พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีหมั้นและสินสอดที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีสิทธิในครอบครัว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนของหมั้น สินสอด และชดใช้ค่าเสียหายเพราะผิดสัญญาหมั้นแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 169,500 บาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะกรรมหมั้นและการคืนสินสอด: สัญญาที่ทำขึ้นภายหลังยังผูกพันได้
ในขณะที่ อ. ทำการหมั้นกับ บ. นั้น บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่า บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและ บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของ อ. และ บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่ อ. กับ บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากันว่าจำเลยตกลงจะคืนสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของการหมั้นและการแต่งงานเมื่ออายุไม่ครบ 17 ปี และผลกระทบต่อการคืนของหมั้นสินสอด
ในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว บ. นั้น นางสาว บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่านางสาว บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและนางสาว บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของนาย อ. และนางสาว บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่นาย อ. กับนางสาว บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ว่าจำเลยตกลงจะคืนเงินสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยผูกข้อมือ ไม่ถือเป็นหลักฐานการหมั้นหรือสินสอด สิทธิเรียกร้องทรัพย์สินและค่าเสียหายไม่มี
โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามป.พ.พ.มาตรา 1457 ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่ 3 และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บิดามารดาของจำเลยที่ 3 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 3 ยอมสมรสตามมาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน
การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1458 การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1439 และมาตรา 1440
การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1458 การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1439 และมาตรา 1440
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้บรรยายเจตนาจดทะเบียนสมรส สาระสำคัญอยู่ที่การทำสัญญาหมั้นและผิดสัญญา
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำพิธีหมั้นกันโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้มอบของหมั้นเป็นแหวนพลอยจำนวน 1 วงในการหมั้นจำเลยที่ 1 สัญญาว่าหลังจากหมั้นแล้วจะทำพิธีแต่งงานอยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยาตามประเพณีกันต่อไป ต่อมาจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นโดยไปสมรสกับจำเลยที่ 2 ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์มิได้มีการหมั้นกันและจำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญาหมั้น แสดงว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจฟ้องโจทก์และต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ทั้งสาระสำคัญของคำฟ้องก็อยู่ที่ว่าได้มีการทำสัญญาหมั้นกันและมีการผิดสัญญาหมั้นหรือไม่ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อแสดงให้เห็นว่าการหมั้นนั้นจะมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวมาในคำฟ้องด้วยฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่ทำพิธีสมรส: จำเป็นต้องมีการหมั้นหรือไม่
เมื่อไม่มีการหมั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในการเตรียมการสมรสจากจำเลยทั้งสามซึ่งไม่มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฝ่ายจำเลยสู่ขอโจทก์เพื่อสมรสกับจำเลยที่ 3 โดยตกลงให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรส แล้วจำเลยที่ 3 ไม่มาทำพิธีสมรสตามที่ตกลงไว้ อีกทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสหรือค่าเสียหายทางจิตใจเนื่องจากถูกชาวบ้านดูถูกให้อับอายขายหน้าก็ตาม ล้วนสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่นำจำเลยที่ 3 มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด มูลคดีตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรส มิใช่มูลละเมิดตามที่โจทก์อุทธรณ์เพราะคำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แต่ประการใดไม่
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฝ่ายจำเลยสู่ขอโจทก์เพื่อสมรสกับจำเลยที่ 3 โดยตกลงให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรส แล้วจำเลยที่ 3 ไม่มาทำพิธีสมรสตามที่ตกลงไว้ อีกทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสหรือค่าเสียหายทางจิตใจเนื่องจากถูกชาวบ้านดูถูกให้อับอายขายหน้าก็ตาม ล้วนสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่นำจำเลยที่ 3 มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด มูลคดีตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรส มิใช่มูลละเมิดตามที่โจทก์อุทธรณ์เพราะคำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของหมั้น: สัญญาซื้อขายที่ดินในวันหมั้นถือเป็นของหมั้น โจทก์ฟ้องเรียกคืนไม่ได้
แม้สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินจะมีลายมือชื่อโจทก์ลงไว้ในช่องผู้จะซื้อคู่กับลายมือชื่อของจำเลย แต่ข้อความตอนต้นของสัญญาระบุชัดว่าจำเลยเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้จะซื้อ ทั้งสัญญาฉบับดังกล่าวได้ทำขึ้นในวันเดียวกับวันที่โจทก์จำเลยทำพิธีหมั้นกันจึงเป็นเหตุผลน่าเชื่อว่าโจทก์ตกลงซื้อบ้านและที่ดิน และมอบสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยเป็นของหมั้นในวันทำพิธีหมั้นด้วยมิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินในนามของจำเลยและไม่มีความจำเป็นต้องทำสัญญากันในวันหมั้น ต่อมาเมื่อบ้านก่อสร้างเสร็จก็ได้มีการโอนบ้านและที่ดินเป็นชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นการโอนที่สืบเนื่องโดยตรงจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกันในวันหมั้นนั้นเอง จึงฟังได้ว่าบ้านและที่ดินตามฟ้องเป็นทรัพย์ที่โจทก์มอบแก่จำเลยเป็นของหมั้นในวันหมั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคืนเงินหลังหมั้น ไม่ถือเป็นสินสอด
การที่มีข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยว่าเงิน100,000 บาท ฝ่ายจำเลยจัดหามาเพื่อแสดงในพิธีหมั้นแล้วฝ่ายโจทก์จะคืนให้ฝ่ายจำเลย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่สินสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งงานตามประเพณีโดยไม่จดทะเบียนสมรส ไม่ถือเป็นหมั้นหรือสินสอดตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินทั้งหลายที่ฝ่ายโจทก์มอบให้ฝ่ายหญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย แม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งงานตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรส ไม่ถือเป็นหมั้นหรือสินสอดตามกฎหมาย
ชายและหญิงเพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดย ไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ตาม ฝ่ายชายก็ไม่มีสิทธิเรียกคืน