คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่เสียภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การประกอบแบตเตอรี่สำเร็จรูปถือเป็นการผลิต มีหน้าที่เสียภาษี
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผลิต" หมายความว่า ทำ ประกอบ ปรับปรุง แปรรูป หรือแปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ แต่มิให้รวมถึงการประดิษฐ์ค้นคว้าที่มิได้ทำขึ้นเพื่อขาย แบตเตอรี่ที่โจทก์นำเข้ามีลักษณะเหมือนแบตเตอรี่ที่เรียกกันทั่วไปว่าถ่านไฟฉาย เป็นแบตเตอรี่ชนิดเซลล์ก้อน สามารถนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ได้ทั่วไป แต่โจทก์ได้นำแบตเตอรี่ชนิดเซลล์ก้อนดังกล่าวมาจัดเรียงต่อแบบอนุกรมและเชื่อมขั้วแบตเตอรี่แต่ละอันให้ครบวงจร แล้วประกอบเข้ากับกล่องพลาสติกและต่อสายไฟแบตเตอรี่เข้ากับขั้วไฟฟ้าภายในกล่อง แบตเตอรี่ที่โจทก์ประกอบเสร็จแล้วมีขนาดและลักษณะแตกต่างกันไป แล้วแต่จะกำหนดให้นำไปใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อใด รุ่นใด แบตเตอรี่ที่โจทก์ทำเสร็จจึงเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ มิใช่แบตเตอรี่ในตอนนำเข้า ซึ่งไม่อาจใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ต้องด้วยนิยามคำว่า "ผลิต" ดังกล่าว เมื่อแบตเตอรี่เป็นสินค้าที่ต้องจัดเก็บภาษีสรรพสามิต โจทก์ในฐานะผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต เมื่อโจทก์มิได้ชำระภาษีสรรพสามิต เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระตามกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมิได้นำเงินภาษีสรรพสามิตที่โจทก์ชำระขณะนำเข้าแบตเตอรี่ชนิดเซลล์ก้อน ณ ด่านศุลกากรมาหักกับภาษีที่มีการประเมินนั้น ไม่ถือเป็นการประเมินภาษีซ้ำซ้อน เพราะภาษีสรรพสามิตที่โจทก์ชำระขณะนำแบตเตอรี่ชนิดเซลล์ก้อนเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นภาษีที่โจทก์ชำระในฐานะผู้นำเข้า ส่วนภาษีสรรพสามิตที่โจทก์ต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยนั้นเป็นภาษีที่โจทก์ต้องชำระในฐานะผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าแบตเตอรี่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นภาษีต่างขั้นตอนกัน
ส่วนกรณีการลดหย่อนภาษีนั้น พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 101 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมขอลดหย่อนภาษีได้เฉพาะสินค้าที่กำหนดในกฎกระทรวงเท่านั้น ทั้งผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะต้องยื่นคำร้องและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนด แม้แบตเตอรี่จะเป็นสินค้าที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 31 (พ.ศ.2541) กำหนดให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมขอลดหย่อนภาษีได้ แต่กฎกระทรวงดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2541 ภายหลังจากที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว สินค้าดังกล่าวจึงมิใช่สินค้าที่จะขอลดหย่อนภาษีได้ในขณะนั้น แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังก็ใช้บังคับได้ เพราะการออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดให้สินค้าประเภทใดเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมขอลดหย่อนภาษีได้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 5 และมาตรา 101 วรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีอำนาจที่จะกำหนดให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังเฉพาะส่วนที่เป็นคุณก็ได้ทั้งนี้เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี และไม่เกิดความเสียหายแก่รัฐ อีกทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอลดหย่อนภาษีและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพสามิตได้กำหนดไว้ ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12488/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของป้ายที่แท้จริงมีหน้าที่เสียภาษีป้าย การประเมินภาษีป้ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาให้สิทธิและดูแลบำรุงรักษาศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางรวม 250 หลังที่ทำกับจำเลยเป็นผลให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้ว รวมทั้งป้ายโฆษณาที่ติดตั้งไว้ที่ศาลาที่พักผู้โดยสารดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลย โจทก์จึงเป็นเจ้าของป้ายทั้งหมดนับแต่วันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของป้ายพิพาทในปี 2544 จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายในปีภาษี 2544 แม้จำเลยจะยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อสำนักงานเขตก็ไม่ทำให้จำเลยซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายกลับกลายเป็นต้องเสียภาษีขึ้นมา การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ทำการประเมินให้จำเลยเสียภาษีป้ายสำหรับปีภาษี 2544 จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะไม่ได้อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่การอุทธรณ์การประเมินตาม พ.ร.บ. ภาษีป้ายฯ มาตรา 30 นั้น ใช้บังคับเฉพาะผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่ใช่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายก็ไม่มีเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิให้การต่อสู้ได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์เป็นการไม่ชอบ และเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานโจทก์ไม่ชอบดังวินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็ไม่สามารถบังคับให้จำเลยชำระภาษีป้ายให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสเป็นโมฆะส่งผลต่อหน้าที่เสียภาษีจากเงินได้ของคู่สมรส
