจะมีกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนรู้เห็นและให้ความยินยอมมิใช่นาย ก. เข้าไปกระทำโดยพลการโดยที่บริษัทจำเลยที่ 1มิได้รับผลประโยชน์ด้วย พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 1 รับเอาไม้ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการลักทรัพย์ อันเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน - การมีส่วนรู้เห็นและคบคิดในการกระทำผิด
จำเลยร่วมอยู่กับพวกตั้งแต่ก่อน เกิดเหตุ จนกระทั่งเวลาเกิดเหตุจำเลยก็ นั่ง ไป ในรถแล้ว พวกในรถนั้นยิงปืนเข้าไปในร้านอาหาร หลายนัด กระสุนปืนนัดหนึ่งถูกตู้เย็นห่างจากที่สิบตำรวจโท อ. นั่งอยู่ 10 เมตร แล้วหลบหนีไปด้วยกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนรู้เห็นและคบคิดกับพวกมาก่อน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิดด้วยจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย: การที่ผู้เอาประกันมีส่วนรู้เห็นในการก่อให้เกิดความเสียหาย ทำให้หมดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหม
แม้ในคดีอาญา ว. ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของโจทก์ถูกฟ้อง ศาลฟังว่า ว.ไม่ใช่คนร้ายวางเพลิงทรัพย์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย แต่เมื่อมูลคดีเป็นคนละอย่างไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่ง (คดีนี้) ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัย ทั้งคู่ความในคดีแพ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญา จึงถือข้อเท็จจริงในคดีอาญามาพิพากษาคดีแพ่งไม่ได้
บริษัทโจทก์มีส่วนรู้เห็นให้มีการวางเพลิงเผาทรัพย์ของตนเพื่อหวังเงินประกัน จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด เพราะวินาศภัยเกิดขึ้นเพราะความทุจริตของบริษัทโจทก์ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย: การมีส่วนรู้เห็นในการวางเพลิงทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ทำให้หมดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
แม้ในคดีอาญา ว.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของโจทก์ถูกฟ้องศาลฟังว่าว. ไม่ใช่คนร้ายวางเพลิงทรัพย์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย แต่เมื่อมูลคดีเป็นคนละอย่างไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่ง (คดีนี้) ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัย ทั้งคู่ความในคดีแพ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญา จึงถือข้อเท็จจริงในคดีอาญามาพิพากษาคดีแพ่งไม่ได้
บริษัทโจทก์มีส่วนรู้เห็นให้มีการวางเพลิงเผาทรัพย์ของตนเพื่อหวังเงินประกัน จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเพราะวินาศภัยเกิดขึ้นเพราะความทุจริตของบริษัทโจทก์ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล: ไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่ต้องรับผิด
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่ว ๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้ว คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทน ฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัด ไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้นหากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472-475/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเรือที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของและไม่มีส่วนรู้เห็น
เรือน้ำหนักไม่เกิน 250 ตัน ซึ่งใช้ในการกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากร 2469 มาตรา27 ต้องริบตาม มาตรา32
ผู้ร้องอ้างว่าเรือเป็นของตนไม่ควรริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 32 เป็นหน้าที่ผู้ร้องจะต้องพิสูจน์ให้ได้ความเป็นหลักฐานมั่นคงดังอ้าง
of 2