คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้ในอนาคต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองหนี้ในอนาคต: สัญญาจำนองยังผูกพันแม้มีการชำระหนี้บางส่วน
สัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยมีความหมายแจ้งชัดว่า สัญญาจำนองที่ดินพิพาทนอกจากจะประกันหนี้เงินที่ ส. ได้กู้ไปจากจำเลยในขณะทำสัญญาจำนองแล้ว ยังรวมถึงเป็นประกันหนี้ที่ ส. จะกู้ไปจากจำเลยต่อไปในอนาคตด้วย หากสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ โดยจำกัดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดทั้งสิ้นไม่เกิน 260,000 บาท ซึ่งจากบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสองและมาตรา 707 เมื่อสัญญาจำนองกำหนดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดไม่เกิน 260,000 บาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าว หลังจากทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทแล้ว ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 50,000 บาท ซึ่งยังไม่เต็มวงเงินจำนอง แม้จะได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้จำเลยครบถ้วนแล้วในวันที่ 3 มกราคม 2546 แต่เมื่อโจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงเลิกสัญญาจำนอง สัญญาจำนองที่ดินพิพาทยังมีผลผูกพันอยู่ไม่ระงับสิ้นไป ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2546 ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 130,000 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวนวงเงินที่โจทก์จะต้องรับผิดต้องถือว่าหนี้กู้เงินครั้งหลังเป็นหนี้ในอนาคต สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมครอบคลุมถึงหนี้กู้ยืมเงินครั้งหลังอันเป็นหนี้ประธานด้วย หาจำต้องไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันใหม่อีก เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทมีข้อความชัดเจนว่า เป็นการจำนองหนี้ในอนาคตด้วย หามีข้อสงสัยที่จะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 แต่อย่างใดไม่ การที่ ส. ค้างชำระหนี้เงินกู้ครั้งหลังที่มีอยู่แก่จำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองซึ่งประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวอยู่สัญญาจำนองยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองครอบคลุมหนี้ในอนาคต แม้ชำระหนี้เดิมแล้ว ก็ยังไม่หลุดพ้นจากหนี้จำนอง
ตามสัญญาจำนองที่ดินทั้งสองฉบับ เป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของโจทก์และหรือ ถ. ต่างระบุว่าจำนองเป็นประกันหนี้ที่มีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาจำนองหรือในเวลาใดเวลาหนึ่งในภายหน้าทุกลักษณะหนี้ นอกจากนั้นข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองทั้งสองฉบับนี้ ซึ่งสัญญาจำนองให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจำนองต่างระบุไว้เช่นเดียวกันว่า "เนื่องจากทรัพย์จำนองเป็นประกันหนี้ในขณะทำสัญญาจำนองและหนี้ต่อไปในภายหน้าด้วย ผู้จำนองและผู้รับจำนองจึงตกลงกันว่าตราบใดที่ผู้จำนองยังมิได้ทำการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามผู้จำนองและผู้รับจำนองยังคงตกลงให้ถือว่าสัญญาจำนองคงมีผลบังคับอยู่เพื่อประกันหนี้ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าของลูกหนี้ดังกล่าวกับผู้รับจำนอง" ส่วนบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองที่ดินก็ระบุว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามสัญญาจำนองฉบับเดิมทุกประการดังนี้ เมื่อหนี้เบิกเงินบัญชีของ ถ. กับหนี้บัตรเครดิตของ ถ. กับโจทก์เป็นหนี้ที่มีขึ้นภายหลังจากการจำนองในขณะที่ยังมิได้ทำการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง การจำนองย่อมเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้บัตรเครดิตดังกล่าวด้วยตามข้อตกลงในสัญญาจำนอง การที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและคำขอใช้บัตรเครดิตมิได้ระบุให้เอาที่ดินตามสัญญาจำนองเป็นประกันหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดตามข้อตกลงในสัญญาจำนองไม่ แม้โจทก์จะได้ชำระหนี้ที่โจทก์และ ถ. กู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว ก็ยังไม่ทำให้โจทก์หลุดพ้นจากหนี้จำนอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและส่งมอบโฉนดที่ดินกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่จำนอง รวมทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าเสียหายจากสัญญากู้ยืมและอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน รวมถึงหน้าที่ชำระหนี้ในอนาคต
แม้จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญากู้เงินที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่จำนองไว้แก่ธนาคารโจทก์ โดยตกลงให้โจทก์ทำประกันภัยได้เองและจำเลยยอมชำระเบี้ยประกันคืนแก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อหน้าที่ที่จำเลยจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยภายหลังวันฟ้องเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคต จะถือว่าจำเลยละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนนั้นยังไม่ได้ กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันและจำนองครอบคลุมหนี้ในอนาคต จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในหนี้กู้ยืม
