พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้และการหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าบางส่วนเป็นเงิน 52,000 บาท จากจำเลยที่ 1และที่ 2 ไปแล้ว ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อเป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้นั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 2จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้นั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 2จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยทางทะเล: การไม่ปฏิบัติตามคำรับรองในกรมธรรม์ ทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า น. จดทะเบียนจำนองเรือพิพาทเป็นประกันหนี้ที่บุคคลต่าง ๆ มีต่อโจทก์ ส่วนจำเลยได้รับประกันภัยเรือพิพาทจากผู้รับโอนกรรมสิทธิ์เรือ เรือพิพาทเกิดอุบัติเหตุไม่สามารถใช้การได้ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ได้รับประกันภัยแก่โจทก์ แต่จำเลยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยทำให้โจทก์ไม่มีหลักประกันที่จะบังคับชำระหนี้ได้อีกต่อไปจึงขอให้บังคับเอาเงินประกันภัย เป็นการฟ้องโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายในเรื่องช่วงทรัพย์ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า บุคคลต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าไร และหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ และโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาแก่บุคคลต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สัญญาประกันภัยทางทะเลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 868 ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล แต่กฎหมายทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฏ จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉัย เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความเป็นคำรับรอง(Warranty) ของผู้เอาประกันภัยว่า เรือพิพาทจะได้รับการตรวจสภาพและจะปฏิบัติตามคำแนะนำภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มคุ้มครองจึงเป็นคำมั่นสัญญาของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดตาม พระราชบัญญัติ ประกันภัยทางทะเล 1906 ของประเทศอังกฤษมาตรา 33 เมื่อเรือพิพาทเกิดอุบัติเหตุอับปางซึ่งจะเกิดจากการที่ผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติตามคำรับรองหรือไม่ก็ตาม การที่ผู้เอาประกันภัยฝ่าฝืนคำรับรองผู้รับประกันภัยย่อมปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ต้องตกลงชัดเจนจึงทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด การไม่ทวงหนี้ไม่ใช่การผ่อนเวลา
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนื้ที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้นจะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ กรณีที่เพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระ ไม่มีการตกลงผ่อนเวลาแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้คงยังมีสิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ย่อมมิใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ต้องมีข้อตกลงชัดเจน จึงจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้นจะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้กรณีที่เพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระ ไม่มีการตกลงผ่อนเวลาแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้คงยังมีสิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ย่อมมิใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันหลังการพิทักษ์ทรัพย์: ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดเมื่อหนี้ของผู้รับประกันได้ชำระเสร็จสิ้น
ผู้ค้ำประกันซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ชำระหนี้ของลูกหนี้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้น แม้จะไม่ได้ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดอันจะต้องถือว่าเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119แต่ก็คงรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่ค้ำประกันได้มีการชำระเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้ หากมีการตกลงผ่อนเวลาที่ชัดเจน
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น จะต้องตกลงผ่อนเวลากันแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ หากเพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้ หากมีการตกลงผ่อนเวลาที่ชัดเจนและเจ้าหนี้สละสิทธิเรียกร้อง
