พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสภาพนิติบุคคล หักบัญชีชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด วันที่ 13 กรกฎาคม 2536 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีวันที่ 20 เมษายน 2537 ทำให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคล ไม่มีอำนาจดำเนินการต่อไปตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต้องสิ้นสุดลงและหักทอนบัญชีกัน จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเงินประมาณ 2,132,418 บาท แม้ต่อมาจะมีการถอนเงินออกจากบัญชีและมีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีอีก แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคลแล้วย่อมไม่มีอำนาจถอนเงิน ออกจากบัญชีอันเป็นการก่อหนี้ได้ การถอนเงินดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนการนำเงินเข้าฝากคือการที่โจทก์รับฝากเงินจึงเป็นหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระ ดังนั้นจึงต้องนำเงินฝากหลังจากวันที่ 20 เมษายน 2537 มาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ที่มีต่อโจทก์ ซึ่งปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าถึงวันที่ 11 มีนาคม 2539 มีการนำเงินเข้าฝากหลายครั้งรวม 3,928,691.69 บาท ส่วนจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้นเงินประมาณ 2,132,418 บาท คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.75 ต่อปีแบบไม่ทบต้นตามที่โจทก์ขอมา นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2537 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2539 เป็นเงินประมาณ 794,340.52 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 2,926,758.52 บาท น้อยกว่าจำนวนเงินที่มีการนำเข้าฝากในบัญชี จึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานผู้ค้ำประกันและผู้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการหักบัญชีหนี้จากการจำหน่ายหนังสือ กรณีพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย
คำให้การของจำเลยว่า หนี้ขาดอายุความเพราะฟ้องเกิน 2 ปีนับจากวันหักทอนบัญชีตามที่ตกลงกันไว้ โดยไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าหนังสือแต่ละเล่มหักทอนบัญชีกันเมื่อไร และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อใดจึงไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิหักบัญชีเงินฝากของผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัด
โจทก์มีสิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาที่เรียกชื่อว่าสัญญาจำนำสิทธิ จำนวน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยมาชำระหนี้โจทก์ได้ทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ เมื่อปรากฏจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2535 โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวหักบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์นับแต่นั้น การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปแล้วจึงค่อยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาชำระหนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์จึงต้องใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวตามข้อตกลงในสัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเดินสะพัด – การคิดดอกเบี้ย – วันหักบัญชีครั้งสุดท้าย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์และจำเลยทำต่อกันเป็นแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา วงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาทจำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายวันที่ 9 มกราคม 2539 จำนวน 509,000 บาท แล้วจำเลยได้นำเงินฝากเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2539 จำนวน 30,000 บาท หักทอนบัญชีแล้วมียอดหนี้ 4,070,147.21 บาท หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินจาก บัญชีอีก คงมีแต่รายการหนี้ค่าธรรมเนียมเช็คคืนและดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นทุกเดือนจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเท่านั้นการที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คถอนเงินออกจากบัญชี แล้วโจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินและคิดค่าธรรมเนียมเช็คคืนเมื่อวันที่ 22มกราคม 2539 แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปและโจทก์หักทอนบัญชีในวันที่ 31 มกราคม 2539 ถือว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มี การเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2539 ซึ่งเป็น วันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิ คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการตามลำดับที่ตกลง หากยังไม่ได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง การหักบัญชีเงินฝากถือเป็นการผิดสัญญา
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาดังกล่าว ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังขายไม่ได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ได้ ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้การที่ยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้มิใช่กรณีขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของ จทก์ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัติ นอกเหนือและผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยไม่อาจทำได้ และจำเลยจะอ้างว่าเป็นการหักกลบลบหนี้ ก็มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้องปฏิบัติ ต่อกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัดไม่กำหนดระยะเวลา: เลิกสัญญา-หักบัญชี = เริ่มนับอายุความ
บัญชีเดินสะพัดที่ ส.ทำกับโจทก์เป็นบัญชีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืน ดังนั้นแม้บัญชีจะหยุดเดินสะพัดโดยที่ ส. มิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากโจทก์อีกเลยจนถึงวันฟ้องคดีนับเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้วก็ตามแต่เมื่อโจทก์และ ส. ยังไม่ได้ตกลงเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับ ส. ก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ยกเลิกหรือสิ้นสุดลงไม่ สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันเสียแล้วเท่านั้น
