คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักฐานหนังสือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ย่อมไม่อาจยกขึ้นต่อสู้คดีได้ และสัญญาที่ยังมิได้ตกลงรายละเอียดสาระสำคัญ
การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ที่จำเลยมอบให้ยึดถือเป็นประกันไว้ได้
โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่งซึ่งจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยยังไม่ได้ตกลงในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับจำนองในฐานะตัวแทน: การฟ้องบังคับให้เปลี่ยนชื่อผู้รับจำนอง แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ให้จำเลยรับจำนองที่ดิน โดยโจทก์เป็นผู้เก็บรักษาหนังสือสัญญาจำนองไว้และจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่กรอกข้อความให้ไว้ต่อโจทก์เพื่อให้โจทก์สามารถไถ่ถอนจำนองได้เอง แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยรับจำนองที่ดินในฐานะตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้โดยไม่ขัดต่อมาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตัวแทนรับจำนองที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดินและโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์ อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8811/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นจะขายที่ดินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับฟังพยานบุคคลถูกจำกัดหากไม่มีหลักฐานเอกสาร
เอกสารมีข้อความว่า "ยอดเงินขายฝากที่ดิน 300,000 บาท ยอดเงินกู้ 292,700 บาท รวม 2 รายการ 592,700 บาท จ่ายเงินสดก่อน 200,000 บาท คงเป็นหนี้อยู่อีก 392,700 บาท" ไม่มีข้อความที่เป็นข้อตกลงว่าจำเลยได้ให้คำมั่นจะขาย ที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ เมื่อคำมั่นว่าจะขายอสังหาริมทรัพย์มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลที่โจทก์นำสืบประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อได้นำเอกสารมาแสดงว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) และข้อความตามเอกสารในสำนวนคดีแพ่งดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นคำมั่นว่าจะขายที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ ดังนั้น จึงฟังไม่ได้ว่ามีการตกลงให้คำมั่นจะขายที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ให้กู้ อำนาจฟ้องเกิดจากหลักฐานหนังสือ
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่งอยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ด้วย
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้เกิน 50 บาทที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ และจำเลยไม่มีสิทธิยึดโฉนดที่ดินเป็นประกัน
หนี้กู้ยืมเงินเกินห้าสิบบาทขึ้นไปที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ ผู้ให้ยืมจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินของผู้ยืมไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เกิน 50 บาท ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ สิทธิยึดโฉนดเป็นประกันไม่มีผลบังคับใช้
หนี้กู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ ผู้ให้ยืมจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินของผู้ยืมไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ต้องมีหลักฐานหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมจึงจะฟ้องร้องได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง การกู้ยืมเงินเกินกว่า50 บาท ขึ้นไปถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ การกู้ยืมมีหลักฐานเป็นข้อความเขียนไว้ด้านหลังของต้นขั้วเช็คเพียงว่า ได้รับเรียบร้อยแล้วและลงลายมือชื่อจำเลย ส่วนด้านหน้าระบุชื่อจำเลยที่ 1 และจำนวนเงิน 600,000 บาท ข้อความ 2 ด้านฟังประกอบกันได้ว่าได้รับเช็คเงิน 600,000 บาท ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินหรือรับเงินที่กู้ยืม ถือว่าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องห้ามมิให้ฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6718/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: สิทธิผูกพันตามหลักฐานหนังสือ ห้ามเปลี่ยนแปลงด้วยพยานบุคคล
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทในรูปแบบมีหลักฐานเป็นหนังสือ การวางมัดจำเป็นเพียงข้อตกลงข้อหนึ่งที่ปรากฏในหลักฐานที่เป็นหนังสือดังกล่าวเท่านั้นนิติกรรมคือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงก่อซึ่งสิทธิและมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์และบังคับในรูปแบบของหลักฐานเป็นหนังสือหาใช่เพียงการวางเงินมัดจำไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าขณะทำสัญญาโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากจำเลยไม่ประสงค์จะขายที่ดินให้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนวันโอนนั้น จึงเป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักฐานที่เป็นหนังสือนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และผลกระทบต่อความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินเพียงพอ
วันออกเช็คตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯคือวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4
of 7