พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินหนึ่งพรรค
ผู้คัดค้านได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ก. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 และได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 ต่อมาผู้คัดค้านได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 และวันเดียวกันนั้น ผู้คัดค้านได้ยื่นหลักฐานการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้คัดค้านจึงมีรายชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินกว่า 1 พรรค ถือได้ว่าผู้คัดค้านมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่พรรคเดียวนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกิน 90 วัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรค ก. ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2547 ผู้คัดค้านได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. และลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. โดยพ้นจากการเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ดังนี้ ระหว่างวันที่ 4 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 2 พรรค ผู้คัดค้านเพิ่งเป็นสมาชิกพรรค ก. เพียงพรรคเดียว เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 นับถึงวันที่ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือวันที่ 8 มีนาคม 2549 ยังไม่ครบ 90 วัน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2007/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีสมาชิกพรรคการเมืองหลายพรรค และระยะเวลาการเป็นสมาชิก
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนวันเลือกตั้งถ้าปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยเร็ว ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น ดังนั้น เมื่อผู้ร้องตรวจพบว่าผู้คัดค้านขาดคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผู้ร้องมีหลักฐานการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้คัดค้านว่านอกจากผู้คัดค้านจะเป็นสมาชิกพรรค พ. แล้ว ผู้คัดค้านยังเป็นสมาชิกพรรค ช. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 21 กันยายน 2547 พรรค ช. ยุบพรรครวมเข้ากับพรรค ท. ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรค ท. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นหลัก แม้ว่าผู้คัดค้านจะไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. มาก่อนก็ตาม ทำให้ผู้คัดค้านเป็นทั้งสมาชิกพรรค พ. และพรรค ท. จึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน มีผลให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
ผู้ร้องมีหลักฐานการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้คัดค้านว่านอกจากผู้คัดค้านจะเป็นสมาชิกพรรค พ. แล้ว ผู้คัดค้านยังเป็นสมาชิกพรรค ช. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 21 กันยายน 2547 พรรค ช. ยุบพรรครวมเข้ากับพรรค ท. ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรค ท. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นหลัก แม้ว่าผู้คัดค้านจะไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. มาก่อนก็ตาม ทำให้ผู้คัดค้านเป็นทั้งสมาชิกพรรค พ. และพรรค ท. จึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน มีผลให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามกฎหมาย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 กำหนดให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาพร้อมด้วยรายชื่อ อาชีพ และที่อยู่ของสมาชิกตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี แต่ปรากฏว่ารายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคในรอบปี 2548 ที่พรรค ผ. ส่งไปให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่มีชื่อผู้ร้อง ดังนั้น แม้จะปรากฏตามบันทึกการประชุมพรรค ผ. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ว่า พรรคมีมติรับผู้ร้องเป็นสมาชิกลำดับที่ 081/2548 แต่บันทึกการประชุมครั้งที่ 10/2548 เป็นเพียงการรับรองรายงานการประชุมพรรคครั้งที่ 9/2548 ลงวันที่ 11 กันยายน 2548 ซึ่งระบุเพียงเลขที่สมาชิก ไม่ปรากฏชื่อผู้ร้อง ทั้งใบสมัครสมาชิกพรรคของผู้ร้องระบุว่าผู้ร้องยื่นใบสมัครวันที่ 14 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันหลังจากพรรค ผ. มีมติรับสมัครสมาชิกเลขที่ 081/2548 ไปแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงมิได้เป็นสมาชิกพรรค ผ. จึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และความน่าเชื่อถือของฐานข้อมูล กกต.
ระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำขึ้นเป็นข้อมูลของทางราชการเพื่อให้พรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองและประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ การที่ไม่ปรากฏชื่อของผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นสมาชิกพรรค ป. มาตั้งแต่ปี 2535 ในระบบฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่พรรค ป. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการในทางการเมือง รวมทั้งส่งสมาชิกพรรคสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้ร้องซึ่งประสงค์จะใช้ความเป็นสมาชิกภาพของพรรคสมัครรับเลือกตั้งย่อมรู้อยู่แล้วว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องใช้ข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครต่างสามารถตรวจสอบข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนับแต่มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหลังใช้บังคับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาหลายปีแต่ก็ยังไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องอยู่ในระบบฐานข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าพรรค ป. และผู้ร้อง ไม่เคยตรวจสอบและโต้แย้งเลย กรณีจึงมีข้อน่าเคลือบแคลงสงสัยและมีพิรุธ ไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. อยู่ในขณะสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 107 (4) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ และมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองติดต่อกัน 90 วัน
การที่ไม่มีชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและผู้สมัครยอมรับว่าเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่ถึง 90 วัน ผู้สมัครจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุ
ผู้ร้องไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหลังสุดนอกจากนี้เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดประกาศชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้ร้องก็มิได้ไปแจ้งเหตุการณ์ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาจำกัดเฉพาะการวินิจฉัยคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34 และ 34/1 กำหนดให้ศาลฎีการับวินิจฉัยเฉพาะกรณีที่มีการโต้แย้งกันเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น หาได้กำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และระยะเวลาการเป็นสมาชิก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ป. และพรรค ป. ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 22 บัญญัติว่า "สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง เมื่อ? (2) ลาออก" จึงต้องถือว่าการลาออกจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องมีผลเมื่อหนังสือลาออกของผู้ร้องไปถึงพรรค ป. ความเป็นสมาชิกพรรค ป. ของผู้ร้องจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ค. เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2547 ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ผู้ร้องจึงเป็นเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องจึงมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีถูกถอนสถานภาพผู้สำเร็จการศึกษาและกระทบคุณสมบัติ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2547 ข้อ 14 ที่กำหนดให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องส่งสำเนาคำร้องและแจ้งกำหนดวันเวลานัดและศาลที่จะยื่นคำร้องให้ผู้สมัครทราบก่อนวันนัดยื่นคำร้องไม่น้อยกว่า 3 วัน เป็นกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งก่อนวันเลือกตั้งมากกว่า 10 วันทำการ แต่คดีนี้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องก่อนวันเลือกตั้งไม่มากกว่า 10 วันทำการ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 34/1 กำหนดว่า ก่อนการเลือกตั้ง ถ้าผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งเห็นว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นได้ ประกอบด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2547 ข้อ 14 วรรคสุดท้าย กำหนดให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรง ผู้ร้องจึงสามารถยื่นคำร้องได้ตามกฎหมายและกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของข้อ 14 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งโดยอาศัยคุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คือ ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ดังนั้น เมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของผู้คัดค้านถูกถอน และปริญญาบัตรเลขที่ 6/2543 ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านได้ถูกยกเลิกตามประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้ว การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและยกเลิกปริญญาบัตรดังกล่าวย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอน หรือสิ้นผลลงโดยเรื่องเวลาหรือโดยเหตุอื่นตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 42 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจหรือมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยังไม่ดำเนินการอย่างใดอันอาจมีผลให้การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรได้ถูกเพิกถอนหรือสิ้นผลลง การเพิกถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงยังมีผลอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แม้มหาวิทยาลัยรามคำแหงมิได้ดำเนินการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) และปริญญาบัตรก็ตาม แต่การรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวเป็นการรับโดยอาศัยวุฒิการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาบัตรรัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ดังกล่าว ถูกถอนโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลให้ผู้คัดค้านไม่มีสถานะเป็นผู้จบปริญญาตรีแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงย่อมไม่อาจรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาโทได้ การเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของผู้คัดค้านจึงตกไปในตัว ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง อีกเช่นกัน ที่ผู้ร้องเห็นว่า ผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (3) ชอบแล้ว
ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งโดยอาศัยคุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คือ ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ดังนั้น เมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของผู้คัดค้านถูกถอน และปริญญาบัตรเลขที่ 6/2543 ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านได้ถูกยกเลิกตามประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้ว การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและยกเลิกปริญญาบัตรดังกล่าวย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอน หรือสิ้นผลลงโดยเรื่องเวลาหรือโดยเหตุอื่นตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 42 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจหรือมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยังไม่ดำเนินการอย่างใดอันอาจมีผลให้การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรได้ถูกเพิกถอนหรือสิ้นผลลง การเพิกถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงยังมีผลอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แม้มหาวิทยาลัยรามคำแหงมิได้ดำเนินการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) และปริญญาบัตรก็ตาม แต่การรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวเป็นการรับโดยอาศัยวุฒิการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาบัตรรัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ดังกล่าว ถูกถอนโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลให้ผู้คัดค้านไม่มีสถานะเป็นผู้จบปริญญาตรีแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงย่อมไม่อาจรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาโทได้ การเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของผู้คัดค้านจึงตกไปในตัว ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง อีกเช่นกัน ที่ผู้ร้องเห็นว่า ผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (3) ชอบแล้ว