คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักฐานเป็นหนังสือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มีหลักฐาน แม้มีการจำนำรถยนต์ ก็ฟ้องบังคับคดีไม่ได้
เอกสารที่มีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของบุคคลชื่อ ด. จำเลยและมีข้อความในที่ว่างขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้า ด. เจ้าของรถโตโยต้าได้นำรถจำนองไว้กับ ช. โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาท และลงลายมือชื่อไว้ ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่กฎหมายบังคับไว้สำหรับการก่อให้เกิดหนี้นั้น ๆ ว่าจะฟ้องร้องขอให้บังคับคดีกันได้หรือไม่ โดยต้องพิเคราะห์แยกต่างหากจากการส่งมอบรถยนต์เป็นประกันอันเรียกว่า จำนำ เมื่อการกู้ยืมเงินมีจำนวนเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป แต่ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จึงฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องการกรอกข้อความ แต่หากจำนวนเงินและดอกเบี้ยถูกต้อง ผู้กู้ยืมยังต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 25,000 บาททำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 25,000 บาท ไปจากโจทก์จริง โดยการกู้ยืมโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ สัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์เป็นผู้กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับ ตามคำให้การของจำเลยจำเลยรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตามแต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริง อัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินครั้งนี้จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีการแก้ไขข้อความ แต่หากจำนวนเงินและดอกเบี้ยถูกต้อง ผู้กู้ยังต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 25,000 บาททำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 25,000 บาทไปจากโจทก์จริง โดยการกู้ยืมโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ สัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์เป็นผู้กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยจึงเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับ ตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตามแต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริง อัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินครั้งนี้จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: ข้อจำกัดในการฟ้องร้องบังคับคดี
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 600,000 บาท โดยโจทก์ออกเช็คให้จำเลยไปเบิกเงินจากธนาคารครบถ้วนแล้ว ในการนี้จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ต้นขั้วเช็คให้โจทก์ ประกอบข้อความว่าได้รับเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ระบุว่าได้รับอะไร ข้อความดังกล่าวเขียนไว้ด้านหลังของต้นขั้วเช็ค ซึ่งด้านหน้าระบุชื่อจำเลย และจำนวนเงิน 600,000 บาท ข้อความ 2 ด้านอาจพอฟังประกอบกันได้ว่า ได้รับเช็คเงิน 600,000 บาท ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินหรือรับเงินที่กู้ยืม ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ย่อมต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7620/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้ยืมเกิน 50 บาทต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มี สิทธิเรียกร้องหนี้และยึดถือประกันไม่มีผล
แม้จำเลยทั้งสองจะนำสืบให้เห็นได้ว่าโจทก์ยังเป็นหนี้กู้ยืมจำเลยทั้งสองจำนวน 50,000 บาทจริง แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก กำหนดว่าการกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้นหนี้เงินกู้ 50,000 บาท ดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยทั้งสองอาศัยเป็นมูลเหตุให้ยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทต่อไป จำเลยทั้งสองจะมีสิทธินำสืบถึงหนี้ จำนวนดังกล่าวหรือไม่ ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6718/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ข้อตกลงเพิ่มเติมต้องเป็นลายลักษณ์อักษร, การรับฟังพยานบุคคลนอกเหนือจากเอกสาร
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทในรูปแบบมีหลักฐานเป็นหนังสือ การวางมัดจำเป็นเพียงข้อตกลงข้อหนึ่งที่ปรากฏในหลักฐานที่เป็นหนังสือดังกล่าวเท่านั้นนิติกรรมคือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงก่อซึ่งสิทธิและมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์และบังคับในรูปแบบของหลักฐานเป็นหนังสือหาใช่เพียงการวางเงินมัดจำไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าขณะทำสัญญาโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากจำเลยไม่ประสงค์จะขายที่ดินให้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนวันโอนนั้น จึงเป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักฐานที่เป็นหนังสือนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นตัวแทนเชิดต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยไม่อาจอ้างการชำระหนี้แทนได้
การเป็นตัวแทนเชิดหาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการเป็นตัวแทนไม่ แม้ ส.ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่า ส.เป็นตัวแทนของโจทก์ จำเลยก็อาจอ้างได้ว่า ส.เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยวินิจฉัยว่า ส.ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงว่า ส.เป็นตัวแทนของโจทก์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่า ส.เป็นตัวแทนรับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ ไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้ออื่นอีก จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกา และต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานกันมาแล้ว ศาลฎีกาจึงชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ยืมต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ หากไม่มีหลักฐานดังกล่าว เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ได้
เจ้าหนี้ระบุในคำขอรับชำระหนี้ว่าเป็นหนี้ค่าเงินยืม โดยมีสำเนาเช็คและใบคืนเช็คเป็นหลักฐานประกอบหนี้มิใช่ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็ค ดังนี้เช็คเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้มิใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเมื่อเจ้าหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อลูกหนี้ผู้กู้มาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หนี้เงินกู้ยืมจึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 653 ดังนั้น เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องห้าม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ได้
เจ้าหนี้ระบุในคำขอรับชำระหนี้ว่าเป็นหนี้ค่าเงินยืมโดยมีสำเนาเช็คและใบคืนเช็คเป็นหลักฐานประกอบหนี้มิใช่ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คดังนี้เช็คเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้มิใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเมื่อเจ้าหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อลูกหนี้ผู้กู้มาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หนี้เงินกู้ยืมจึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653ดังนั้นเจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการตีความสัญญาซื้อขายที่ดินติดจำนอง
ข้อความตามหนังสือมอบอำนาจแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ประสงค์จะทำสัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทเสร็จเด็ดขาด เป็นเพียงให้ ส.ผู้รับมอบอำนาจเสนอขายในราคาที่จำเลยกำหนดเพราะมีเงื่อนไขในการโอนทั้งในหนังสือมอบอำนาจก็มีคำว่า "ผู้จะซื้อ" ประกอบข้อความไว้ด้วย นอกจากนี้ส.ก็ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทกับโจทก์ กรณีดังกล่าวจึงเป็นการตั้งตัวแทนไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จึงอยู่ในบังคับที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคสอง ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง และต้องถือว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้เป็นหลักฐานในการตั้งตัวแทนที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับตามกฏหมายได้ และตามหนังสือมอบอำนาจนี้ก็ระบุว่าจำเลยเป็นผู้มอบอำนาจให้ส.เป็นตัวแทนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มีลายมือชื่อของจำเลยลงไว้ แม้ ส.จะไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์
ที่จำเลยฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจได้มีการปิดอากรแสตมป์ภายหลังโดยจำเลยไม่รู้เห็น จึงเป็นเอกสารปลอมนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้มาแต่แรกเป็นเรื่องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อพิจารณาคำพยานโจทก์และจำเลยประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว ไม่ปรากฏความตอนใดในสัญญาเลยว่า จำเลยจะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ จึงตีความสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ว่า จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะทำสัญญา กล่าวคือ โอนโดยติดจำนองหรือให้โจทก์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองเอง การที่โจทก์ไปรอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจากจำเลยที่สำนักงานที่ดินในวันนัดและเตรียมราคาที่ดินมาชำระ แม้จำเลยจะไปตามนัดก็คงจะโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้เพราะโจทก์จะขอปฎิบัติการชำระหนี้ก็ต่อเมื่อจำเลยไถ่ถอนจำนองแล้วโดยที่โจทก์ไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย จึงถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้
of 10