พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ครบถ้วนของผู้ค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยจำเลยครบถ้วน ทำให้ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้จาก ก. ผู้กู้ ตามทางนำสืบของจำเลยผู้ค้ำประกัน แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่น โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาท และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า เมื่อโจทก์รับว่าได้รับเงินจาก ก. แต่ปฏิเสธว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามคำปฏิเสธของโจทก์ โจทก์ไม่นำสืบพยานเช่นว่านั้น จำต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ก. ชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาทแล้ว ดังนี้ เป็นการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานในประเด็นข้อพิพาทเดิมขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้เป็นการตั้งประเด็นใหม่หรือยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นใหม่แต่อย่างใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ก. กู้ยืมเงินโจทก์โดยที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ก. ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แทน จำเลยให้การว่า ก. ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้จาก ก. จริง แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ ไม่ได้ชำระหนี้รายพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์และมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้รายพิพาทจาก ก. แล้ว
โจทก์ฟ้องว่า ก. กู้ยืมเงินโจทก์โดยที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ก. ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แทน จำเลยให้การว่า ก. ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้จาก ก. จริง แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ ไม่ได้ชำระหนี้รายพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์และมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้รายพิพาทจาก ก. แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้และการหักกลบลบหนี้ด้วยเงินปันผลจากหุ้น ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นสมาชิกของโจทก์ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน ต่อมาจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ รับว่าเป็นหนี้เงินกู้กับหนี้ค่าเครื่องอุปโภคบริโภค และจำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย แต่การที่จำเลยต่อสู้คดีและฟ้องแย้งว่าจำเลยเป็นสมาชิกผู้ถือหุ้นของโจทก์ซึ่งในแต่ละปีจำเลยมีสิทธิได้รับเงินปันผลจากโจทก์หลายแสนบาท ขอให้นำเงินค่าหุ้นและเงินปันผลของจำเลยไปหักกลบลบหนี้กับเงินกู้ที่โจทก์เรียกร้องนั้น เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิในเงินลงหุ้นและเงินปันผลที่จำเลยจะพึงได้รับจากโจทก์และเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับเงินที่จำเลยลงหุ้นกับโจทก์เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์มีมูลหนี้มาจากการฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แปลงหนี้ค่าแชร์เป็นหนี้เงินกู้ การชำระหนี้โดยหักกลบ และการนำสืบการชำระหนี้
เมื่อจำเลยมีมูลหนี้ที่จะต้องชำระค่าแชร์แก่โจทก์ และโจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนจากมูลหนี้ค่าแชร์มาเป็นหนี้เงินกู้ จึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้ค่าแชร์จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้แล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่ทำให้สัญญากู้ยืมเงินชอบด้วยกฎหมาย มีผลบังคับโดยสมบูรณ์ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในลักษณะหนี้กู้ยืม การที่จำเลยให้การและนำสืบว่าโจทก์ ได้หักเงินค่าแชร์ของจำเลยชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยแล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการ หักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้เกิน 50 บาทที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ และจำเลยไม่มีสิทธิยึดโฉนดที่ดินเป็นประกัน
หนี้กู้ยืมเงินเกินห้าสิบบาทขึ้นไปที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ ผู้ให้ยืมจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินของผู้ยืมไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และผลกระทบต่อความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินเพียงพอ
วันออกเช็คตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯคือวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารปลอม สัญญาค้ำประกัน และการบังคับตามสัญญาจำนอง กรณีหนี้เงินกู้ไม่ตรงตามข้อตกลง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้โดยเอกสารสัญญากู้พิพาทยังไม่มีการกรอกข้อความ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอกู้ยืมจากโจทก์เป็นจำนวนเงินเพียง 200,000 บาท แต่ปรากฏว่าสัญญากู้ดังกล่าวกลับมีการกรอกข้อความว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 กู้ยืมเงินจากโจทก์เป็นจำนวน 2,800,000 บาท จึงเป็นการกรอกข้อความลงในสัญญากู้ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่ลงลายมือชื่อให้ไว้ผิดไปจากความจริงโดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้พิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงลายมือไว้แล้วมีการกรอกข้อความว่าเป็นการค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 