สัญญาค้ำประกันและจำนองเป็นประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่า หนี้ในอนาคตก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ครั้งที่ 3 จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินครั้งที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันและจำนองรวมหนี้ในอนาคต ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในหนี้กู้ยืมครั้งที่ 3
สัญญาค้ำประกันและจำนองเป็นประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ด้วยเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสองบัญญัติว่าหนี้ในอนาคตก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนที่จำเลยที่ 1กู้ยืมเงินโจทก์ครั้งที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินครั้งที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเบี้ยปรับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และการประกันหนี้ในอนาคตด้วยจำนอง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่าผู้ให้กู้ประกาศกำหนดเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 16.25 ต่อปีและสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี เห็นได้ว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลยได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 16.25 ต่อปีอยู่แล้ว การที่สัญญาข้อต่อมากำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยผิดนัดไว้ว่า ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีนั้น ก็คือการที่จำเลยสัญญาให้เบี้ยปรับในฐานผิดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ2.25 ต่อปีนั่นเอง ซึ่งเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิใช้ดุลพินิจนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ได้ทดรองจ่ายไปแทนผู้กู้ไปลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัดที่ผู้กู้มีอยู่กับผู้ให้กู้เพื่อให้ผู้กู้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีต่อผู้ให้กู้ต่อไป และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดังกล่าว
แม้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์จำนองให้ไว้แก่โจทก์ก่อนเปิดบัญชีเดินสะพัดและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่า หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริง ก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควรดังนั้น สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงสามารถประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ในอนาคตได้ สัญญาจำนองย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ไว้ในสำนวน อย่างชัดแจ้งตามคำให้การพยานจำเลย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจ หยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นการวินิจฉัย ไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิด ชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อน ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริง หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลง ค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7351/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองมีผลผูกพันแม้ทำก่อนสัญญากู้ เหตุมีข้อตกลงประกันหนี้ในอนาคตตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 707 บัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร และมาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติให้หนี้ในอนาคตก็ประกันได้ นอกจากนี้ในสัญญาจำนองได้ระบุว่า จำนองเป็นประกันเงินกู้ทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ หรือจะมีขึ้นต่อไปภายหน้าอันพึงมีต่อโจทก์ ดังนั้น แม้สัญญากู้จะทำภายหลังสัญญาจำนอง สัญญาจำนองก็มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคต สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันต้องพิจารณาร่วมกัน แม้เช็คขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินไป 700,000 บาท จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 นำ เช็คของลูกค้า 6 ฉบับเป็นเงิน 242,239 บาท มาชำระหนี้ โจทก์นำไปชำระหนี้แก่ ธ. ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธ. นำเช็คมาคืน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คทั้ง 6 ฉบับไปแล้ว จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 242,239 บาท ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันส่วนที่โจทก์บรรยายถึงเช็ค 6 ฉบับมาด้วย ก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้ยืมแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ จึงต้องวินิจฉัยตามมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้อง คือสัญญากู้ยืมและค้ำประกันจะนำอายุความเรื่องเช็คมาวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความไม่ได้ เพราะเป็นการนอกประเด็นตามคำฟ้อง
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนำใบหุ้นประกันหนี้รวมถึงหนี้ในอนาคต ผู้จำนำต้องชำระหนี้ทั้งหมดก่อนเรียกคืนใบหุ้น
โจทก์จำนำใบหุ้นกับธนาคารจำเลยประกันหนี้ของ บ. ต่อจำเลย บ. เป็นลูกหนี้คนภายนอกโดยจำเลยค้ำประกันจำเลยใช้หนี้ของ บ. แก่คนภายนอก บ. ย่อมตกเป็นลูกหนี้จำเลยในเงินที่จำเลยใช้แทนไปแล้วและที่จะต้องใช้แทนในภายหน้า จำนำใบหุ้นจึงยังผูกพันโจทก์อยู่โจทก์เรียกใบหุ้นคืนจากจำเลยไม่ได้
ข้อความในเอกสารจำนำใบหุ้นแสดงเจตนาแท้จริงชัดแจ้งอยู่แล้วไม่ต้องสืบพยานบุคคลตีความ
of 2