พบผลลัพธ์ทั้งหมด 340 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8196-8199/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, การฟ้องคดี, สัญญาเช่า, อำนาจตัวแทน, การประทับตราสำคัญ
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 วรรคสาม บัญญัติว่า เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป หาได้บังคับว่าการกระทำกิจการแทนวัดจะต้องประทับตราสำคัญของวัดด้วยไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีตราสารจัดตั้งที่จำกัดอำนาจให้ต้องประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 แม้หนังสือมอบอำนาจที่ ส. มอบอำนาจให้ ป. มีอำนาจฟ้องคดีและทำนิติกรรมแทนโจทก์ที่ 1 จะปรากฏว่า ส. เพียงแต่ลงลายมือชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ไว้ด้วยก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
จำเลยให้การต่อสู้แต่เพียงว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ป. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินแทนโจทก์ที่ 1 ได้เท่านั้น จำเลยไม่ได้ให้การถึงว่าขณะทำหนังสือสัญญาเช่าไม่มีหลักฐานการตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีข้อสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่า 3 ปี แล้ว โจทก์ที่ 1 ต้องต่อสัญญาเช่าออกไปอีกจนกว่าจะครบ 30 ปี แม้การทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินจะเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีผลฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 จึงเป็นการเช่าที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตาม ข้อ 4 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505
จำเลยให้การต่อสู้แต่เพียงว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ป. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินแทนโจทก์ที่ 1 ได้เท่านั้น จำเลยไม่ได้ให้การถึงว่าขณะทำหนังสือสัญญาเช่าไม่มีหลักฐานการตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีข้อสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่า 3 ปี แล้ว โจทก์ที่ 1 ต้องต่อสัญญาเช่าออกไปอีกจนกว่าจะครบ 30 ปี แม้การทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินจะเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีผลฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 จึงเป็นการเช่าที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตาม ข้อ 4 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7739/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ แม้ตราประทับไม่ตรงกับที่จดทะเบียน หากมีลักษณะคล้ายคลึงและกรรมการลงชื่อถูกต้อง
แม้ตราที่ประทับของบริษัทโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจจะมิใช่ตราประทับอันเดียวกับตราที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่ก็มีรูปลักษณ์ ขนาดและตัวอักษรชื่อบริษัทโจทก์เช่นเดียวกับที่จดทะเบียนไว้ ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นตราของโจทก์ เมื่อกรรมการ 2 ใน 5 คน ลงชื่อกระทำการแทนบริษัทโจทก์ตามข้อบังคับถูกต้อง หนังสือมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ใช้บังคับผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571-7572/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกและระยะเวลาฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี
หนังสือมอบอำนาจโจทก์ที่ให้ ส. ฟ้องคดีแทนมิได้ระบุว่ายื่นฟ้องใครและข้อหาอะไร เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนและยังแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยทั้งสามด้วยข้อหาอะไร เกี่ยวกับเรื่องอะไร ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีต้องระบุรายละเอียดว่ามอบอำนาจให้ฟ้องใคร ข้อหาอะไร หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกเพิงที่พักลงบนที่ดินพิพาทเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2537 และจำเลยที่ 1 นำหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจและต่อสู้คดีแสดงว่า จำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการบุกรุกที่ดินพิพาทมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2537 แล้ว เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 และวันที่ 28 เมษายน 2538 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกเพิงที่พักลงบนที่ดินพิพาทเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2537 และจำเลยที่ 1 นำหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจและต่อสู้คดีแสดงว่า จำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการบุกรุกที่ดินพิพาทมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2537 แล้ว เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 และวันที่ 28 เมษายน 2538 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและอำนาจช่วง: การคำนวณค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนผู้รับมอบและลักษณะการมอบอำนาจ
โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลที่มีรายชื่อในกลุ่ม ก. คนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน ลงลายมือชื่อหรือบุคคลที่มีรายชื่อในกลุ่ม ข. 2 คน ในจำนวน 8 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันกระทำกิจการต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึงข้อ 5 ได้แก่ ยื่นคำฟ้อง ดำเนินคดีทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย แจ้งความร้องทุกข์ รับเงินหรือทรัพย์สิน รวมทั้งให้มอบอำนาจช่วงแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจให้บุคคลในกลุ่ม ก. เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนกระทำกิจการแยกกันได้ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ค) ส่วนการมอบอำนาจให้บุคคลในกลุ่ม ข. เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกันกระทำมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ข)
การมอบอำนาจช่วงให้บุคคลที่มีรายชื่อคนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งที่รวมทั้งมีอำนาจมีรับเงินหรือเอกสารและอื่นๆ ได้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ก)