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึง ส. วันที่ 30 เมษายน 2534 และเรียกร้องให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือทวงถาม ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่โจทก์ผ่อนผันให้คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 4 ธันวาคม 2535 ยังไม่เกิน 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึง ส. วันที่ 30 เมษายน 2534 และเรียกร้องให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือทวงถาม ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่โจทก์ผ่อนผันให้คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 4 ธันวาคม 2535 ยังไม่เกิน 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้จากการจำนองร่วมกับผู้อื่น แม้ฟ้องผิดฐาน แต่สิทธิหักบัญชีมีผลบังคับ
โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันหนี้จำเลยโดยมีข้อตกลงให้โจทก์หักหนี้จำเลยจากบัญชีเงินฝากจำเลยได้แต่หนี้ที่ฟ้องเป็นหนี้ของซ.ส่วนหนี้ที่ให้หักจากบัญชีเงินฝากเป็นหนี้ของจำเลยที่มีต่อผู้อื่นและโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนนั้นไปแล้วแต่เมื่อจำเลยได้จำนองที่ดินประกันหนี้ของช.จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนองเมื่อคู่สัญญามีหนี้ต่อกันและตกลงให้หักบัญชีเงินฝากได้ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยผู้จำนองจะต้องร่วมรับผิดกับซ.โจทก์จึงมีสิทธิหักบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ฟ้องบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ขอบังคับจำนองแต่เมื่อฟังได้ว่ามิใช่หนี้ของจำเลยแต่เป็นหนี้ของซ. แม้จะตรงตามข้อสัญญาของโจทก์กับจำเลยแต่ก็ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องศาลไม่อาจบังคับให้ตามที่โจทก์ประสงค์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักบัญชีนอกเงื่อนไขสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, วงเงินค้ำประกัน, และการบอกกล่าวบังคับจำนอง
การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 นั้น ไม่จำต้องบอกกล่าววิธีบังคับจำนองไปในคำบอกกล่าวด้วย คำขอเปิดบัญชีของจำเลยที่ 1 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้า บริษัทมีหนี้สินความรับผิดชอบต่อธนาคารไม่ว่าจะเป็นหนี้สินความรับผิดชอบประเภทใด ธนาคารมีสิทธิหักบัญชีของข้าพเจ้า/บริษัท ได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า" ถือได้ว่าตามข้อตกลงนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์หักบัญชีมิใช่เฉพาะแต่เงินในบัญชีเท่านั้นดังนั้นแม้ในบัญชีของจำเลยที่ 1 จะไม่มีเงิน โจทก์อาจนำหนี้สินอื่นมาหักจากบัญชีของจำเลยที่ 1 ได้ สัญญาค้ำประกัน ข้อ 1 มีว่า "เนื่องในการที่ธนาคาร ยอมให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีเบิกเงินจากธนาคารตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นจำนวน 2,000,000 บาท นั้น ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่กล่าวแล้วจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และทั้งนี้ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันชำระหนี้ของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วต่อธนาคารก่อนสัญญานี้ด้วย" ข้อความดังกล่าวนี้แจ้งชัดว่า จำเลยที่ 2ถึงที่ 6 มิได้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำกัดเพียง 2,000,000บาท เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, หักบัญชีเกินวงเงิน, สัญญาค้ำประกัน, บังคับจำนอง: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
การพิจารณาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ ต้องพิจารณาจากการบรรยายฟ้องเท่านั้น ไม่ต้องเอาทางนำสืบมาพิจารณาด้วย คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ระบุให้โจทก์นำหนี้สินความรับผิดชอบไม่ว่าประเภทใด ๆ มาหักบัญชีได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เป็นข้อตกลงที่จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์หักบัญชีมิใช่เฉพาะแต่เงินในบัญชีเท่านั้น ถึงแม้ในบัญชีของจำเลยที่ 1 ไม่มีเงิน โจทก์ก็อาจนำหนี้สินอื่นมาหักจากบัญชีได้ ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เพียงใด เป็นการบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์กล่าวอ้างและนำสืบ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะไม่ยกขึ้นว่ากล่าวต่อสู้ ศาลก็จะต้องยกขึ้นวินิจฉัยให้อยู่แล้ว และถึงแม้ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้โดยไม่ย้อนสำนวน คำบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 ไม่จำต้องบอกกล่าววิธีบังคับจำนองไปในคำบอกกล่าวด้วย คำแก้ฎีกาจะขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กำหนดให้ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนน้อยเกินไปไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย - เจ้าหนี้ได้เปรียบ - การหักบัญชีเงินฝาก
ตาม หนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลง กันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่งถึงกำหนดชำระหรือถูกเรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ว่าเมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้องมีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้างชำระได้ ส่วนโจทก์จะหักเงินนั้นชำระหนี้เมื่อใดเป็นสิทธิของโจทก์ แต่ถ้าเงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ได้หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ที่ถึง กำหนดชำระหมดแล้วการหักเงินชำระหนี้ตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองที่กล่าวแล้วในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ฉะนั้น การที่จำเลยส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็มีผลเป็นอย่างเดียวกับการที่จำเลยนำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยวิธีการข้างต้นโดย ที่จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้อง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้เพิกถอนการกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 2224 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ต้อง คืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใด ที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.