พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องไล่เบี้ยของหน่วยงานรัฐต่อเจ้าหน้าที่ และอายุความฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทน
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นกรมตำรวจฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เนื่องจากจำเลยทั้งสองกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และโจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองห้องพักของข้าราชการหลังเกษียณอายุราชการและการฟ้องขับไล่โดยโจทก์ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ
พ.ร.ฎ. โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2541 มาตรา 3 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นส่วนราชการ และมีฐานะเป็นกรม โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 7 (4) และเป็นส่วนราชการของรัฐบาล ห้องพิพาทที่จำเลย พักอาศัยเป็นส่วนหนึ่งของอาคารของโจทก์ จึงเป็นทรัพย์สินของทางราชการ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการจึงไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในห้องพิพาทต่อไป ตามระเบียบการปฏิบัติเข้าพักอาศัยในอาคารของกรมตำรวจ การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทไม่ยอมออกไปเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้ออกไปแล้ว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ขับไล่จำเลย และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่หาใช่เป็นการกระทำการโดยส่วนตัวไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ เพราะได้รับการยกเว้นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลดหนี้ภาษีอากรในแผนฟื้นฟูกิจการ และการแปลงหนี้เป็นทุนของหน่วยงานรัฐ
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 ประสงค์ให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นภาษีอากรก็ตาม นอกจากนี้กรณีใดที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำมาตรา 56 ในเรื่องผลของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้โดยอนุโลมได้ ดังนั้น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดปรับลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการได้
กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์และดำเนินการแตกต่างจากนิติบุคคลโดยทั่วไป เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะ หรือมีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับกรมศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งได้กำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้
กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์และดำเนินการแตกต่างจากนิติบุคคลโดยทั่วไป เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะ หรือมีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับกรมศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งได้กำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4030/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐ: เริ่มนับจากวันที่หน่วยงานรัฐรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำผิด
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์อันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ย่อมตกอยู่ในบังคับอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ มาตรา 10 วรรคสอง เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงมาว่า หลังเกิดเหตุโจทก์ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหาผู้รับผิด และคณะกรรมการดังกล่าวได้เสนอเรื่องให้ผู้ว่าการของโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีนี้ว่าจำเลยได้นำเงินของโจทก์ไปใช้ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2542 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2542 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 มีนาคม 2544 ยังไม่เกินกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหน่วยงานรัฐเรียกค่าสินไหมจากเจ้าหน้าที่ละเมิด และการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานกระทำละเมิด โดยโจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออ้างว่าจำเลยมีหน้าที่จัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ในการดำเนินคดี รวบรวมพยานหลักฐาน เร่งรัด ติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และมีหน้าที่ประสานกับพนักงานอัยการในการส่งเอกสารเพิ่มเติมแล้วนำพยานที่เกี่ยวข้องไปสอบข้อเท็จจริงและรับรองเอกสาร จำเลยกลับปล่อยปละละเลยโดยไม่รับดำเนินการจัดหา เร่งรัด และติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ส่งไปให้พนักงานรับการดำเนินคดีแก่ผู้รับประเมิน จนเป็นเหตุให้คดีขาดอายุความทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวพอแปลได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้ว