การมอบอำนาจช่วงให้บุคคลที่มีรายชื่อคนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งที่รวมทั้งมีอำนาจมีรับเงินหรือเอกสารและอื่นๆ ได้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจช่วง: การตีความเจตนาผู้มอบอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 เพื่อให้เกิดผลบังคับใช้
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้า บริษัท ส. โดย ซ. และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนบริษัทดังจะกล่าวต่อไปนี้... ข้อ 1 ให้ตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดี... ข้อ 9 ... ให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง เพื่อให้มีอำนาจและดำเนินการตามอำนาจดังกล่าวข้างต้นให้ทุกประการ..." และหนังสือมอบอำนาจอีกฉบับมีข้อความว่า "ด้วยหนังสือนี้ข้าพเจ้าบริษัท ส. โดย ว. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอแต่งตั้งให้ จ. และหรือ ก. ให้เป็นตัวแทนของบริษัท และให้อำนาจดำเนินการแทนบริษัทดังจะกล่าวต่อไปนี้..." แม้หนังสือมอบอำนาจฉบับหลังจะระบุว่า ว. ผู้มอบอำนาจกระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำการแทนในฐานะตัวแทนโจทก์ก็ตามแต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 บัญญัติว่า "เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้น ดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล" ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยในคำฟ้องระบุว่า จ. และหรือ ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วง กับอ้างหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ทั้งใบแต่งทนายความโจทก์ระบุว่า ผู้แต่งทนายความคือโจทก์โดย จ. ผู้รับมอบอำนาจช่วง จึงต้องถือว่า ว. มีเจตนาลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจฉบับหลังเพื่อมอบอำนาจช่วงให้ จ. และหรือ ก. ฟ้องคดีนี้ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ หาได้กระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์แต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ครบอากรแสตมป์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีจึงต้องยก
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลาง และเพิ่งยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรฯ ข้อ 7 กำหนดว่ากรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท การที่โจทก์มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับจำเลย... ย่อมมีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องเสียคนละ 30 บาท รวม 60 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท ซึ่งไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรฯ ข้อ 7 กำหนดว่ากรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท การที่โจทก์มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับจำเลย... ย่อมมีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องเสียคนละ 30 บาท รวม 60 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท ซึ่งไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ครบอากรแสตมป์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องคดี
ปัญหาที่ว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลาง และเพิ่งจะยกขึ้นโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธิพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจที่ระบุไว้ว่า "แต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้รับมอบอำนาจ" นั้น มีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกจากกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้ายประมวลรัษฎากรต้องปิดอากรแสตมป์รวม 60 บาท
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจที่ระบุไว้ว่า "แต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้รับมอบอำนาจ" นั้น มีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกจากกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้ายประมวลรัษฎากรต้องปิดอากรแสตมป์รวม 60 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจชอบด้วยกฎหมาย แม้ลายพิมพ์นิ้วมือไม่ชัดเจน หากมีพยานรับรองและสืบยืนยันได้
แม้ลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ เป็นเพียงรอยเปื้อนหมึกไม่เห็นลายของนิ้วมือ แต่ใต้ลายพิมพ์ ก็มีคำอธิบายในวงเล็บว่า เป็นลายพิมพ์นิ้วมือของบุคคล ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่ารอยดังกล่าวเป็นรอยของลายพิมพ์นิ้วมือ มิใช่รอยเปื้อนหมึก เมื่อโจทก์มีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคนและโจทก์มีพยานมาเบิกความประกอบเอกสารว่าลายพิมพ์ดังกล่าวเป็นลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือข้างขวาของโจทก์ซึ่งนำสืบได้เพราะเป็นรายละเอียด การลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การแก้ไขข้อบกพร่องในหนังสือมอบอำนาจก่อนจำเลยให้การ และผลของการแก้ไข
แม้สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่แนบมาพร้อมคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องจำเลยเรื่องตั๋วเงิน ซึ่งไม่ตรงกับที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงการชำระหนี้ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นการระบุข้อหาผิดพลาดซึ่งถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยไม่ถึงกับทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสียไป ทั้งโจทก์ได้ขอแก้ไขคำฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การว่า สำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าวนั้นพิมพ์ผิดพลาด และขอส่งฉบับที่ถูกต้องแทนซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาต จึงถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจฟ้องแล้วและมีผลเสมือนสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่นี้เป็นเอกสารที่โจทก์ได้แนบมาพร้อมคำฟ้องตั้งแต่ต้น จึงถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8778/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจซึ่งปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากรฯ มาตรา 118 จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่า ก. มอบอำนาจช่วงให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้จำเลยก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง