พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาผิดนัดชำระหนี้จากสัญญาประกัน: เริ่มนับเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาชำระ
การที่จำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกัน โจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาประกันได้โดยมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ตีราคาประกันไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาอันพึงจะชำระแก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้นย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่หนี้ที่กำหนดระยะเวลาชำระวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาผิดนัดชำระหนี้จากสัญญาประกันตัว: เริ่มเมื่อมีหนังสือบอกกล่าว
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากโจทก์ เมื่อถึงกำหนดนัดส่งตัวผู้ต้องหาในวันที่ 18 มกราคม 2544 จำเลยไม่นำตัวผู้ต้องหามาส่งโจทก์ ย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกันตัว โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ตีราคาประกันไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้มีกำหนดเวลาอันพึงจะชำระแก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระในวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วแต่ไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดนับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2547)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8075/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง: ข้อผิดพลาดในการระบุหมายเลขห้องชุดในหนังสือบอกกล่าว ไม่ทำให้การบังคับจำนองเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำนองห้องชุดเลขที่ 181/289 ตำบลบางแค อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นประกันหนี้ แต่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงมีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองภายใน 30 วัน ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้และจัดการไถ่ถอนจำนองภายในเวลาที่กำหนด เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยทำสัญญาจำนองทรัพย์สินรายอื่นเป็นประกัน ทรัพย์ที่โจทก์จะบังคับจำนองย่อมหมายถึงห้องชุดเลขที่ 181/289 การที่หนังสือบอกกล่าวของโจทก์ระบุหมายเลขห้องชุดเป็นห้องชุดเลขที่ 0289 ตำบลบางแค อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร น่าจะเป็นเพียงการพิมพ์หมายเลขคลาดเคลื่อนเท่านั้น หามีผลทำให้หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด คำบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยมาตรา 728 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำโดยการทำหนังสือและบอกกล่าวเจตนา ถือเป็นการโอนสมบูรณ์
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำทั้งสามรายการเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินจำนวนดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่จำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
การที่ ฉ. มีเจตนายกเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้โดยปริยายว่ามีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของ ฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ฉ. ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โดยคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินฝากประจำดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 1
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่จำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
การที่ ฉ. มีเจตนายกเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้โดยปริยายว่ามีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของ ฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ฉ. ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โดยคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินฝากประจำดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกสัญญาเมื่อใด, การบอกเลิกสัญญา, การส่งหนังสือบอกกล่าวโดยชอบ
จำเลยยื่นคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวันเดียวกัน โดยคู่สัญญาไม่ได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลา กรณีเช่นนี้ คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ การที่โจทก์ มีหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม หากพ้นกำหนดแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอัน สิ้นสุดลง ดังนี้เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วจำเลย ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาบัญชีเดินสะพัด จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนดนั้น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า การส่งหนังสือทวงถามบอกกล่าวผู้กู้ แม้ส่งแล้วไม่มีผู้รับเพราะผู้กู้ย้ายที่อยู่โดยไม่ได้แจ้งย้ายให้ผู้ให้กู้ทราบให้ถือว่าได้ส่งให้ผู้กู้แล้วโดยชอบ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้กู้เคยแจ้งย้ายให้โจทก์ทราบ ดังนั้นที่พนักงานไปรษณีย์นำหนังสือทวงถามของโจทก์ไปส่งให้จำเลยตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามของโจทก์แล้วโดยชอบในวันดังกล่าว ในหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม กำหนดเวลาชำระหนี้ วันสุดท้ายจึงเป็นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2540 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สัญญาบัญชีเดินสะพัด ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่ วันพ้นกำหนดคือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6115/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่ามีผลเมื่อผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือบอกกล่าว
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ค่าเช่าตามสัญญาถึง 2 ครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่สองได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินไปชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ หากพ้นกำหนดให้ถือเอาหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่า จำเลยได้รับหนังสือแล้ว แต่ไม่นำเงินมาชำระภายในกำหนดการบอกกล่าวเลิกสัญญาจึงสมบูรณ์มีผลบังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 แม้จำเลยรับว่าจะปฏิบัติตามสัญญาเมื่อพ้นกำหนดให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว หามีผลผูกพันโจทก์แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่: หนังสือแจ้งให้วางเงินไม่ใช่หนังสือให้รับโอนสิทธิ
