คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลีกเลี่ยงอากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
เมื่อ ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) ได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้ประกอบการค้าผู้เสียภาษี จึงแสดงชัดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมินได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้การประเมินภาษีและการแจ้งการประเมินภาษีจะเป็นการกระทำคนละขั้นตอนกัน แต่การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้จะต้องเสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงถือเป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งของการประเมินและต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ มิใช่เพียงเมื่อเจ้าพนักงานประเมินภาษีอากรแล้วจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไปได้ไม่ ดังนั้น หากเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินจึงย่อมเท่ากับไม่มีการประเมิน ข้อเท็จจริงในคดีนี้ แม้เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ทำการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่ม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่ก็มิได้มีการแจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งแก่จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 อันเป็นเวลาพ้น 10 ปี ที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 จะมีอำนาจประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในกรณีหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินอากรที่ขาดจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม ไม่ใช่อายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าแต่ต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากร ท่านให้มีอายุความ 10 ปี และการนับอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 (เดิม) (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งได้แก่วันที่โจทก์ตรวจพบว่าจำเลยหลีกเลี่ยงอากร แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้รับฟังได้ว่า การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์คันพิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องนั้น ไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม เมื่อจำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งเกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) และมาตรา 87 (3) (เดิม) ซึ่งเกี่ยวกับภาษีการค้าได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินให้ผู้เสียภาษีทราบโดยระบุให้ทำเป็นหนังสือ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีอากรต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้เสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ จำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่มิได้แจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เพิ่งมีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งให้จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 จึงเป็นการแจ้งการประเมินเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) (เดิม) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์พิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม จำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันนำเข้า ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์การหลีกเลี่ยงอากร: ผู้ซื้อต้องพิสูจน์ว่าได้เสียภาษีแล้ว
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27ทวิ ต้องเป็นการซื้อของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ซึ่งภาระการพิสูจน์ดังกล่าวนี้ตกอยู่แก่จำเลยผู้ซื้อที่จะต้องพิสูจน์ว่าสินค้าผ้าของกลางได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้วดังที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 100 บัญญัติไว้หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่ เมื่อจำเลยไม่นำสืบคดีต้องฟังว่าจำเลยซื้อผ้าของกลางโดยรู้ว่ายังไม่ได้เสียค่าภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงราคาผิดประเภทสินค้าหลีกเลี่ยงอากร การประเมินภาษี และอายุความทางภาษี
สินค้าชนิดเดียวกันถ้านำเข้ามาในลักษณะที่เป็นอะไหล่รถยนต์จะต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.แต่การนำเข้าแบบซี.เค.ดี. นั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ก่อน จำเลยนำเข้าโดยไม่ได้ขออนุมัติคณะกรรมการนำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. จึงต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 เพิ่มราคาและแจ้งให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มขึ้นจึงชอบ การเรียกเก็บเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 112 จัตวา นั้นมิใช่เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ทวิเท่านั้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าถ้าวางประกันก็เรียกเก็บเงินเพิ่มได้ แต่ถ้าไม่มีการวางประกันกลับเรียกเก็บเงินเพิ่มไม่ได้ ซึ่งกฎหมายคงไม่ประสงค์จะให้เกิดผลผิดปกติเช่นนั้น การแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 นั้นมิได้มีการกำหนดแบบหรือวิธีการไว้ เมื่อหนังสือที่แจ้งไปยังจำเลยกำหนดให้จำเลยนำค่าภาษีอากรที่ขาดไปชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้มิฉะนั้นจะดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไปย่อมถือเป็นการแจ้งการประเมินแล้ว จำเลยสำแดงราคาของที่นำเข้าผิดสภาพของสินค้าโดยนำเข้ามาอย่างอะไหล่แต่สำแดงราคาเป็นสินค้าที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.อันเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1ที่จะเรียกอากรที่ขาดเพราะเหตุเกี่ยวกับราคาของที่จำเลยนำเข้าจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10วรรคสามตอนแรก มิใช่กรณีที่มีการคำนวณจำนวนอากรผิดวัน จะมีอายุความ 2 ปี ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลนั้น เมื่อกรณีของจำเลยมีการแสดงรายการเท็จโดยเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียภาษีอากรส่วนที่ขาดได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 ทวิ(2) จำเลยนำสินค้าพิพาทเข้ามาในปี 2519 เจ้าพนักงานของโจทก์จึงประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มในปี 2524 และฟ้องคดีเมื่อปี 2528 อยู่ในกำหนดระยะเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ในเรื่องอากรที่ค้างชำระนั้นได้มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา และ ป.รัษฎากรมาตรา 89 ทวิ ให้ผู้ค้างชำระภาษีต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่มีการค้าง*ชำระเงินภาษีอากรจึงต้องใช้สิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มตามบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษนี้ จะเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. อันเป็นสิทธิเรียกร้องทั่วไปไม่ได้ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินอากรที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นการให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินและเรียกเก็บอากรที่ขาดอายุความ, การคิดดอกเบี้ย, และการหลีกเลี่ยงอากร
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จัตวา แม้จะไม่มีการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ทวิก็เรียกเก็บได้ การแจ้งประเมินตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มิได้กำหนดแบบหรือวิธีการไว้ เมื่อหนังสือที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งไปยังจำเลยกำหนดให้นำค่าภาษีอากรจำนวนที่ขาดไปชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้มิฉะนั้นจะดำเนินการตามที่เห็นสมควร ถือได้ว่าเป็นการแจ้งประเมินแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกอากรที่ขาดเพราะเหตุเกี่ยวกับราคาของที่จำเลยนำเข้าในกรณีที่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรมีอายุความ 10 ปี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคสามตอนแรก มิใช่กรณีที่มีการคำนวณเงินอากรผิดอันจะมีอายุความ 2 ปี กรณีที่จำเลยแสดงรายการเท็จโดยเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียภาษีอากรส่วนที่ขาดได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ(2) กรณีที่มีการค้างชำระเงินภาษีอากรซึ่งจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาและประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องทั่วไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดศุลกากรฐานหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จเป็นความผิดต่างกรรมกัน การเปรียบเทียบปรับต้องทำก่อนฟ้องจึงมีผลระงับคดี
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ฐานหลีกเลี่ยงอากร กับมาตรา 99 ฐานสำแดงเท็จ เป็นความผิดต่างกรรมกัน คดีอาญาจะเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37(4) โดยการเปรียบเทียบคดี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102,102 ทวิ ก็ต่อเมื่อบุคคล ผู้กระทำความผิดตกลงยินยอมและใช้ค่าปรับก่อนถูกฟ้องเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท: ยาสูบหลีกเลี่ยงอากรและไม่ติดแสตมป์
การที่จำเลยมียาสูบที่มีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลียงอากรอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร กับมียาสูบจำนวนเดียวกันโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบในวันเวลาเดียวกัน ดังนี้เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาในผลอย่างเดียวกัน คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำผิดของจำเลยเป็นสองข้อและจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยหลายกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง คดีศุลกากร ความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากร
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 284,487 บาท 60 สตางค์ คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นอากร แต่ไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์เดิม และตกอยู่กับบุคคลภายนอก ถือเป็นการหลีกเลี่ยงอากร
ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรในนามของทางการทหารสหรัฐอเมริกา แม้จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียอากรตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาแต่ถ้าปรากฏว่าเมื่อนำเข้ามาแล้ว มิได้นำไปใช้ในทางการทหารของสหรัฐอเมริกา หากแต่ไปตกอยู่แก่บุคคลภายนอกของนั้นย่อม ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรเมื่อของมาตกอยู่ในครอบครองของจำเลย โดยยังมิได้มีการเสียอากร ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นอากรแต่ไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ หากตกแก่บุคคลภายนอก ถือหลีกเลี่ยงอากร
ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรในนามของทางการทหารสหรัฐอเมริกา แม้จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียอากรตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่ถ้าปรากฏว่าเมื่อนำเข้ามาแล้ว มิได้นำไปใช้ในทางการทหารของสหรัฐอเมริกา หากแต่ไปตกอยู่แก่บุคคลภายนอก ของนั้นย่อม ไม่ได้รับยกเว้น ไม่ ต้องเสียอากร เมื่อของมาตกอยู่ในครอบครองของจำเลย โดยยังมิได้มีการเสียอากร ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร
of 2