คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้ห้างหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดแม้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อออกจากการเป็นผู้จัดการแล้ว จนกว่าการจดทะเบียนจะมีผล
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนให้จำเลยในคดีดังกล่าวดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต่อนายทะเบียนกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะพ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้วเพราะการเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1021 และ 1022 หาใช่จำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่ ดังนั้น เมื่อในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้จำเลยที่ 3 ยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อยู่ จำเลยที่ 3 จึงหาหลุดพ้นจากความผิดรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ แต่ต้องร่วมรับผิดบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 และ 1077 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้มีคำขอให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 89 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจะได้มีการแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้โดยไม่ต้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของห้างก่อน
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์ ส่วนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างดังกล่าวมิใช่ผู้ที่ถูกประเมินจึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้ง การประเมินให้แก่จำเลย ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ให้ชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ของห้างได้โดย ไม่ต้องแจ้งการประเมินให้จำเลยก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1071 ประกอบมาตรา 1080ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการบังคับคดีโดยจะให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อน หรือจะให้บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ก็ได้ ซึ่งแตกต่างกับกรณีเป็นผู้ค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันสามารถจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เจ้าหนี้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนตามมาตรา 688 อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใด ห้ามโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดมิให้ฟ้องร้องหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยต้องไปบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนการที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 ระบุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีได้เฉพาะหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน อีกทั้งเมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคดีแพ่งมาฟ้องให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้จากทั้งลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดรับผิดชอบหนี้ห้างหุ้นส่วน: โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ล้มละลายจากหนี้ของห้างหุ้นส่วนได้ แม้ไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากร โจทก์จึงนำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 ได้ การที่โจทก์นำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ย่อมอุทธรณ์เฉพาะคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ได้โดยไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์คดีสำหรับจำเลยที่ 1ด้วย เพียงแต่การพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 9 ตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 บัญญัติไว้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 89 ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่า โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้จำเลยที่ 2ล้มละลายแต่ลำพังไม่ได้และไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ห้างหุ้นส่วน และสิทธิยกอายุความ
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้าง-หุ้นส่วนจำกัด พ.ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพ-ความรับผิดโดยสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 วรรคสาม (เดิม)
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและสิทธิในการฟ้องล้มละลาย: หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วน
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันที มิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 แต่ทางเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการพิสูจน์สถานะทางการเงินในคดีล้มละลาย
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งสืบเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวนจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจต่อสู้หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปจัดการกิจการ: ความรับผิดต่อหนี้ของห้างหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องคดีโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสองข้อคือข้อแรก โจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อที่สองจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่ปฏิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า หนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใด ซึ่งศาลล่างทั้งสองเห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง จึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ข้อแรก ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 วรรคหนึ่งซึ่งบัญญัติว่า ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกเนื่องจากบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด ส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใดและมีหน้าที่อย่างใด หากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้ กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจากการทำหนังสือรับสภาพหนี้และการจัดการงาน
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์ ใช้ชื่อบัญชีว่า นาย ส. คือจำเลยที่ 4 โดยใช้เช็คเบิกเงินจากบัญชีมีเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินว่า สองในสามของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกัน ต่อมาจำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ได้ร่วมกันจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. จำเลยที่ 1ขึ้นโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 และที่ 4เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แล้วแจ้งโจทก์ขอเปลี่ยนชื่อบัญชีจากชื่อจำเลยที่ 4 เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 เงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินจากบัญชีคงให้สองในสามคนของหุ้นส่วน คือจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ลงชื่อร่วมกันออกเช็คประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 หลายครั้งอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 หยุดเคลื่อนไหว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4ได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยยอมร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน แม้การเบิกเงินเกินบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จะหยุดเคลื่อนไหวและได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ก็ตาม แต่หนังสือรับสภาพหนี้ได้ระบุชัดเจนว่าจำเลยทั้งสี่จะนำเงินมาผ่อนชำระเข้าบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 ทุก ๆ เดือน เพื่อลดต้นเงินและดอกเบี้ยไปจนกว่าจะชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีหมดสิ้น และตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป ถือได้ว่าเป็นการตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นคู่สัญญาจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด และให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนและแม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจะออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว ก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1051,1052 โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลยที่ 4 ก่อน 3 วัน แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2).
of 2