พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการกู้ยืมเงิน จำนองประกัน และการชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการกู้ยืม จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ แต่จำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้ของ ส. บุตรชายจำเลย ดังนี้เป็นการต่อสู้ว่าไม่มีหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานตามฟ้อง มีแต่หนี้เงินกู้ยืมของ ส. บุตรชายที่จำเลยเพียงแต่จำนองประกันหนี้เท่านั้น ซึ่งหากคดีฟังได้ตามข้อต่อสู้ ก็เท่ากับว่าไม่มีหนี้เงินกู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ก็ไม่อาจบังคับจำนองที่ดินพิพาทอันเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ คดีจึงมีประเด็นด้วยว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และพิพากษาคดีมา จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ 183 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเสียก่อน แต่กลับฟังข้อเท็จจริงยุติไปเลยว่า จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเพื่อประกันการกู้ยืมเงินของ ส. ย่อมเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นเพิ่มและวินิจฉัยให้เสร็จไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
คดีนี้จำเลยให้การเพียงว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปจดทะเบียนขายฝากจำนวน 715,000 บาท เพื่อชำระหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระแก่โจทก์ มิได้ให้การถึงการขายฝากที่ดินแปลงอื่นอีก การที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดินแปลงอื่นจำนวน 3 แปลง ไปขายฝากแก่บุคคลภายนอกแล้วนำเงินที่ได้จากการขายฝากจำนวน 200,000 บาท ไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 แต่ที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปขายฝากแก่ ก. บุตรชายโจทก์และโจทก์หักเงินที่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม เป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ยค้างชำระ มิใช่เป็นการนำสืบถึงการใช้ต้นเงินจึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นโมฆะเพราะเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด การชำระดอกเบี้ยจึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 ซึ่งจะนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินไม่ได้
คำแถลงรับของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้คืนบางส่วนจากจำเลย ย่อมผูกพันโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักยอดหนี้ค้างชำระได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง
คดีนี้จำเลยให้การเพียงว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปจดทะเบียนขายฝากจำนวน 715,000 บาท เพื่อชำระหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระแก่โจทก์ มิได้ให้การถึงการขายฝากที่ดินแปลงอื่นอีก การที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดินแปลงอื่นจำนวน 3 แปลง ไปขายฝากแก่บุคคลภายนอกแล้วนำเงินที่ได้จากการขายฝากจำนวน 200,000 บาท ไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 แต่ที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลง ไปขายฝากแก่ ก. บุตรชายโจทก์และโจทก์หักเงินที่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม เป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ยค้างชำระ มิใช่เป็นการนำสืบถึงการใช้ต้นเงินจึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นโมฆะเพราะเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด การชำระดอกเบี้ยจึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 ซึ่งจะนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินไม่ได้
คำแถลงรับของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้คืนบางส่วนจากจำเลย ย่อมผูกพันโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักยอดหนี้ค้างชำระได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้แยกสัญญา: เมื่อหนี้ประธานระงับ หนี้อุปกรณ์ย่อมระงับตามไปด้วย
ว. ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารจำเลยสาขาบางบอนโดยมี ส. จำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาโจทก์ที่ 1 กับ ว. กู้ยืมเงินจากธนาคารจำเลยสาขาบางแค โดยมีโจทก์ทั้งสองจำนองที่ดินเป็นประกัน หนี้ประธานทั้งสองจำนวนเกิดขึ้นต่างสาขากัน และโจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้ที่มีอยู่แต่ละสัญญาแล้ว สัญญาจำนองประกันหนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยสาขาบางแค จึงแยกต่างหากจากหนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยสาขาบางบอน ไม่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ดังนั้น ข้อความที่ว่าเป็นประกันหนี้ทุกประเภททุกอย่างในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่โจทก์ทั้งสองทำกับจำเลยสาขาบางบอนจึงหมายถึงหนี้ประกันแต่ละสัญญา มิรวมถึงหนี้คนละประเภทและคนละสาขากัน เมื่อโจทก์ที่ 1 และ ว. ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแก่จำเลยสาขาบางแค อันทำให้หนี้ประธานระงับสิ้นไปแล้ว หนี้ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงระงับไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) แม้ ว. ยังเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่ต่อจำเลยสาขาบางบอนก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองระงับเมื่อหนี้กู้ยืมเงินประธานสิ้นสุด แม้มีข้อตกลงจำนองเป็นประกันหนี้ในอนาคต หากสัญญาสิ่งอุปกรณ์ไม่ได้ระบุชัดเจน
แม้ในสัญญาจำนองที่ดินจะระบุข้อความว่า จำนองเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยผู้จำนองมีต่อธนาคารโจทก์ผู้รับจำนองในเวลานี้หรือที่จะมีขึ้นใหม่ในภายหน้าก็ตามแต่เมื่อหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานที่มีการจำนองเป็นประกันได้ระงับสิ้นไปโดยจำเลยชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(1) ทั้งในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยก็มิได้ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวว่ามีการจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีมีข้อสงสัยเช่นนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความในทางที่เป็นคุณแก่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น กรณีต้องฟังว่าโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงให้นำสัญญาจำนองที่ดินมาเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันพิพากษาตามยอม การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยตั้งแต่วันที่17 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 10 มิถุนายน 2520 ก็ตามแต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าวโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ต้องมีหนี้ประธานก่อนบังคับจำนอง ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำพิพากษาตามยอม
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยตั้งแต่วันที่17 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 10 มิถุนายน 2520 ก็ตามแต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าวโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ต้องมีหนี้ประธานก่อนบังคับจำนอง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันมีคำพิพากษาตามยอม
หนี้จำนองโดยสภาพเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองเอาแก่ทรัพย์จำนองจึงจะกระทำได้ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยไว้ก่อนก็ตาม แต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานในคดีนี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าว ดังนี้โจทก์จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1)เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี ตามมาตราดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6779/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรชำระหนี้: ชำระหนี้อุปกรณ์ก่อนเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ประธานได้ทั้งหมด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 329 ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้รายเดียวแต่ว่ามีทั้งหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะต้องจัดสรรชำระหนี้อุปกรณ์ก่อน เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและใบเสร็จรับเงินมิได้ระบุให้จัดใช้เป็นการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อน จึงต้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวจัดใช้หนี้ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6779/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรชำระหนี้: หนี้อุปกรณ์ต้องชำระก่อนหนี้ประธานเมื่อชำระไม่ครบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา329ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้รายเดียวแต่ว่ามีทั้งหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะต้องจัดสรรชำระหนี้อุปกรณ์ก่อนเมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและใบเสร็จรับเงินมิได้ระบุให้จัดใช้เป็นการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อนจึงต้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวจัดใช้หนี้ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด – อายุความ – หนี้อุปกรณ์
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้าย จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ได้เบิกเงินออกจากบัญชีเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นลงไว้ในบัญชีเท่านั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้นับแต่วันถัดจากวันดังกล่าวเป็นต้นไป
โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529 เกินกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินซึ่งคำนวณถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2519 จึงขาดอายุความ ส่วนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวหลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2519 ซึ่งเป็นหนี้ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อันต้องอาศัยต้นเงินส่วนที่เป็นประธานซึ่งขาดอายุความ ย่อมขาดอายุความตามกันไปด้วยทั้งหมดตาม ป.พ.พ.มาตรา 190 เดิม
โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529 เกินกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินซึ่งคำนวณถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2519 จึงขาดอายุความ ส่วนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวหลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2519 ซึ่งเป็นหนี้ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อันต้องอาศัยต้นเงินส่วนที่เป็นประธานซึ่งขาดอายุความ ย่อมขาดอายุความตามกันไปด้วยทั้งหมดตาม ป.พ.พ.มาตรา 190 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชีต้องเป็นไปตามสัญญาประธาน สัญญาจำนองเป็นอุปกรณ์ไม่อาจเพิ่มดอกเบี้ยได้
สัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ จำนวนหนี้และอัตราดอกเบี้ยย่อมเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อตกลงให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ไม่ได้
มูลหนี้ประธานเกิดจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งมีรวม 5 ฉบับแต่ละฉบับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่างกัน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ละฉบับ ฉบับที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำที่สุดร้อยละ 15 ต่อปี สูงที่สุดร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาโดยไม่แยกให้แน่ชัดว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่าใด นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้นำสืบถึงประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วยโจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 15 ต่อปี
มูลหนี้ประธานเกิดจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งมีรวม 5 ฉบับแต่ละฉบับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่างกัน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ละฉบับ ฉบับที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำที่สุดร้อยละ 15 ต่อปี สูงที่สุดร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาโดยไม่แยกให้แน่ชัดว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่าใด นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้นำสืบถึงประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วยโจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 15 ต่อปี