พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการรับสภาพหนี้ค้ำประกัน แม้สัญญาไม่สมบูรณ์แต่จำเลยรับสภาพแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน หากจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้ยกเรื่องอำนาจศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์แสดงว่าคู่ความยอมรับอำนาจศาลแล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 และที่ 5 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ประสงค์จะต่อสู้คดี แต่ไม่มีเงินพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขอเลื่อนคดีไปสักนัดหนึ่งก่อน โดยมิได้ปฏิเสธว่ามิใช่ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 รับว่าเป็นผู้ค้ำประกันแล้วโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงสัญญาค้ำประกันอีก ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ. 6 และ จ. 8 จะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 ก็ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์จริง
จำเลยที่ 3 และที่ 5 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ประสงค์จะต่อสู้คดี แต่ไม่มีเงินพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขอเลื่อนคดีไปสักนัดหนึ่งก่อน โดยมิได้ปฏิเสธว่ามิใช่ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 รับว่าเป็นผู้ค้ำประกันแล้วโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงสัญญาค้ำประกันอีก ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ. 6 และ จ. 8 จะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 ก็ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531-3532/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้จริงและผู้ทรงเช็คไม่มีอำนาจฟ้อง การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค้ำประกันค่าแชร์ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้น ต้องเป็นการออกเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค เมื่อหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยซึ่งเป็นหนี้ประธานระงับสิ้นไป หนี้จำนองและหนี้ค้ำประกันซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับไปด้วย เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระเกี่ยวกับหนี้อุปกรณ์ดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม บทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7898/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค้ำประกันสะดุดหยุดเมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (3) อันเป็นโทษแก่ลูกหนี้ ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 ผู้คัดค้านจึงใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 มีหนังสือทวงหนี้ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผ่อนชำระหนี้ค้ำประกัน ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอรับทุนและลาไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อมาผิดสัญญา โจทก์ได้นำเงินบำเหน็จของจำเลยที่ 1 ชดใช้หนี้บางส่วนแล้วแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ส่วนที่ค้าง จำเลยที่ 2 ชำระเพียงครึ่งเดียวอีกครึ่งหนึ่งทำสัญญาผ่อนชำระหนี้มีใจความว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระเงินค่าผิดสัญญาลาศึกษาของจำเลยที่ 1 โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือน อัตราเดือนละ5,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หนังสือดังกล่าวเป็นการยอมรับผิดใช้ทุนการศึกษา ซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันไว้เดิม ไม่มีข้อความระงับข้อพิพาทที่มีอยู่เดิมเพื่อก่อให้ได้สิทธิขึ้นใหม่แต่อย่างใด จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผ่อนชำระหนี้ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากไม่มีการระงับข้อพิพาทเดิมและก่อให้เกิดสิทธิใหม่
จำเลยที่1ทำสัญญาขอรับทุนและลาไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อมาผิดสัญญาโจทก์ได้นำเงินบำเหน็จของจำเลยที่1ชดใช้หนี้บางส่วนแล้วแจ้งให้จำเลยที่2ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ส่วนที่ค้างจำเลยที่2ชำระเพียงครึ่งเดียวอีกครึ่งหนึ่งทำสัญญาผ่อนชำระหนี้มีใจความว่าจำเลยที่2ยินยอมชำระเงินค่าผิดสัญญาลาศึกษาของจำเลยที่1โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนอัตราเดือนละ5,000บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีหนังสือดังกล่าวเป็นการยอมรับผิดใช้ทุนการศึกษาซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่2ค้ำประกันไว้เดิมไม่มีข้อความระงับข้อพิพาทที่มีอยู่เดิมเพื่อก่อให้ได้สิทธิขึ้นใหม่แต่อย่างใดจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากไม่ยื่นผูกพันตามแผนประนอมหนี้
ก่อนจำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีก่อน จำเลยที่ 1ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์แล้ว อันทำให้เกิดมูลหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาด อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระในขณะที่จำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจำเลยที่ 1ยังไม่ผิดนัด โจทก์ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายคดีก่อนภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวจนได้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 56 โจทก์จะนำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: การผูกพันตามการประนอมหนี้ และผลของการไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
ก่อนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์แล้ว อันทำให้เกิดมูลหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาดอยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แม้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระในขณะที่จำเลยที่ 3 ถูก พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดโจทก์ก็ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27,91 และ 94 เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว จนได้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและ ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 3 แล้วโจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56 โจทก์จะนำหนี้ตามสัญญา ค้ำประกันมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: การผูกพันตามการประนอมหนี้ และการฟ้องล้มละลายซ้ำ
จำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์ก่อนที่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันถูกพิทักษ์ทรัพย์ในอีกคดีหนึ่ง หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และแม้จะยังไม่ถึงกำหนดในขณะนั้น เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด ก็อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนได้มีการประนอมหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว โจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 56จึงนำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด มิฉะนั้นผูกพันตามการประนอมหนี้
ก่อนจำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีก่อน จำเลยที่ 1ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์แล้ว อันทำให้เกิดมูลหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาด อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระในขณะที่จำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด โจทก์ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายคดีก่อนภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27,91,94 เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวจนได้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56 โจทก์จะนำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้มรดกและหนี้ค้ำประกัน: ผลของการรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ.และในฐานะผู้ค้ำประกันให้รับผิดชำระหนี้ที่ จ.เป็นหนี้โจทก์ กรณีต้องแยกวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยในแต่ละฐานะ สำหรับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น เมื่อจำเลยลงชื่อรับสภาพหนี้ในสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ จ. จึงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเฉพาะในส่วนมรดกของ จ.ที่ตกได้แก่จำเลยเท่านั้นสำหรับมรดกส่วนอื่นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่ จ.ถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ส่วนการรับสภาพหนี้ของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันนั้น อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม จำเลยไม่อาจยกข้อต่อสู้ของกองมรดกของ จ.ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในเรื่องอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อีก