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงมิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงมิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7886-7887/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย – การเข้าครอบครองที่ดินโดยสุจริต – การประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐ – ยกฟ้อง
การที่ราษฎรเข้าอยู่ในเขตทางหลวงแผ่นดินที่เกิดเหตุเป็นเพราะทางราชการและหน่วยงานของรัฐเป็น ฝ่ายจัดพื้นที่ให้เพื่อบรรเทาผลร้ายจากการสร้างเขื่อนบางลาง เป็นเหตุให้ราษฎรในพื้นที่เดิมประสบภัยน้ำท่วมจน ไม่อาจอยู่อาศัยในถิ่นที่อยู่เดิมได้ การเข้าอยู่ในที่ดินบริเวณพื้นที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1 นาย น. นาย ถ. และนาง พ. จึงเป็นการได้รับสิทธิตามที่ทางราชการและหน่วยงานของรัฐดังกล่าวจัดสรรที่ดินให้ อันเป็นการเชื่อโดยสุจริตในสิทธิที่แต่ละคนได้รับการจัดสรรที่ดิน และได้อยู่อาศัยกันตลอดมาจนกระทั่งเกิดเหตุคดีนี้ในปี 2539 ซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้าอยู่โดยมีเจตนาฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ทางหลวงฯ ดังนี้ แม้การเข้าอยู่จะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ทางหลวงฯ เพราะมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แต่เมื่อมิได้เป็นการกระทำโดยเจตนาฝ่าฝืนต่อกฎหมายมาแต่ต้น ก็หามีความผิดอันจะต้องรับโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ทางหลวงฯ ไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 รับโอนสิทธิจากนาย น. และนาย ถ. กับจำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิจากนาง พ. และได้เข้าทำการยึดถือก่อสร้าง อาคารพาณิชย์และบ้านพักอาศัยในที่เกิดเหตุ แม้เจ้าหน้าที่ของแขวงการทางยะลาได้ห้ามปราม แต่จำเลยทั้งสอง ไม่เชื่อฟัง ก็เป็นเรื่องที่ทางราชการกรมทางหลวงจะต้องดำเนินคดีในทางแพ่งแก่จำเลยทั้งสองให้รื้อถอนออกไปเท่านั้น จะนำเหตุที่จำเลยทั้งสองซึ่งเข้าใจโดยสุจริตว่าตนมีสิทธิมาแต่ต้นจึงไม่เชื่อฟังมาเป็นความผิดทางอาญาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีฐานะเป็นกรม เป็นนิติบุคคลในสังกัดของกระทรวงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ด้วย การที่จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ การคำนวณปริมาตร และอำนาจฟ้องของหน่วยงานรัฐ
คำฟ้องในส่วนเกี่ยวกับความเสียหายบรรยายว่าจำเลยทั้งสองระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจำนวนสองครั้ง แต่ละครั้งคิดเป็นพื้นที่เท่าใดและปริมาตรเท่าใด รวมทั้งปริมาตรหินที่จำเลยทั้งสองเอาไปเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันคืนหินแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ให้ชดใช้ราคาพร้อมด้วยดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนวิธีการคำนวณหาปริมาตรหินดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสามต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง คำฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จนถูกดำเนินคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว โจทก์ทั้งสามผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และดำเนินกิจการส่วนจังหวัดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐรวมทั้งเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่โจทก์ทั้งสามนำมาใช้คำนวณหาปริมาตรหินพิพาทที่ฟ้องโจทก์ที่ 3 เคยใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นรายปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตระเบิดและย่อยหินโดยจำเลยทั้งสองไม่เคยปฏิเสธความถูกต้องและยอมรับปฏิบัติตาม จึงผูกพันจำเลยทั้งสอง ฟังได้ว่าหินพิพาทมีจำนวนตามฟ้อง และศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาหินพิพาทด้วยการเทียบเคียงกับราคาจำหน่ายทั่วไปชอบแล้ว
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าในหินพิพาทแต่ละลูกบาศก์เมตร มีหินดินและทรายปะปนรวมกัน ทั้งบริเวณที่เกิดเหตุมีหินมากกว่าดิน ในการคำนวณปริมาตรหินพิพาทต้องหักปริมาตรดินออกตามสัดส่วนก่อน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จนถูกดำเนินคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว โจทก์ทั้งสามผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และดำเนินกิจการส่วนจังหวัดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐรวมทั้งเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่โจทก์ทั้งสามนำมาใช้คำนวณหาปริมาตรหินพิพาทที่ฟ้องโจทก์ที่ 3 เคยใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นรายปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตระเบิดและย่อยหินโดยจำเลยทั้งสองไม่เคยปฏิเสธความถูกต้องและยอมรับปฏิบัติตาม จึงผูกพันจำเลยทั้งสอง ฟังได้ว่าหินพิพาทมีจำนวนตามฟ้อง และศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาหินพิพาทด้วยการเทียบเคียงกับราคาจำหน่ายทั่วไปชอบแล้ว
