คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนังสือเลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4440/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างสามารถยกเหตุผลขาดทุนแม้ไม่ได้ระบุในหนังสือเลิกจ้างได้
แม้จำเลยจะระบุเหตุในการเลิกจ้างโจทก์ไว้ในหนังสือเลิกจ้างว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร มีการยุบหน่วยงานบางหน่วยซึ่งรวมถึงหน่วยงานของโจทก์และไม่มีตำแหน่งว่างที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของโจทก์ในหน่วยงานที่เหลืออยู่ โดยมิได้อ้างเหตุว่าจำเลยประสบภาวะการขาดทุนก็ตาม แต่ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม นั้น ข้อห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในกรณีลูกจ้างฟ้องว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย เนื่องจากการวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ซึ่งอาจไม่ใช่เหตุที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ก็ได้ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือเลิกจ้างสองภาษา: เจตนาของคู่กรณี และขอบเขตการต่อสู้คดีค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยทำหนังสือเลิกจ้างเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยในฉบับเดียวกัน แม้จำเลยจะเป็นบริษัทต่างประเทศ แต่จำเลยก็ประกอบกิจการในประเทศไทยและโจทก์หรือลูกจ้างอื่น ๆ ของจำเลยก็เป็นคนไทย ฉะนั้นเมื่อมิได้มีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในกรณีที่ข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษและข้อความที่เป็นภาษาไทยแตกต่างกันให้ใช้ข้อความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก จึงต้องถือว่าเป็นกรณีที่มิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับและต้องถือตามข้อความที่เป็นภาษาไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 14
ข้อความภาษาไทยระบุถึงเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงาน ขาดความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมายและประสิทธิภาพในการทำงานของโจทก์ไม่เป็นที่ยอมรับของจำเลย สาเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวมิใช่สาเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ฉะนั้น จำเลยจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์หาได้ไม่ตามมาตรา 17 วรรคสาม
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม หมายถึงจำเลยจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้นแม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในคำให้การขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5168/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่แจ้งในหนังสือเลิกจ้าง การเลิกจ้างด้วยเหตุประมาทเลินเล่อไม่ถึงขั้นเลิกจ้าง
คำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกนั้นอ้างเหตุแต่เพียงว่าโจทก์ได้เก็บเงินค่าโดยสารแล้วตัดตั๋วให้ผู้โดยสารไม่ครบราคา เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ มิได้อ้างว่าโจทก์ได้กระทำการดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่งและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย จำเลยก็ชอบที่ยกเหตุที่ระบุในหนังสือเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้เท่านั้น จำเลยจะยกเหตุที่โจทก์ได้กระทำการดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่งและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือไว้แล้วซึ่งนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งของจำเลยอันเป็นหนังสือเลิกจ้างขึ้นต่อสู้ไม่ได้
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าการที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเงินค่าโดยสารจากผู้โดยสารเป็นธนบัตรฉบับละ 20 บาท โจทก์ได้ตัดตั๋วราคา 6 บาท และทอนเงิน 4 บาท ให้แก่ผู้โดยสาร ซึ่งเป็นการตัดตั๋วไม่ครบราคา โดยโจทก์ไม่มีเจตนาเบียดบังเงินจำนวน 10 บาท เป็นของตนโดยทุจริต แต่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายเพียงเล็กน้อย ดังนี้การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งของจำเลยกรณีที่ไม่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชย และย่อมเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813-2839/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างสามารถยกเหตุผลที่ไม่ได้ระบุในหนังสือเลิกจ้างได้ หากมีเหตุผลทางธุรกิจ เช่น ขาดทุน
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นอาจเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121, 123 และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็ได้
การเลิกจ้างที่จะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 นั้น จะต้องปรากฏว่ามีการแจ้งข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคู่กรณีสามารถตกลงกันได้หรือคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มี คำชี้ขาดตามมาตรา 13, 22, 24 แล้วในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ นายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้นายจ้างเลิกจ้างได้ ส่วนการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 หมายถึงการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ซึ่งอาจเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิได้บัญญัติห้ามไม่ให้นายจ้าง ยกเหตุที่มิได้ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างขึ้นต่อสู้ดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ จำเลยจึงอ้างเหตุว่าจำเลยประสบภาวะ การขาดทุนต้องปิดกิจการสาขาในประเทศไทย มีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ขึ้นต่อสู้ได้ ศาลแรงงานกลางจึงสามารถรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวและนำมาวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลยึดตามเหตุที่แจ้งเท่านั้น
