คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้เงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญา, การลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน, และดอกเบี้ยจากหนี้เงิน
แม้จำเลยสมัครใจตกลงเข้าทำสัญญาเพื่อรับทุนจากโจทก์ไปศึกษาต่อต่างประเทศเองโดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยผิดสัญญา จำเลยยอมให้เรียกตัวกลับหรือปลดออกจากราชการได้ และจำเลยยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นจำนวน 3 เท่าของเงินทุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไป แต่เมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับข้อตกลงสำหรับความเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับแล้ว เมื่อเห็นว่าสูงเกินส่วนศาลย่อมสามารถลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าเสียหายที่ศาลกำหนดรวมทั้งเบี้ยปรับเป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีทั้งจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพียงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าธรรมเนียมประทานบัตร, การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียม, และอายุความหนี้เงิน
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้ จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงระงับข้อพิพาทจากการทำละเมิดและหนี้เงินจากแชร์ ไม่เป็นหนังสือ ไม่อาจบังคับได้, สิทธิคิดดอกเบี้ย
การที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ตกลงกับจำเลยที่ 1 และ น. ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกวงเปียแชร์นำเงินไปชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดต่อ น. โดยโจทก์ทั้งสองรับจะเป็นผู้ส่งเงินแชร์วงดังกล่าว และแชร์วงอื่นอีกแทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงด้วยนั้น ข้อตกลงเช่นนี้เป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกันค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดต่อ น. เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมื่อชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด กรณีย่อมไม่อาจบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้ หนี้เงินแชร์อันเกิดจากการที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ได้ออกแทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงไปนั้นเป็นหนี้เงิน โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้เงินที่ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ในกรณีที่จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายและโจทก์ต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะเป็นกำหนดเวลาแน่นอน และคำนวณเป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์แล้ว หนี้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวไม่ใช่หนี้ในอนาคต แต่เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระทันที จึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้เงินที่ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด แม้ศาลกำหนดเป็นเงินก้อน
ในกรณีที่จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายและโจทก์ต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะเป็นกำหนดเวลาแน่นอน และคำนวณเป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์แล้ว หนี้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวไม่ใช่หนี้ในอนาคต แต่เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระทันที จึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้ แม้เป็นหนี้เงินเหมือนกัน หากยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความผิดสัญญา หักกลบลบไม่ได้
แม้หนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายกับหนี้ค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระให้จำเลย อันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายในคราวก่อน จะมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการชำระเงินเสมือนกัน แต่เมื่อโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่า โจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วเช่นนี้ จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 345

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187-189/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง: ถือเป็นหนี้เงิน, ผิดนัดไม่ต้องทวงถาม, คิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่าย ย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่จำต้องทวงถาม
ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยฟ้องแย้งหักกลบลบหนี้ในคดีแพ่งเมื่อมีหนี้เงินถึงกำหนดชำระทั้งสองฝ่าย
ในคดีแพ่งนั้นเมื่อจำเลยถูกฟ้องแล้ว นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธแล้วจำเลยย่อมมีสิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้งได้หากหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและถึงกำหนดชำระแล้ว และเมื่อฟังว่าหนี้ที่ขอหักกลบลบหนี้มิใช่เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยก็ย่อมได้ประโยชน์และศาลจะต้องพิพากษาให้ในจำนวนที่เหลือจากหักกลบลบหนี้กันแล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็ค จำเลยฟ้องแย้งว่าภายหลังออกเช็คให้โจทก์แล้ว โจทก์ได้มาซื้อสินค้าจากจำเลยไป เมื่อคิดหักหนี้กันแล้วโจทก์ยังเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่ ดังนี้ หนี้สองรายนี้ต่างเป็นหนี้เงินด้วยกัน และถึงกำหนดชำระแล้วทั้งสองฝ่าย เมื่อฟังเป็นจริงด้วยกันแล้วก็ย่อมหักกลบลบหนี้ด้วยกันได้ และจำนวนเงินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยนั้นก็เกิดจากนำยอดเงินตามเช็คที่โจทก์ฟ้องมาหัก จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ และเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177, 179 วรรคท้าย จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าข้าวเปลือก: ไม่ใช่ดอกเบี้ยตามกฎหมายหากไม่ใช่หนี้เงิน, ประกาศห้ามตกข้าวถูกยกเลิก
การยืมข้าวเปลือกซึ่งตกลงให้ดอกเบี้ยเป็นข้าวเปลือกในอัตรา 1 ถังต่อข้าวเปลือกที่ยืม 2 ถังนั้นมิใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของกฎหมาย. เพราะผลประโยชน์ที่เรียกเป็นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นได้จากหนี้เงินเท่านั้น. เมื่อตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในการยืมข้าวเปลือกกันไว้อย่างไร.(แม้คำนวณแล้วผลประโยชน์ตอบแทนจะสูงเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี). ผู้ยืมก็จะต้องชำระให้ตามข้อตกลงนั้น
ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.ซึ่งได้รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆในทางแพ่งทั้งหมดขึ้นใช้บังคับ.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1981/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12177/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม หักกลบลบหนี้ได้ หากเป็นหนี้เงินและถึงกำหนดชำระ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระค่าสินค้าที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อให้แก่ลูกค้า จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า โจทก์ต้องจ่ายค่าบำเหน็จนายหน้าให้จำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ค้างชำระค่าบำเหน็จนายหน้าจึงขอบังคับให้โจทก์ชำระค่าบำเหน็จนายหน้าแก่จำเลยที่ 2 โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในวันเวลาต่างกันกับคำฟ้อง เช่นนี้ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระแก่โจทก์ก็เนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการสั่งซื้อสินค้าเพื่อส่งให้แก่ลูกค้า โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าบำเหน็จนายหน้าให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชำระค่าบำเหน็จนายหน้าที่ค้างชำระแก่จำเลยที่ 2 จึงเกิดจากการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เช่นเดียวกัน กรณีจึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจสั่งซื้อสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ใช่หนี้ค่าบำเหน็จของการสั่งซื้อค่าสินค้าตามฟ้องในครั้งนี้ก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน คือหนี้เงินและหนี้ทั้งสองรายถึงกำหนดชำระแล้ว จึงชอบที่จะนำมาหักกลบลบกันได้และพิจารณาพิพากษาไปในคราวเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 หาใช่เป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมไม่
of 2