จำนวนเงิน 2,800,000บาท ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงโดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย จึงเป็นเอกสารปลอมเช่นกัน ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลย ขอให้จดทะเบียนปลดจำนองรายเดียวกันนี้ต่อศาลชั้นต้นซึ่งต่อมาคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาว่ามีหนี้เงินกู้จำนวน 200,000 บาท ซึ่งผูกพันสัญญาจำนองคำพิพากษาศาลฎีกาว่ามีหนี้เงินกู้จำนวน 200,000 บาท ซึ่งผูกพันสัญญาจำนอง คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 3 และโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความรายเดียวกันนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อมีหนี้เงินกู้จำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงผูกพันสัญญาจำนองรายนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 3 ตามสัญญาจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655-2656/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเช็คพิพาทจากหนี้เงินกู้ที่มีดอกเบี้ยเกินอัตรา ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องร้องคดีเช็ค
การที่โจทก์รับเช็คพิพาทจากช. เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำความผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมายแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทก็จะถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำเช็คพิพาทมาฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7578/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ช่วงสิทธิแยกต่างหาก: ความรับผิดของลูกหนี้แยกจากกัน, ข้อจำกัดการฎีกา, ศาลแก้ไขพิพากษา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งความรับผิดในหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากธนาคารมาคนละ 146,455 บาท ความรับผิดของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์จึงสามารถแยกต่างหากจากกันได้ หนี้ดังกล่าวมิใช่หนี้ร่วมการคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นรายบุคคล หาใช่คำนวณรวมกันเป็นรายเดียวเช่นลูกหนี้ร่วมไม่ เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองแยกคำนวณต่างหากจากกันไม่เกินรายละสองแสนบาทแล้ว ก็ห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้น ต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ย่อมไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว พิพากษาให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246, 247
ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้น ต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ย่อมไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว พิพากษาให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7578/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้แยกส่วน: ศาลฎีกายกประเด็นข้อจำกัดการฎีกาและพิพากษาแบ่งความรับผิดตามส่วนที่รับไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งความรับผิดในหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากธนาคารมาคนละ146,455บาทความรับผิดของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์จึงสามารถแยกต่างหากจากกันได้หนี้ดังกล่าวมิใช่หนี้ร่วมการคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยที่1และที่2เป็นรายบุคคลหาใช่คำนวณรวมกันเป็นรายเดียวเช่นลูกหนี้ร่วมไม่เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองแยกคำนวณต่างหากจากกันไม่เกินรายละสองแสนบาทแล้วก็ห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้นต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกันเว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา296ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ย่อมไม่ถูกต้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ย และการรับชำระหนี้แทนการชำระตามสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน30,000 บาท จำเลยนำสืบว่า ในการกู้ยืมนี้จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนและผ่อนชำระให้โจทก์แล้วเดือนละ 1,500 บาท โดยเป็นเงินต้นจำนวน 600 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 900 บาท เป็นเวลา 44 เดือน รวมเป็นเงินต้นจำนวน2,400 บาท เป็นดอกเบี้ยจำนวน 39,600 บาท โดยนำสืบถึงวิธีการใช้เงินให้แก่โจทก์ว่า จำเลยเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยปฏิบัติงานประจำที่ชุมสายโทรศัพท์จังหวัดขอนแก่น ในการรับเงินเดือนหรือเงินอื่นใดจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยจะรับผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ตามเอกสารหมาย ล.2 ซึ่งจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาขอนแก่น และจำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวพร้อมทั้งได้มอบฉันทะให้โจทก์มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อหักชำระหนี้แก่โจทก์ได้เดือนละ 1,500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2527 ถึงเดือนสิงหาคม 2530 ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบการใช้เงินต้นโดยวิธีดังกล่าวข้างต้นจำเลยก็ชอบที่จะทำได้ เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้