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีอ้างเหตุเลิกจ้างโจทก์ไว้หลายประการก็ตามหากเหตุเลิกจ้างประการใดไม่ปรากฏในหนังสือเลิกจ้าง ย่อมแสดงว่าในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นจำเลยคงติดใจเลิกจ้างโจทก์เฉพาะสาเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่ได้ติดใจที่จะนำสาเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้มาเป็นเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์อีก ที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเหตุเลิกจ้างอื่นตามที่จำเลยให้การไว้ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอ้างเหตุเลิกจ้างภายหลังหนังสือเลิกจ้าง
แม้นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันมีลักษณะตามข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตาม แต่เมื่อนายจ้างมิได้อ้างเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างโดยนายจ้างเพิ่งจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเมื่อถูกลูกจ้างฟ้องคดีศาลแรงงานย่อมไม่สามารถจะหยิบยกข้อต่อสู้ของนายจ้างมาประกอบการพิจารณาได้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างอ้างเหตุเลิกจ้างภายหลังไม่ได้ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลไม่อาจนำมาพิจารณาได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
แม้นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างกระทำต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันมีลักษณะตามข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตาม แต่เมื่อนายจ้างมิได้อ้างเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างโดยนายจ้างเพิ่งจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเมื่อถูกลูกจ้างฟ้องคดี ศาลแรงงาน ย่อมไม่สามารถจะหยิบยกข้อต่อสู้ของนายจ้างมาประกอบการพิจารณาได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลแรงงานงดสืบพยานได้หากจำเลยไม่ต่อสู้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยทำเป็นหนังสือและระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งแสดงว่าจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างหาได้ถือเอาเหตุอื่นด้วยไม่จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าศาลแรงงานกลางงดสืบพยานโดยมิได้สอบข้อเท็จจริงถือลักษณะงานว่าต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 46 วรรคท้ายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ การงดสืบพยานดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาล จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนครบกำหนดสัญญา และการยกข้อต่อสู้เกินกว่าที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง
ฟ้องแย้งของจำเลยบรรยายเพียงว่าผู้ที่สั่งจองห้องพักของจำเลยไว้ได้ยกเลิกการจองห้องพักในภายหลังเพราะไม่พอใจการกระทำของโจทก์ค่าห้องพักที่ถูกยกเลิกการสั่งจองคิดเป็นเงินจำนวน10,936,655.50บาทโดยไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะให้เข้าใจได้ว่าผู้จองห้องพักและได้ยกเลิกการสั่งจองในภายหลังนั้นได้จองห้องพักเมื่อใดจองห้องพักจำนวนมากน้อยและมีกำหนดระยะเวลาที่จองนานเท่าใดกับได้ยกเลิกการสั่งจองห้องพักเมื่อใดเป็นฟ้องแย้งที่ไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นฟ้องแย้งที่เคลือบคลุม ตามสัญญาจ้างกำหนดว่าจำเลยจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลา3ปีโดยจำเลยหรือโจทก์ต่างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลา3ปีดังกล่าวได้การที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดระยะเวลา3ปีเป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือเงินจำนวนใดๆให้โจทก์ดังคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองเพียงใดหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญซึ่งตามหนังสือเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยไม่ได้ระบุเหตุของการเลิกจ้างว่าเพราะโจทก์กระทำผิดตามประเด็นข้อพิพาทข้อ3ถึงข้อ6การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดตามประเด็นข้อพิพาทข้อ3ถึงข้อ6จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือหนังสือเลิกจ้างซึ่งจำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลไม่รับฟังเหตุอื่นนอกเหนือจากนั้น
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพียง 2 ประการคือ โจทก์ยักยอกเงินของจำเลย โดยใช้ใบเสร็จของบริษัท อ. และโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการกู้ยืมเงิน พ. มิได้อ้างเหตุว่าโจทก์ยักยอกหรือโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นจำเลยจึงยกเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ยักยอกหรือโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ จำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนั้นไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าโจทก์ยักยอกและโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นหรือไม่
of 2