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าในหินพิพาทแต่ละลูกบาศก์เมตร มีหินดินและทรายปะปนรวมกัน ทั้งบริเวณที่เกิดเหตุมีหินมากกว่าดิน ในการคำนวณปริมาตรหินพิพาทต้องหักปริมาตรดินออกตามสัดส่วนก่อน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่อนุญาต: ศาลยืนอำนาจโจทก์ (หน่วยงานรัฐ) ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่จำเลยระเบิดและย่อยหินเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสามต้องนำสืบในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง ทั้งปริมาตรหินที่คำนวณได้ก็เพื่อนำไปคำนวณหาจำนวนเงินที่จำเลยต้องชดใช้หากจำเลยไม่สามารถทำให้พื้นที่ที่ตนระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อันเป็นคำขอบังคับท้ายคำฟ้องในลำดับถัดมา คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์จากการกระทำความผิดนั้นกรมที่ดินโจทก์ที่ 1 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จังหวัดเลย โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือของรัฐ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยโจทก์ที่ 3 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดเลยย่อมมีอำนาจติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐตลอดจนมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามมิได้ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองเพื่อตนเป็นการส่วนตัว หากแต่เป็นการปฏิบัติราชการภายใต้กรอบอำนาจที่ตนมีอยู่ ส่วนผลประโยชน์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีย่อมตกได้แก่แผ่นดินหรือรัฐ
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์จากการกระทำความผิดนั้นกรมที่ดินโจทก์ที่ 1 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จังหวัดเลย โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือของรัฐ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยโจทก์ที่ 3 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดเลยย่อมมีอำนาจติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐตลอดจนมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามมิได้ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองเพื่อตนเป็นการส่วนตัว หากแต่เป็นการปฏิบัติราชการภายใต้กรอบอำนาจที่ตนมีอยู่ ส่วนผลประโยชน์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีย่อมตกได้แก่แผ่นดินหรือรัฐ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6211/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประสานงานเสนอขายที่ดินให้หน่วยงานรัฐมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงตกเป็นโมฆะ
จำเลยได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินให้เสนอขายที่ดินแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์คลังพัสดุและได้มีการยื่นซองประกวดราคาแล้ว ต่อมาจำเลยได้ขอให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการขายที่ดินดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายเงินให้โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท ในวันที่ทำการโอนขายที่ดินให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หลังจากนั้นจำเลยได้ทำข้อตกลงว่าจำเลยจะให้ค่าใช้จ่ายแก่โจทก์เพิ่มเป็นเงินจำนวน 8,000,000 บาท ในที่สุดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้เสนอขาย แต่ในการจัดซื้อที่ดิน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องปฏิบัติไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ. ศ. 2497 และข้อบังคับที่ออกสืบเนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าว การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรอยู่ในฐานะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่มีโอกาสเหนือกว่าเอกชนรายอื่นในการเสนอขายที่ดินให้แก่รัฐวิสาหกิจด้วยกัน ได้ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินดังกล่าวให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จึงมีความหมายยิ่งกว่าการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิงธุรกิจ เมื่อโจทก์และ ศ. ซึ่งเป็นประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต่างเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งอยู่ในคณะกรรมาธิการบริหารและยุติธรรมของวุฒิสภาด้วยกันโดยโจทก์ได้รับเลือกจาก ศ. ให้เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ดังนั้นสายสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ศ. จึงผูกพันลึกซึ้งยิ่งกว่าการรู้จักกันโดยปกติธรรมดาทั่วไป อาจทำให้เอกชนรายอื่นที่ต้องเสนอราคาแข่งขันกับจำเลย ตกเป็นผู้เสียเปรียบจำเลย ทั้งยังกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐที่อาจต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินจากการซื้อที่ดินในราคาที่ขาดการแข่งขันตามความเป็นธรรมและความเหมาะสมแห่งสภาพที่ดินนั้น ถือได้ว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงที่ร่วมกันเอาเปรียบต่อองค์กรของรัฐส่อไปในทางแทรกแซงการบริหารราชการในองค์กรของรัฐ จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินตามที่จำเลยจะให้เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มนี้แก่โจทก์