พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และสัญญาตีใช้หนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถใช้เป็นเหตุอ้างสิทธิยึดถือทรัพย์ได้
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้ และการที่โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่ง เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยก็ยังไม่มีการตกลงกันในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7386/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและการเปลี่ยนแปลงสัญญา: หลักฐานการทำสัญญาใหม่ และข้อยกเว้นการฟ้องร้อง
จำเลยมิได้ให้การว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา การที่จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำมั่นที่โจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาแล้วเป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาและอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมซึ่งโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่ามาจากมารดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า แม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดเป็นสัญญาเช่าใหม่ แต่คราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าตึกแถวพิพาทใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จำเลยย่อมไม่อาจขอให้บังคับโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาเช่า
คำมั่นที่โจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาแล้วเป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาและอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมซึ่งโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่ามาจากมารดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า แม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดเป็นสัญญาเช่าใหม่ แต่คราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าตึกแถวพิพาทใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จำเลยย่อมไม่อาจขอให้บังคับโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ สัญญาธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตรา ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
เจ้าหนี้ยื่นคำแถลงชี้แจงพร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ส่วนหนึ่งประกอบคำแถลงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2544 และยื่นเอกสารเพิ่มเติมอีกครั้งในวันที่ 6 มีนาคม 2544 ซึ่งผู้ทำแผนมีเวลาที่จะคัดค้านว่าต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องหรือนำพยานหลักฐานเสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อหักล้างข้ออ้างของเจ้าหนี้ แต่ผู้ทำแผนก็มิได้กระทำการดังกล่าวแต่อย่างใด จนกระทั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 เช่นนี้ จึงถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รวบรวมพยานหลักฐานสำหรับการพิสูจน์มูลหนี้ที่ขอรับชำระโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
สัญญาธุรกรรมเพื่อการส่งมอบเงินตราแลกเปลี่ยนกันนั้นไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น หากคู่สัญญานำสืบพยานหลักฐานเพียงพอให้รับฟังได้ว่าคู่สัญญาแสดงเจตนาเข้าทำสัญญากันจริงแล้ว คู่สัญญาย่อมผูกพันตามข้อตกลงในสัญญานั้น
สัญญาธุรกรรมเพื่อการส่งมอบเงินตราแลกเปลี่ยนกันนั้นไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น หากคู่สัญญานำสืบพยานหลักฐานเพียงพอให้รับฟังได้ว่าคู่สัญญาแสดงเจตนาเข้าทำสัญญากันจริงแล้ว คู่สัญญาย่อมผูกพันตามข้อตกลงในสัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ-การอุทธรณ์-ข้ออ้างเรื่องหลักฐานสัญญา-ความสงบเรียบร้อย
การที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 23 วรรคสอง บังคับให้ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็เพื่อที่จะให้รับฟังข้ออ้างหรือข้อเถียงของแต่ละฝ่ายเป็นที่ชัดแจ้งก่อน จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่จะต้องเสนอข้อเท็จจริงต่อศาล และไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องเรียกตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการมาไต่สวนด้วยก่อนมีคำพิพากษาแต่อย่างใด เมื่อคู่ความไม่นำอนุญาโตตุลาการเข้าเบิกความ ผู้คัดค้านจะฎีกาว่าศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนตัวอนุญาโตตุลาการหาได้ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เว้นแต่การอุทธรณ์นั้นจะเป็นไปตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1) (2) (3) (4) (5)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า อนุญาโตตุลาการกับผู้ร้องหลอกลวงให้มีการสืบพยานบุคคลแทนที่จะพิจารณาชี้ขาดตามเอกสารที่มีอยู่เป็นการรับฟังพยานบุคคลมาหักล้างพยานเอกสารอันฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่แสดงว่าอนุญาโตตุลาการมีความประสงค์จะใช้ข้ออ้างในคำเบิกความของพยานที่เป็นเท็จของ พ. มากล่าวอ้างหักล้างพยานเอกสารตามแผนการที่อนุญาโตตุลาการได้สมคบผู้ร้องไว้แล้วตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ เพื่อประสงค์เพียงอย่างเดียวคือให้ฝ่ายผู้ร้องชนะ เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านอ้างว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการไม่สุจริตและผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบ ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับผู้คัดค้านตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาจากมูลเหตุข้อพิพาทเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายมีจำนวนเงินเกินกว่า 500 บาท เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ สัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างฟ้องร้องผู้คัดค้านนั้นไม่อาจที่จะนำมาฟ้องร้องได้ เพราะผู้คัดค้านมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญา ซึ่งหากไม่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องก็ไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องร้องบังคับผู้คัดค้านได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 456 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เป็นการอุทธรณ์ที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่อาจที่จะบังคับผู้คัดค้านได้นั่นเอง จึงหาเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้การซื้อขายที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาใช่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เพราะสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เกิดขึ้นแล้วโดยชอบ เพียงแต่จะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่จำต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น นอกจากนี้คำคัดค้านของผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านมิได้ยกข้ออ้างที่ว่าการตกลงซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้คัดค้านไว้เป็นสำคัญที่ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นบังคับดังกล่าวแต่อย่างใด การที่อนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยความผูกพันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเฉพาะเรื่องความรับผิดในการที่ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายแล้วมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เว้นแต่การอุทธรณ์นั้นจะเป็นไปตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1) (2) (3) (4) (5)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า อนุญาโตตุลาการกับผู้ร้องหลอกลวงให้มีการสืบพยานบุคคลแทนที่จะพิจารณาชี้ขาดตามเอกสารที่มีอยู่เป็นการรับฟังพยานบุคคลมาหักล้างพยานเอกสารอันฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่แสดงว่าอนุญาโตตุลาการมีความประสงค์จะใช้ข้ออ้างในคำเบิกความของพยานที่เป็นเท็จของ พ. มากล่าวอ้างหักล้างพยานเอกสารตามแผนการที่อนุญาโตตุลาการได้สมคบผู้ร้องไว้แล้วตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ เพื่อประสงค์เพียงอย่างเดียวคือให้ฝ่ายผู้ร้องชนะ เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านอ้างว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการไม่สุจริตและผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบ ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับผู้คัดค้านตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาจากมูลเหตุข้อพิพาทเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายมีจำนวนเงินเกินกว่า 500 บาท เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ สัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างฟ้องร้องผู้คัดค้านนั้นไม่อาจที่จะนำมาฟ้องร้องได้ เพราะผู้คัดค้านมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญา ซึ่งหากไม่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องก็ไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องร้องบังคับผู้คัดค้านได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 456 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เป็นการอุทธรณ์ที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่อาจที่จะบังคับผู้คัดค้านได้นั่นเอง จึงหาเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้การซื้อขายที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาใช่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เพราะสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เกิดขึ้นแล้วโดยชอบ เพียงแต่จะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่จำต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น นอกจากนี้คำคัดค้านของผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านมิได้ยกข้ออ้างที่ว่าการตกลงซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้คัดค้านไว้เป็นสำคัญที่ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นบังคับดังกล่าวแต่อย่างใด การที่อนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยความผูกพันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเฉพาะเรื่องความรับผิดในการที่ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายแล้วมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินและการพิสูจน์หลักฐานสัญญา การรับเช็คไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 600,000 บาท โดยโจทก์ออกเช็คให้จำเลยไปเบิกเงินจากธนาคารครบถ้วนแล้ว ในการนี้จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ต้นขั้วเช็คให้โจทก์ ประกอบข้อความว่าได้รับเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ระบุว่าได้รับอะไร ข้อความดังกล่าวเขียนไว้ด้านหลังของต้นขั้วเช็ค ซึ่งด้านหน้าระบุชื่อจำเลย และจำนวนเงิน600,000 บาท ข้อความ 2 ด้าน อาจพอฟังประกอบกันได้ว่า ได้รับเช็คเงิน 600,000บาท ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินหรือรับเงินที่กู้ยืม ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ย่อมต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินมีผลผูกพันแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และการนำสืบราคาซื้อขายที่นอกเหนือจากสัญญา
ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน คู่ความทั้งสองฝ่ายได้มีการต่อรองราคากัน เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว ฝ่ายจำเลยได้วางมัดจำไว้แก่ฝ่ายโจทก์เป็นเงิน100,000 บาท แม้ไม่มีการทำหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเรื่องราคาซื้อขายดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง การที่โจทก์นำสืบข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินสมบูรณ์ได้แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หากมีการส่งมอบการครอบครองและชำระหนี้บางส่วน
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมิได้มุ่งหมายจะทำหลักฐานกันเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่โจทก์ตั้งแต่ที่ได้ตกลงทำสัญญากัน สัญญาจะซื้อขายจึงสมบูรณ์ในแบบที่ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่จำต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงเป็นเพียงพฤติการณ์ที่คู่กรณีแสดงเจตนาจะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเท่านั้น ไม่ใช่หลักฐานแห่งสัญญาจะซื้อขาย จำเลยจึงนำสืบถึงราคาที่แท้จริงได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม & หลักฐานสัญญาที่ชัดเจน
แม้จำเลยจะมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในที่ดินที่เช่าและส่วนของจำเลยกับส่วนของโจทก์ยังไม่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ซึ่งจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตามที่โจทก์ฟ้องจริงแต่มิได้ผิดสัญญาจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญา สัญญาที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยตกลงทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียวโดยลำพัง ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจต่างหากนอกจากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยมิให้เข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ได้
จำเลยได้ทำวังกุ้งอยู่ก่อนแล้ว ได้จ้างผู้อื่นขุดดินทำคันกั้นน้ำ แต่ที่ดินแปลงที่จำเลยทำไม่พอทำวังกุ้งจึงได้มาตกลงเช่าที่ดินในส่วนของโจทก์เพิ่มขึ้น เห็นได้ว่าแม้จำเลยได้ลงทุนในการทำวังกุ้งมากก็ตาม แต่จำเลยได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนนั่นเอง สัญญาเช่ามีกำหนด 5 ปี ไม่มีข้อตกลงใด ๆ บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าจำเลยตกลงเช่าที่ดินโจทก์โดยมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา 10 ปี สัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ไม่ใช่สัญญาเช่าที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนด 10 ปี
จำเลยได้ทำวังกุ้งอยู่ก่อนแล้ว ได้จ้างผู้อื่นขุดดินทำคันกั้นน้ำ แต่ที่ดินแปลงที่จำเลยทำไม่พอทำวังกุ้งจึงได้มาตกลงเช่าที่ดินในส่วนของโจทก์เพิ่มขึ้น เห็นได้ว่าแม้จำเลยได้ลงทุนในการทำวังกุ้งมากก็ตาม แต่จำเลยได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนนั่นเอง สัญญาเช่ามีกำหนด 5 ปี ไม่มีข้อตกลงใด ๆ บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าจำเลยตกลงเช่าที่ดินโจทก์โดยมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา 10 ปี สัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ไม่ใช่สัญญาเช่าที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนด 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: การบอกเลิกสัญญา, ค่าเช่า, หลักฐานการตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญา, ค่าเสียหาย
จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทหลังจากที่โจทก์ซื้อมานานเกือบ 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าก่อนหรือหลังจากที่ให้จำเลยเช่าได้มีการต่อเติมตึกแถวพิพาทแต่อย่างใด เงินที่จำเลยอ้างว่าให้โจทก์เพื่อช่วยค่าก่อสร้างจึงหาใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทอันจะทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อได้มีการบอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าไว้เดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดการเช่า 1 ปี จำเลยยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 ให้ถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าหลังจากครบอายุการเช่า 1 ปี เป็นอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่า ได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าจึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีกู้ยืมเงิน, ความชัดเจนของฟ้อง, และการแนบหลักฐานสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินกู้ จำเลยให้การว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องจะใช้สัญญากู้เงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้หรือไม่จำเลยไม่อาจให้การได้โดยชัดแจ้ง และฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามคำให้การ ของจำเลยหมายความว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องเรียกเงินกู้ตามคำฟ้องของโจทก์นั่นเอง ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นประเด็นในคดี เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องอายุความ และได้ยื่นคำแถลงคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องดังกล่าวไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมิได้ตั้งประเด็นเรื่องอายุความ ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องอายุความ จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์แต่ละครั้งเมื่อใด ถึงกำหนดชำระคืนเมื่อใด จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินคืน จึงฟ้องเรียกเงินกู้คืนพร้อมดอกเบี้ยคำฟ้องของโจทก์จึงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่ได้แนบสัญญากู้หรือสำเนาสัญญากู้มาพร้อมกับฟ้อง ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก บังคับแต่เพียงว่าการกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่เท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องแนบสัญญากู้หรือหลักฐานการกู้เงินมาพร้อมกับคำฟ้องด้วยจึงจะฟ้องร้องได้ ทั้งไม่มีกฎหมายบทใดบังคับไว้เช่นนั้นด้วย