คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลงผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมจนอาจทำให้สับสนและหลงผิด
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมี ข้อจำกัดไม่ให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า"ใช้งานหนักอย่างมั่นใจ"และคำว่า"คือคุณภาพ"ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่รูปช้างยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมและคำว่า"ตราช้าง"เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายยกเข่าหน้าซ้ายงอเล็กน้อยลดงวงลงยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างส่วนเครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถังชูงวงขึ้นเหนือศีรษะอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่งของรูปหกเหลี่ยมเหมือนดาวรอบตัวช้างเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์และจำเลยจึงมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายในกรอบรูปหกเหลี่ยมเหมือนกันส่วนรูปช้างของจำเลยที่ยืนยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถังชูงวงขึ้นและเท้าทั้งสองคู่หน้าหลังยืนแยกออกจากกันเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดของลักษณะการยืนและการวางงวงของรูปช้างในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นแม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวก50ชนิดสินค้ากระบะถือปูนถังพลาสติกใส่ปูนเกรียงฉาบปูนต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์แต่ก็เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ในจำพวกที่17ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้และได้โฆษณาทางสื่อมวลชนจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าตราช้างมาตั้งแต่พ.ศ.2517ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำว่าตราช้างดังกล่าวในพ.ศ.2529ถึง10ปีเศษเครื่องหมายการค้ารูปช้างและคำว่าตราช้างของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์จนอาจทำให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนจึงมีสิทธิตามมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2477ที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนและให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการขายทอดตลาดหุ้น: เจ้าพนักงานบังคับคดีหลงผิดเรื่องราคาหุ้น
แม้ว่าการขายทอดตลาดหุ้นของบริษัท อ. มีผู้เข้าประมูลสู้ราคากันหลายรายรวมทั้งตัวแทนโจทก์ก็เข้าประมูลสู้ราคาด้วย ซึ่งแสดงว่าการดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ส่อพฤติการณ์ทุจริตก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ.จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากหุ้นละ100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท หุ้นของจำเลย 1,000 หุ้น จึงแตกออกเป็น10,000 หุ้น และมีราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ขายทอดตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 985,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้แก่ผู้คัดค้านในราคา 152,000 บาท อย่างมาก เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียอมรับว่าหากในขณะที่ประมูลซื้อขายกันตนทราบว่าหุ้นทั้งหมดมีราคาประมาณ900,000 บาท ก็จะไม่อนุมัติให้ขาย กรณีจึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายหุ้นพิพาทไปโดยหลงผิด ทำให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียหาย ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ที่โจทก์จะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดหุ้นที่ราคาต่ำกว่าตลาดอย่างมากถือเป็นการหลงผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ทำให้การขายนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การขายทอดตลาดหุ้นบริษัท อ. มีผู้เข้าประมูลสู้ราคากันหลายรายรวมทั้งตัวแทนโจทก์ด้วย การดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ส่อพฤติการณ์ทุจริต แต่ปรากฏว่าบริษัท อ. ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท หุ้นของจำเลยจำนวน 1,000 หุ้นจึงแตกออกเป็น 10,000 หุ้น ซึ่งราคาหุ้นที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันขายทอดตลาดมีราคาหุ้นละ 98.50 บาท ฉะนั้นราคาหุ้นพิพาทตามราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ขายทอดตลาดเป็นเงิน 985,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้ผู้คัดค้านทั้งห้าในราคา 152,000 บาท ซึ่งหากเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบราคาหุ้นทั้งหมดก็จะไม่อนุมัติให้ขาย จึงถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายหุ้นพิพาทโดยหลงผิด เนื่องจากไม่รู้ราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งการที่ขายทอดตลาดหุ้นพิพาทต่างจากราคาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากเช่นนี้ จำเลยย่อมเสียหายต่อการชำระหนี้ จึงให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนเครื่องหมายการค้าที่ทำให้ประชาชนหลงผิด แม้มีรายละเอียดต่างกัน
เครื่องหมายการค้าคำว่า'VIXOL'ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า'VITOL'ของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมันอย่างเดียวไม่มีรูปหรือลวดลายประกอบการที่จำเลยนำเอารูปจิงโจ้อยู่ในวงกลมมาประกอบเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ภาชนะบรรจุสินค้าหาใช่สาระสำคัญในการนำมาประกอบการวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่เพราะรูปภาพดังกล่าวมิได้จดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมี2พยางค์เหมือนกันตัวอักษร5ตัวแท่ากันและเหมือนกันถึง4ตัวต่างกันเฉพาะตัวกลางเท่านั้นและแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดส่วนของจำเลยเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกอีก4ตัวเป็นตัวพิมพ์เล็กแต่เมื่ออ่านออกเสียงมีสำเนียงใกล้เคียงกันทั้งที่ภาชนะบรรจุสินค้าของจำเลยใช้ภาษาไทยว่า'วิตอล'ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศย่อมอาจจะฟังหรือเรียกขานเป็นสำเนียงเดียวกันได้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทำให้ประชาชนหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ในกรอบรูปไข่สองชั้นส่วนบนเป็นรูปลายฝรั่งส่วนล่างมีอักษรโรมันคำว่า 'LION'ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า สิงโตอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมทับบนกรอบรูปไข่ ส่วนของจำเลยเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ภายในกรอบรูปวงกลมสองชั้น ไม่มีตัวอักษร ที่ใต้วงกลมมีรูปช่อรวงข้าวสองช่อโค้งรองรับตามขอบวงกลม แต่ไม่จรดกันระหว่างรวงข้าวทั้งสองช่อมีโบผูกห้อยชายอยู่ตรงกลาง หากพิจารณาแต่เพียงส่วนประกอบก็จะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก เพราะเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรงอ้าปากคำรามอย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นสารสำคัญของเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่าย ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีประชาชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยเลือกใช้เครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จะใช้สำหรับสินค้าคนละประเภทกับโจทก์ ก็เป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าเจ้าของเดียวกันกับของโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: แม้สำเนียงคล้ายกัน แต่รูปลักษณ์ต่างกัน ไม่ทำให้สาธารณชนหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า SONY ของจำเลยใช้คำว่า SONIO แม้จะขึ้นต้นตัวอักษรโรมัน SON สามตัวเหมือนกัน แต่รูปลักษณะตัวหนังสือและวิธีการเขียนผิดกันโจทก์เขียนด้วยตัวหนังสือธรรมดา ไม่มีลวดลาย ส่วนจำเลยเขียนตัวหนังสือเส้นหนาทึบและมีลวดลายจากด้านล่างลากโค้งเป็นรูปมนขึ้นไปด้านบน เห็นได้ว่าเพียงแต่สำเนียงเท่านั้นที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะตัวหนังสือและวิธีการเขียนแตกต่างกันเห็นได้ชัดแจ้ง เครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับของโจทก์ ไม่อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันทำให้ประชาชนหลงผิด แม้ต่างจำพวกสินค้า ผู้ใช้สิทธิไม่สุจริตต้องรับผิด
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TELLME อยู่ภายในวงรีสำหรับสินค้าจำพวก 48 ทั้งจำพวก ได้แก่ เครื่องหอม เครื่องสำอางโดยโจทก์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้กับสินค้าของโจทก์ไว้ก่อน ต่อมาจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TELLME สำหรับสินค้าจำพวก 38 ทั้งจำพวก ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและแต่งกายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยเป็นคำประดิษฐ์ใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นอักษรโรมันคำเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวเขียน ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์ แม้ของโจทก์จะอยู่ในวงกลมรูปรีของจำเลยไม่มีเส้นกรอบ ก็หาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดอย่างใด ไม่สำเนียงที่เรียกขานไม่ว่าจะเป็นตัวพิมพ์หรือตัวเขียนก็อ่านว่า 'เทลมี'อย่างเดียวกัน และปรากฏว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลาย โจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์และกระจายเสียงทางวิทยุซึ่งจำเลยมิได้ทำเลย ดังนี้ถือว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหลงผิด แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะผู้ซื้อหรือใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้หากคำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการหลงผิด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้ประชาชนหลงผิด
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GANTRISIN'ในสินค้าจำพวก 3 เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษาโรคมนุษย์และได้ขายยาที่มีเครื่องหมายนี้มากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยเพิ่งผลิตยาใช้เครื่องหมายการค้าว่า 'KANDICIN' ออกจำหน่ายได้ 2 ปี เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยเป็นอักษรโรมันใช้ภาษาต่างประเทศเป็นลักษณะสำคัญ ลักษณะและจำนวนตัวอักษรไล่เรี่ยกัน มีสามพยางค์เท่ากัน การอ่านออกสำเนียงพื้นเสียงอักษรที่นำหน้าก็ดี พยางค์ที่ 2 และที่ 3 ก็ดี คล้ายกันและเหมือนกันของโจทก์อ่านออกเสียงได้ว่า 'กันทริสซิน' หรือ 'กานตริซิน' ของจำเลยว่า 'แคนดิซิน' หรือ 'คานดิซิน' เป็นสำเนียงที่ใกล้เคียงคล้ายกันมากเม็ดยา ขนาดและสีก็อย่างเดียวกัน ตัวอักษรที่พิมพ์ทับกันบนเม็ดยาก็คล้ายกัน และต่างก็ใช้กับยาปฏิชีวนะเหมือนกัน จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ เครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้ประชาชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายคล้ายกันจนทำให้ประชาชนหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้า
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GANTRISIN' ในสินค้าจำพวก 3 เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษาโรคมนุษย์ และได้ขายยาที่มีเครื่องหมายนี้มากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยเพิ่งผลิตยาใช้เครื่องหมายการค้าว่า 'KANDICIN' ออกจำหน่ายได้ 2 ปี เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยเป็นอักษรโรมัน ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นลักษณะสำคัญ ลักษณะและจำนวนตัวอักษรไล่เรี่ยกัน มีสามพยางค์เท่ากัน การอ่านออกสำเนียงพื้นเสียงอักษรที่นำหน้าก็ดี พยางค์ที่ 2 และที่ 3 ก็ดี คล้ายกันและเหมือนกัน ของโจทก์อ่านออกเสียงได้ว่า 'กันทริสซิน'หรือ'การตริซิน' ของจำเลยว่า 'แคนดิซิน'หรือ'คานดิซิน' เป็นสำเนียงที่ใกล้เคียงคล้ายกันมาก เม็ดยา ขนาดและสีก็อย่างเดียวกัน ตัวอักษรที่พิมพ์ทับกันบนเม็ดยาก็คล้ายกัน และต่างก็ใช้กับยาปฏิชีวนะเหมือนกัน จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ เครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้ประชาชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
of 2