โจทก์เป็นสามี จ. เมื่อปีภาษี 2539 จ. ได้รับเงินจำนวน 11,300,000 บาท จากจำเลยที่ 4 ในคดีที่ จ. ฟ้องโจทก์กับพวกรวม 5 คน เป็นคดีแพ่งขอเพิกถอนนิติกรรมโจทก์มิได้นำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้ ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2539 เพิ่มเติมกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมทั้งสิ้น 7,330,476 บาท โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และยื่นฟ้องจ. ต่อศาลขอให้พิพากษาให้การสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. เป็นโมฆะ เนื่องจาก จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วในขณะที่สมรสกับโจทก์ ศาลพิพากษาว่า การสมรสเป็นโมฆะ ดังนั้นเมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1495 มีผลเท่ากับมิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรก จึงไม่อาจถือว่าเงินได้จำนวน 11,300,000 บาท ที่ จ. ได้รับมาเป็นเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี โจทก์ไม่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับเงินได้จำนวนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะส่งผลต่อหน้าที่เสียภาษีเงินได้ของคู่สมรส
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1495 เนื่องจาก จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วในขณะที่สมรสกับโจทก์ จึงมีผลเท่ากับโจทก์กับ จ. มิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรก ไม่อาจถือเอาเงินได้ที่ จ. ได้รับมาเป็นเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี โจทก์ไม่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้แทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนหากเรียกจากผู้แทนไม่ได้
บริษัท อ. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มี พ. เป็นผู้กระทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทยซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย พ. จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์ส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. โดย พ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัท อ.ได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยัง พ. เพื่อที่ พ. จะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงมิใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหาก การออกและส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินในลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ. และ พ. โดยชอบแล้ว
โจทก์ได้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของบริษัท อ. และ พ. แต่ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด นอกจากนี้โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้ พ. ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท อ. นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระ แต่ พ. ไม่ชำระ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้พิสูจน์แล้วว่าโจทก์ได้เรียกร้องหนี้ภาษีอากรค้างจาก พ. แล้วแต่เรียกไม่ได้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระเงินภาษีอากรค้างแทน พ. โดยมิต้องเรียกร้องให้ พ. ชำระก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทำการแทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ศาลยืนตามคำพิพากษาถึงที่สุด
หมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลของกรมสรรพากรโจทก์ที่แจ้งไปยังบริษัท อ.ซึ่งอยู่ต่างประเทศโดยพ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัทดังกล่าวได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี เพื่อที่บุคคลนั้นจะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ.เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหากถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ.และ พ. โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7765/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การให้บริการอาหารแก่พนักงาน/ผู้บริหาร และการเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกโจทก์ยินดีที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม แต่ขอให้พิจารณางดเบี้ยปรับและลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ด้วย และในตอนท้ายก็มีคำขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดสำหรับค่ารับรองของบุคคลภายนอกโดยงดเบี้ยปรับและลดเงินเพิ่ม คำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อโต้แย้งคัดค้านการประเมินและไม่มีคำขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกเลิก การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก ถือว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในปัญหาว่าค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกของโจทก์อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำปัญหานี้มาฟ้องต่อศาล
การที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารโรงแรมและภัตตาคารของโจทก์รับประทานอาหารโดยไม่คิดมูลค่า เป็นการให้บริการตามความหมายในมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป. รัษฎากร เพราะเป็นการกระทำอันอาจหาประโยชน์ อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่การขายสินค้าและถือเป็นการใช้บริการจากกิจการของตนเองโดยเฉพาะการให้พนักงานและ ผู้บริหารรับประทานอาหารไม่ใช่การนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการโดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) ไม่ได้โจทก์ จึงเป็นผู้ประกอบการและได้ให้บริการอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องนำราคาค่าอาหารดังกล่าวมาเป็น มูลค่าของการให้บริการของโจทก์
