พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4493/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่ดูแลทรัพย์ส่วนกลาง หากละเลยจนเกิดความเสียหายต้องรับผิดชอบ
พระราชบัญญัติอาคารชุดฯ ต้องการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุดอันเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลสามารถใช้สิทธิในห้องชุดได้ตามสิทธิของตนแต่ทรัพย์ส่วนกลางถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของห้องชุดซึ่งมีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดล้วนกำหนดให้เป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดเมื่อสาเหตุที่น้ำท่วมห้องชุดของโจทก์เพราะน้ำฝนเอ่อล้นจากท่อรับน้ำภายในอาคารชุดเนื่องจากท่อรวมรับน้ำอุดตัน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลให้ท่อระบายน้ำดังกล่าวระบายน้ำได้ตลอดเวลา แม้โจทก์มิได้นำสืบว่าเหตุใดท่อน้ำจึงอุดตันและจำเลยที่ 1 ได้กระทำอย่างไรกับสิ่งอุดตันนั้นหรือบริเวณที่อุดตันนั้นไม่อาจตรวจพบได้โดยง่าย ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้วเพราะจำเลยที่ 1 ได้เก็บเงินค่าดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง แล้วว่าจ้างบริษัทเอกชนที่มีอาชีพในการบริหารอาคารชุดมาทำหน้าที่แทน เมื่อบริษัทดังกล่าวละเว้นหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อปล่อยให้ท่อระบายน้ำอุดตันจนน้ำท่วมห้องชุดของโจทก์เช่นนี้ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คห้ามเปลี่ยนมือที่ถูกนำไปขึ้นเงินโดยมิชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ดูแลงานของธนาคารจำเลยที่ 1สาขาดังกล่าวทุก ๆ ด้าน มีอำนาจหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาพนักงานทุกคนในสาขาต้องคอยควบคุมดูแลให้พนักงานทุกคนทำงานด้วยความเรียบร้อยและถูกต้องมิให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและบุคคลภายนอก ไม่อาจปัดความรับผิดชอบให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นพนักงานและพนักงานคนอื่น การที่ปล่อยให้จำเลยร่วมนำเช็คพิพาทที่ห้ามเปลี่ยนมือและขีดฆ่าคำว่าผู้ถือออก ซึ่งโจทก์ออกให้เพื่อชำระหนี้แก่บุคคลอื่นเรียกเก็บเงินและนำเข้าบัญชีเงินฝากของตนโดยผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบแล้วเป็นผู้รับเงินและเบิกจ่ายเงินไป โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าตนใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยร่วมและพนักงานที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว ต้องถือว่าได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย
ส่วนการที่จำเลยร่วมและ น. ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับ รวมทั้งเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งโจทก์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลทั้งสองฐานฉ้อโกงและยักยอก แล้วต่อมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทในทางอาญา ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมและ น. หามีผลถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งมีมูลจากการละเมิดและไม่ได้ร่วมตกลงประนีประนอมยอมความด้วยไม่
ส่วนการที่จำเลยร่วมและ น. ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับ รวมทั้งเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งโจทก์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลทั้งสองฐานฉ้อโกงและยักยอก แล้วต่อมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทในทางอาญา ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมและ น. หามีผลถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งมีมูลจากการละเมิดและไม่ได้ร่วมตกลงประนีประนอมยอมความด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดชอบครู/อาจารย์ต่อศิษย์ตาม ป.อ.มาตรา 285: การกระทำนอกเหนือหน้าที่ดูแล
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ตามป.อ.มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้าน พ. และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำผิดของบุตรผู้เยาว์: การใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1ผู้เยาว์ใช้ไม้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายโจทก์ถูกที่บริเวณตาขวา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส คดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะต่อสู้คดีและนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย ผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในคดีแพ่งใหม่ได้
จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการผู้มีหน้าที่ดูแลการขายทอดตลาดเข้าสู้ราคาเองถือว่ามีคุณสมบัติถูกห้ามตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัด ซึ่งอยู่ในสังกัดกรมสรรพากร จำเลยที่ 2 มีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินการนำที่ดินที่ยึดของผู้ค้างชำระค่าภาษีอากรขายทอดตลาด และจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอจำเลยที่ 3ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ภาษีอากรค้างชำระ และจำเลยที่ 3 ก็แต่งตั้งบุคคลตามที่จำเลยที่ 1 เสนอ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถือว่าได้ทำในนามของจำเลยที่ 2ทั้งสิ้น แม้จำเลยที่ 1 มิใช่เป็นกรรมการจัดการขายทอดตลาดด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทอดตลาดตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 511 จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวที่จะเข้าสู้ราคาซื้อที่ดินโจทก์ในการขายทอดตลาดซึ่งตนเป็นผู้อำนวยการเองตามประกาศของจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของยามรักษาความปลอดภัย: การพิจารณาความรับผิดในกรณีทรัพย์สินสูญหาย