แม้ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ขอและจำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ซึ่งมีผลทำให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดก็ตาม แต่การที่จำเลยยื่นคำร้องในภายหลังต่อมาว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และเหตุที่จำเลยไม่ได้มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีของโจทก์ เพราะจำเลยจำวันนัดคลาดเคลื่อนไป ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีของโจทก์และมีคำสั่งยกหมายบังคับคดี พร้อมกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวเท่ากับเป็นกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติป.วิ.พ. ลักษณะ 2 การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งต้องด้วยมาตรา 296 วรรคแรกที่ให้อำนาจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งให้ยกหรือแก้ไขหมายบังคับคดีนั้นเสียได้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า โจทก์จะดำเนินการให้จำเลยได้รับสิทธิการเช่าห้องเลขที่ 191 จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในอาคารห้องเลขที่ดังกล่าวหรือผู้ที่ได้รับสิทธิการเช่าช่วงหรือจากโจทก์ หากสามารถโอนสิทธิการเช่าได้เมื่อใดภายในก่อนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 จำเลยยอมชำระเงินส่วนที่เหลือ690,000 บาท ทั้งหมดในคราวเดียว แต่ให้หักชำระจากเงินที่ชำระไว้เดือนละ5,000 บาท นับแต่วันทำสัญญานี้ออกเสียก่อน แก่โจทก์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิ การชำระเงินจำนวนดังกล่าวจำเลยต้องนำมาวางต่อศาล ผิดนัดในข้อนี้ ยอมให้บังคับคดีและจำเลยจะต้องออกจากห้องพิพาท และขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากห้องพิพาททันที แต่ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยระบุให้จำเลยนำเงินไปวางต่อศาลฝ่ายเดียวภายใน 2 เดือน โดยไม่ระบุว่าฝ่ายโจทก์จะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยเมื่อใดเพียงแต่กล่าวว่าหลังจากจำเลยวางเงินต่อศาลครบถ้วนแล้ว โจทก์ก็จะได้เร่งดำเนินการให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าเท่านั้น จึงมิใช่หนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิดังโจทก์อ้าง แม้จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวและมิได้นำเงินมาวางศาลจนล่วงพ้น 2 เดือน นับแต่วันรับ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า โจทก์จะดำเนินการให้จำเลยได้รับสิทธิการเช่าห้องเลขที่ 191 จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในอาคารห้องเลขที่ดังกล่าวหรือผู้ที่ได้รับสิทธิการเช่าช่วงหรือจากโจทก์ หากสามารถโอนสิทธิการเช่าได้เมื่อใดภายในก่อนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 จำเลยยอมชำระเงินส่วนที่เหลือ690,000 บาท ทั้งหมดในคราวเดียว แต่ให้หักชำระจากเงินที่ชำระไว้เดือนละ5,000 บาท นับแต่วันทำสัญญานี้ออกเสียก่อน แก่โจทก์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิ การชำระเงินจำนวนดังกล่าวจำเลยต้องนำมาวางต่อศาล ผิดนัดในข้อนี้ ยอมให้บังคับคดีและจำเลยจะต้องออกจากห้องพิพาท และขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากห้องพิพาททันที แต่ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยระบุให้จำเลยนำเงินไปวางต่อศาลฝ่ายเดียวภายใน 2 เดือน โดยไม่ระบุว่าฝ่ายโจทก์จะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยเมื่อใดเพียงแต่กล่าวว่าหลังจากจำเลยวางเงินต่อศาลครบถ้วนแล้ว โจทก์ก็จะได้เร่งดำเนินการให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าเท่านั้น จึงมิใช่หนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิดังโจทก์อ้าง แม้จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวและมิได้นำเงินมาวางศาลจนล่วงพ้น 2 เดือน นับแต่วันรับ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิและการฟ้องละเมิด แม้ยังไม่มีการฟ้องร้องก่อนหน้า โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากได้รับความเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยอ้างว่าโจทก์เป็นหนี้ค้างชำระแก่จำเลยทั้งสองทั้งๆที่โจทก์ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยทั้งสองจนหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเป็นเหตุให้โจทก์และครอบครัวได้รับความเดือดร้อนโดยโจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงและถูกผู้ไม่รู้ข้อเท็จจริงดูหมิ่นขาดความเชื่อถือในสังคมและเพื่อนฝูงในวงราชการหากเป็นความจริงย่อมเป็นละเมิดถือว่าโจทก์ถูกจำเลยที่1โต้แย้งสิทธิแล้วโดยไม่จำเป็นที่โจทก์ต้องถูกจำเลยที่1ฟ้องร้องก่อน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค1เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องและไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามคำขอในอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องสืบพยานก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไปได้โดยโจทก์หาจำต้องมีคำขอให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการขอวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น, ฟ้องเคลือบคลุม, สิทธิเรียกร้องก่อนกำหนด, การส่งหนังสือบอกกล่าว, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้ คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่ชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุใด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการนอกประเด็น ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินมีข้อความว่า ระยะเวลาชำระหนี้ที่กำหนดไว้ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนด นั้น เกิดขึ้นด้วยใจสมัครของจำเลยที่ 1 เอง หาเกี่ยวกับสังคมหรือประชาชนไม่จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะไม่มีข้อกำหนดในสัญญาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดตั้งแต่เมื่อใด จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน แม้จำเลยที่ 2 จะมีที่อยู่แยกต่างหากจากภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหลักแหล่งที่ทำการเป็นปกติแห่งเดียวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองไปถึงจำเลยที่ 1 แล้วถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ผู้จำนองได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเปลี่ยนแปลงวันประชุมผู้ถือหุ้น: การแจ้งครั้งแรกมีผล แม้การแจ้งเปลี่ยนแปลงมีระยะเวลาน้อยกว่าที่กำหนด
หนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นที่ได้ออกในคราวแรกนั้น ได้กำหนดระเบียบวาระการประชุม วันเวลาและสถานที่ประชุมโดยได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเกินกว่า 7 วัน นับถึงวันนัดประชุมถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทแล้วแม้ต่อมาจะได้มีการเลื่อนวันประชุมออกไปจากกำหนดเดิม โดยวันที่ออกหนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันประชุม และวันที่ผู้ถือหุ้นได้รับหนังสือดังกล่าวจะมีเวลาน้อยกว่า 7 วัน นับถึงวันนัดประชุมใหม่ที่เลื่อนออกไปก็ตาม ก็ต้องถือว่าการบอกกล่าวเรียกประชุมครั้งนี้ได้มีการแจ้งถึงผู้ถือหุ้น ตั้งแต่คราวแรกแล้ว หนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันเวลาประชุมดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแจ้งเปลี่ยนแปลงวันเวลาประชุมตามหนังสือที่แจ้งเดิมเท่านั้น.