แม้การให้บริการของโจทก์จะเข้าเงื่อนไขที่จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่ง ป. รัษฎากร แต่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 ส่วนภาระภาษีของโจทก์ตามการประเมินในคดีนี้เป็นภาษีของเดือนสิงหาคม 2540 ถึงเดือนมีนาคม 2541 ประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับใช้กับคดีนี้ เพราะประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในแต่ละปีภาษีหากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาตราใดก็จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ระบุให้มีผลใช้เป็นต้นไป ไม่มีผลบังคับย้อนหลังไปในปีภาษี หรือเดือนภาษีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์เพียงได้รับแจ้งการประเมินและยังไม่มีการชำระภาษีตามการประเมินโจทก์ก็ไม่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ยอมรับที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก แต่ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกรณีดังกล่าวนี้ ส่วนกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นเรื่องสวัสดิการปกติของธุรกิจโรงแรมทุกแห่ง ไม่เข้าลักษณะคำนิยามคำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากร ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดยกเลิกการประเมินการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็น ยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารดังกล่าวก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกเลิกการประเมินที่ถือว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารของโจทก์รับประทานอาหารรวมถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดยืนตามการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและพิจารณาลดเบี้ยปรับลง โจทก์ไม่พอใจ จึงอุทธรณ์ต่อศาล ขอให้เพิกถอนการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และขอให้ศาลพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณี ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในเรื่องเบี้ยปรับกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณางดเบี้ยปรับให้ แก่โจทก์ได้
โจทก์ลงบัญชีโดยเปิดเผย ไม่มีเจตนาหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร แต่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่มีความเห็นไม่ตรงกันว่าโจทก์ควรต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงาน ผู้บริหารและค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ทั้งโจทก์ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานในการ ตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี ที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณีให้แก่โจทก์เป็นการเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีของตัวแทนติดต่อซื้อขายต่างประเทศ: มาตรา 76 ทวิ และ 70 ทวิ
เมื่อบริษัทส. ติดต่อขอให้โจทก์สั่งซื้อสินค้าให้โดยตกลงจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์โจทก์ได้ติดต่อไปยังบริษัทม. ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัทดังกล่าวได้แจ้งราคาสินค้าที่บริษัทส. ต้องการซื้อมายังโจทก์โจทก์แจ้งให้บริษัทส. ผู้ซื้อทราบบริษัทผู้ซื้อพอใจจึงทำการซื้อขายและชำระราคาแก่บริษัทม. ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตรงการที่โจทก์แนะนำบริษัทม.ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศให้แก่บริษัทส.ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยโดยมีการติดต่อผ่านโจทก์จนทำการซื้อขายสินค้ากันแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทในต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระราคาค่าสินค้าก็ตามแต่การที่บริษัทในต่างประเทศสามารถขายสินค้าในแก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ก็เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเมื่อบริษัทในต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วยโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา70ทวิผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้นต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรโจทก์เป็นเพียงผู้ทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทในต่างประเทศไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นสาขาของบริษัทในต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรแต่อย่างใดเพียงแต่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาค่าสินค้าให้แก่บริษัทในต่างประเทศโดยตรงแม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้าถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา70ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินกรณีเช่าสถานีบริการรวมที่ดิน
ตามบทบัญญัติของมาตรา 40 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ เป็นของคนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆต้องเสียภาษีทั้งสิ้น ฯลฯ นั้น เป็นการกำหนดว่าหากที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นของคนละเจ้าของกันแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกัน แต่เมื่อค่าเช่าที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.เป็นการให้เช่าสถานีบริการ รวมทั้งที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับสถานีบริการ แสดงว่าเงินค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเช่าสถานีบริการและเช่าที่ดินรวมกันแล้ว การที่โจทก์ในฐานะเจ้าของโรงเรือนซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกันมา จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่แม้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ทุกปี ส. ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดแล้วแต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ หนี้ค่าภาษีที่พิพาทเป็นหนี้ค่าภาษีที่เกิดขึ้นภายหลังที่ ส. ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วส. จึงไม่สามารถจัดการโดยตนเองได้ จะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 เมื่อหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังจากถูกพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้ส่วนโจทก์จะได้รับชำระหนี้อย่างไร เป็นเรื่องชั้นบังคับคดีไม่ใช่เป็นกรณีที่จะนำมาอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
of 3