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของวิทยาลัยครูซึ่งสังกัดอยู่กับโจทก์ทำหน้าที่ยามรักษาการณ์และรักษาความปลอดภัยจำเลยมีหน้าที่เข้าเวรตั้งแต่เวลา24นาฬิกาถึง6นาฬิกาวันรุ่งขึ้นปรากฏว่ามีคนร้ายงัดหน้าต่างเข้าไปลักเอาเครื่องอัดสำเนาเอกสารในอาคารหลังหนึ่งซึ่งมีเวรประจำตึกเฝ้าอยู่1คนโดยยังมีอาจารย์เวรและอาจารย์ผู้ตรวจเวรคอยดูแลตรวจตราอีกชั้นหนึ่งตามระเบียบผู้อยู่เวรประจำตึกมีสิทธินอนได้ส่วนยามต้องตรวจตราทั่วบริเวณไม่มีสิทธินอนพักจนกว่าจะออกเวรยามจะต้องตรวจตราความเรียบร้อยตลอดเวลาเมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าหลังจากจำเลยได้เข้ารับเวรต่อจากผลัดก่อนแล้วนั้นจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องสำรวจพื้นที่และทรัพย์สินในอาคารให้ครบทั้ง30อาคารซึ่งโดยวิสัยของผู้มีหน้าที่อยู่ยามที่ต้องดูแลบริเวณที่มีพื้นที่ถึง150ไร่และมีอาคารถึง30อาคารขณะที่มีการเข้าเวรเพียงผลัดละ2คนทั้งไม่มีระเบียบชัดแจ้งให้กระทำการดังกล่าวจำเลยไม่น่าจะต้องใช้ความระมัดระวังถึงระดับนั้นอีกทั้งของอาจจะหายในช่วงการอยู่เวรยามของผลัดก่อนก็ได้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากหน้าที่ดูแล-อายุความมรดก: นายกเทศมนตรีละเลยไม่ฟ้องบังคับทายาทตามข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงที่ ร.ยกที่ดินให้เทศบาลเมืองยโสธรโจทก์สร้างตลาดสด โดยมีข้อตกลงว่า ร.จะสร้างอาคารพาณิชย์ให้เสร็จครบทุกหลังภายในกำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ และจะยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 2 คูหา โดยจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ แล้วโจทก์จะให้ ร.เช่าอาคารพาณิชย์ 2 คูหา มีกำหนด 12 ปีค่าเช่าคูหาละ 200 บาท ต่อเดือน หาก ร.สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะต้องเสียค่าเช่าตามอัตราดังกล่าวแก่โจทก์มีกำหนด 12 ปี เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องให้บังคับกันได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และ ร.
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ร.ด้วย จำเลยที่ 1ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่า ร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจาก ส. จำเลยที่ 1มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรม และจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2ได้ไปทวงถามทายาทของ ร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคแรก บังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ร.ถึงแก่กรรม แต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความ จึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ร.ด้วย จำเลยที่ 1ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่า ร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจาก ส. จำเลยที่ 1มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรม และจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2ได้ไปทวงถามทายาทของ ร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคแรก บังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ร.ถึงแก่กรรม แต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความ จึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4943/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินฟ้องในคดีละเมิด: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากศาลล่างตัดสินเกินข้อกล่าวหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3ได้ร่วมกันกระทำละเมิดโดยร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์จนถึงแก่ความตาย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 3ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่กลับพิพากษาให้จำเลยที่ 1ร่วมรับผิดด้วยในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 ในฐานะบิดาซึ่งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลปล่อยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์หยิบฉวยอาวุธปืนของจำเลยที่ 1 ไปใช้ยิงผู้ตาย เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดดังฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งกรณีทรัพย์สินสูญหาย ผู้ดูแลรักษาต้องแสดงความระมัดระวังตามสมควร หากไม่มีความประมาเลิศไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าภาควิชาคหกรรมศาสตร์ จำเลยที่ 2เป็นหัวหน้าสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ อันเป็นสาขาวิชาหนึ่งในภาควิชาคหกรรมศาสตร์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินของโจทก์ที่ใช้ทำการสอนอยู่ในภาควิชาและสาขาวิชาที่แต่ละคนรับผิดชอบ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ปลอดภัย ไม่สูญหาย ปรากฏว่าเครื่องชั่งน้ำหนักระบบไฟฟ้า 1 เครื่อง ซึ่งใช้ประจำอยู่ในห้องปฏิบัติการของสาขาวิชาดังกล่าวสูญหายไป แต่จำเลยที่ 1 ที่ 2มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เครื่องชั่งน้ำหนักดังกล่าวสูญหาย และจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้มอบหมายให้บุคคลอื่นดูแลรักษา เนื่องจากได้ติดตั้งประจำที่อยู่ในห้องปฏิบัติการนั้นอยู่แล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ดังกล่าวเอง เมื่อเห็นว่ามีความปลอดภัยตามสมควรแล้วจึงไม่จำเป็นต้องจัดวางระเบียบในการเก็บรักษาอีก ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2ไม่จัดวางระเบียบจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่เครื่องชั่งน้ำหนักดังกล่าวถูกคนร้ายลักเอาไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่อยู่ในการครอบครองและดูแลรักษา: ผู้มีหน้าที่ดูแลมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2โดยขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3ชนสัญญาณไฟจราจรในขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์จนได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของสัญญาณไฟจราจรดังกล่าวแต่โจทก์มีหน้าที่จัดหา ติดตั้ง ครอบครองและบำรุงรักษาให้สัญญาณไฟจราจรที่ได้รับความเสียหายนั้นมีสภาพดีเช่นเดิม โจทก์จึงเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสาม.