คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่นำสืบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของจำเลยผู้สลักหลังเช็ค, การรับฟังพยานสำเนาเช็คเมื่อต้นฉบับสูญหาย, การตีใช้หนี้
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค ส่วนจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 บัญญัติให้บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในเช็คย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น เมื่อจำเลยทั้งหมดให้การต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว โดยจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ 2 คูหา ให้แก่โจทก์เป็นการตีใช้หนี้ อันเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดตามเช็ค หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลยทั้งสอง การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ตีใช้หนี้ตามเช็คฉบับอื่น เป็นเพียงการนำสืบแก้ข้อกล่าวอ้างที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นโต้เถียงในคำให้การเท่านั้น หน้าที่นำสืบในประเด็นข้อนี้หาได้ตกอยู่แก่โจทก์ไม่
จำเลยทั้งสองมีหน้าที่นำสืบ แต่นำสืบให้รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คให้แก่โจทก์แล้วตามข้อกล่าวอ้าง หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความในเช็ค
แม้โจทก์จะอ้างเอกสารซึ่งเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเฉพาะด้านหน้าของเช็คก็ตาม แต่โจทก์อ้างว่าได้มอบต้นฉบับเช็คคืนแก่จำเลยทั้งสองไปแล้ว จำเลยทั้งสองคงคัดค้านเพียงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนา มิได้คัดค้านว่า ต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ทั้งมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ต้นฉบับเช็คอยู่ที่จำเลยทั้งสองจริงหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลจึงรับฟังสำเนาเช็คดังกล่าวประกอบคำเบิกความของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวตนจำเลยเพื่อประโยชน์ในการนับโทษ: โจทก์มีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงต่างหาก
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1668/2546 คดีหมายเลขแดงที่ 1846/2546 ของศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิด และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้ จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเพียงว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบโจทก์คดีอาญา: การพิสูจน์การครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
ในการพิจารณาคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อให้ศาลรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา คดีนี้แม้จะฟังได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนและใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงพยายามฆ่าผู้เสียหายก็ตาม แต่โจทก์ต้องนำสืบให้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและไม่มีใบอนุญาตให้พาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะด้วย เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดจำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีและใช้และพาติดตัวได้ตามกฎหมายทั้งมิได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะได้เลย และกรณีก็ไม่อาจฟังว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ได้ตามกฎหมายด้วย เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์มิได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดของอาวุธปืนที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด และก็ไม่ปรากฏในชั้นสอบสวนว่าจำเลยให้การปฏิเสธเกี่ยวกับข้อหาอาวุธปืนดังกล่าวอย่างไรจึงไม่มีข้อเท็จจริงให้รับฟังว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้และพาติดตัวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบพยานหลักฐานของโจทก์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามลำดับศาล
คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ถือได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ในศาลชั้นต้นจำเลยจะนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ก็ตาม
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5705/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบและการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา: จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2535 ขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่โดยให้โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อน แต่ศาลชั้นต้นไม่สั่งแก้ไขให้โดยสั่งคำร้องของจำเลยดังกล่าวว่า "สำเนาให้โจทก์ รวม" คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวมีความหมายว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าที่นำสืบตามที่กำหนดไว้ในวันชี้สองสถาน ดังนี้ถือได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
ส่วนท้ายคำร้องของจำเลยที่มีข้อความว่า หากศาลไม่เห็นพ้องด้วยกับคำร้องขอให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบ จำเลยขอถือว่าเป็นการแถลงคัดค้านคำสั่งศาลนั้น ไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งว่าให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบใหม่หรือไม่ การระบุในคำร้องของจำเลยเช่นนั้นเป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของจำเลยไว้ล่วงหน้าก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำสืบก่อน จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5705/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ-การโต้แย้งคำสั่งศาล-ผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยการไม่โต้แย้งคำสั่งหน้าที่นำสืบ และการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2535 ขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่โดยให้โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อนแต่ศาลชั้นต้นไม่สั่งแก้ไขให้โดยสั่งคำร้อง ของ จำเลยดังกล่าวว่า"สำเนาให้โจทก์ รวม" คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวมีความหมายว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าที่นำสืบตามที่กำหนดไว้ในวันชี้สองสถาน ดังนี้ถือว่าได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ส่วนท้ายคำร้อง ของ จำเลยที่มีข้อความว่า หากศาลไม่เห็นพ้อง ด้วยกับคำร้องขอให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบ จำเลยขอถือว่าเป็นการแถลงคัดค้านคำสั่งศาลนั้น ไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งว่าให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบใหม่หรือไม่ การระบุในคำร้อง ของ จำเลยเช่นนั้นเป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของจำเลยไว้ล่วงหน้าก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำสืบก่อน จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ & สิทธิสุจริตผู้ซื้อ: เมื่อฝ่ายจำเลยอ้างการโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่สุจริต จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
คดีไม่มีการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้ฝ่ายโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนแล้วไม่มีฝ่ายใดสืบพยาน การที่ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดีก็จะต้องถือหน้าที่นำสืบที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นหลัก
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ขณะโจทก์ใช้ชื่อว่า ส.ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยและบริวารเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยมิชอบจำเลยให้การตอนแรกว่า โจทก์ในขณะนั้นจะใช้ชื่อว่า ส. และจะได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาทหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องนำสืบในเรื่องชื่อของโจทก์
ที่จำเลยให้การต่อมาว่า โจทก์ได้สมคบกับ ร.และ ป.ฉ้อโกงจำเลย โดย ร.ผู้ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่ ป. และ ป.ได้โอนให้โจทก์โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำไว้กับ ร. ดังนี้คำให้การของจำเลยในตอนต่อมานอกจากจะถือว่ารับข้อเท็จจริงในเรื่องชื่อของโจทก์แล้ว ยังถือว่ารับข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์คดีนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอีกด้วย แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์สมคบกับร.และ ป.โอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทเป็นของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน และศาลมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอเลื่อนคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าศาลไม่รับบัญชีพยานโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบต่อไปทั้งหมด และให้นัดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ - การรับโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต - สิทธิในการครอบครองปรปักษ์
คดีไม่มีการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้ฝ่ายโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนแล้วไม่มีฝ่ายใดสืบพยาน การที่ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดีก็จะต้องถือหน้าที่นำสืบที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นหลัก ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ขณะโจทก์ใช้ชื่อว่า ส. ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยและบริวารเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยมิชอบจำเลยให้การตอนแรกว่าโจทก์ในขณะนั้นจะใช้ชื่อว่า ส. และจะได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาทหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องนำสืบในเรื่องชื่อของโจทก์ ที่จำเลยให้การต่อมาว่า โจทก์ได้สมคบกับ ร. และ ป.ฉ้อโกงจำเลย โดย ร. ผู้ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่ป. และ ป. ได้โอนให้โจทก์โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำไว้กับ ร. ดังนี้คำให้การของจำเลยในตอนต่อมานอกจากจะถือว่ารับข้อเท็จจริงในเรื่องชื่อของโจทก์แล้ว ยังถือว่ารับข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์คดีนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอีกด้วย แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์สมคบกับ ร. และป.โอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทเป็นของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริตซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานและศาลมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ขอเลื่อนคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลไม่รับบัญชีพยานโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบต่อไปทั้งหมดและให้นัดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยานดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดย ไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบของผู้กล่าวอ้างหนี้ประกัน และการพิสูจน์เจตนาออกเช็คเพื่อชำระหนี้
จำเลยให้การรับว่าจำเลยออกเช็คตามฟ้องให้โจทก์แต่ต่อสู้ว่าออกเพื่อประกันหนี้จำนำและได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงมีหน้าที่นำสืบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานและการใช้อำนาจดุลพินิจของศาลแรงงานในการกำหนดหน้าที่นำสืบพยาน
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโจทก์ได้ถูกจำเลยเลิกจ้างแล้วเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ต้นแต่วันที่ 24 ตุลาคม2538 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลแรงงานพิพากษาไม่ชอบ เนื่องจากไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งในปัญหานี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2538เป็นต้นมาโดยโจทก์สมัครใจเลิกเป็นลูกจ้างของจำเลยเอง จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังนั้นเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
of 26