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น จะต้องตกลงผ่อนเวลากันแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ หากเพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระยังถือไม่ได้ว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914-927/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการแจ้งและสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยเพิ่มเติม ทำให้บริษัทประกันภัยหลุดพ้นความรับผิด
โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลย ข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยมีว่าผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้จำเลยทราบถึงการประกันซึ่งได้มีไว้แล้ว หรือซึ่งจะมีขึ้นภายหลังในทรัพย์สินซึ่งเอาประกันรายนี้ และเว้นไว้แต่จะได้มีการแจ้งดังกล่าว และจำเลยหรือผู้แทนได้บันทึกหรือสลักหลังไว้ซึ่งรายการเอาประกันนั้นไว้ในกรมธรรม์ฉบับนี้ก่อนเกิดความพินาศหรือความเสียหาย มิฉะนั้นผลประโยชน์ซึ่งจะได้รับตามกรมธรรม์ฉบับนี้เป็นอันล้มล้างไป ดังนี้ เมื่อโจทก์นำเอาทรัพย์สินที่เอาประกันไว้กับจำเลยนั้นไปเอาประกันภัยไว้กับผู้อื่นเพิ่มขึ้นอีก และแจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น แต่ไม่ได้ไปติดต่อกับจำเลยเพื่อสลักหลังกรมธรรม์ซึ่งรายการประกันภัยเพิ่ม การไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขทั้ง 2 ประการในกรมธรรม์ ย่อมมีผลทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดตามที่ได้ตกลงกันไว้หาจำต้องให้จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์เสียก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมคำให้การของผู้ค้ำประกันหลังเกิดเหตุใหม่ และการหลุดพ้นจากความรับผิดเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ครบถ้วน
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมคำให้การครั้งแรก ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ว่า ที่โจทก์ถอนการอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 เท่ากับยอมให้เปลี่ยนแปลงสภาพหนี้ตามฟ้อง การค้ำประกันจึงเป็นโมฆะ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขอเพิ่มเติมคำให้การครั้งหลังยกข้อต่อสู้เพิ่มขึ้นใหม่อีกว่า โจทก์ผ่อนเวลา และหลังจากฟ้องแล้วโจทก์ได้รับชำระหนี้จากเงินประกันภัยของจำเลยที่ 1 กับหักหนี้จากเงินขายฝากที่ดินที่โจทก์หรือผู้แทนรับซื้อฝากไว้จากจำเลยที่ 1 หนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ข้อที่ขอเพิ่มเติมคำให้การนี้เพราะเมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแล้ว โรงงานทอผ้าของจำเลยที่ 1 ถูกเพลิงไหม้ และในวันชี้สองสถานศาลมีคำสั่งอายัดเงินค่าประกันภัยจากบริษัทประกันภัย ส่วนการซื้อฝากที่ดินได้กระทำกันภายหลังวันชี้สองสถานแล้ว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้น ซึ่งจำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีสิทธิขอเพิ่มเติมคำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้เฉพาะเรื่องจำเลยได้ชำระหนี้แล้วก็เป็นการชอบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33 - 34/2512 และ 1/2513)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33 - 34/2512 และ 1/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมคำให้การของผู้ค้ำประกันหลังเกิดเหตุการณ์ใหม่ และการหลุดพ้นจากความรับผิดเมื่อหนี้ถูกชำระ
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมคำให้การครั้งแรกยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ว่า ที่โจทก์ถอนการอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 เท่ากับยอมให้เปลี่ยนแปลงสภาพหนี้ตามฟ้อง การค้ำประกันจึงเป็นโมฆะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขอเพิ่มเติมคำให้การครั้งหลังยกข้อต่อสู้เพิ่มขึ้นใหม่อีกว่า โจทก์ผ่อนเวลา และหลังจากฟ้องแล้วโจทก์ได้รับชำระหนี้จากเงินประกันภัยของจำเลยที่ 1 กับหักหนี้จากเงินขายฝากที่ดินที่โจทก์หรือผู้แทนรับซื้อฝากไว้จากจำเลยที่ 1 หนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับ จำเลยที่ 2ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ข้อที่ขอเพิ่มเติมคำให้การนี้เพราะเมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแล้ว โรงงานทอผ้าของจำเลยที่ 1 ถูกเพลิงไหม้ และในวันชี้สองสถานศาลมีคำสั่งอายัดเงินค่าประกันภัยจากบริษัทรับประกันภัย ส่วนการซื้อฝากที่ดินได้กระทำกันภายหลังวันชี้สองสถานแล้ว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้นซึ่งจำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีสิทธิขอเพิ่มเติมคำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้เฉพาะเรื่องจำเลยได้ชำระหนี้แล้วก็เป็นการชอบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33-34/2512 และ 1/2513)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33-34/2512 และ 1/2513)